LASTEST NEWS

26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพป.แพร่ เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.แพร่ เขต 1 26 เม.ย. 2567ก.ค.ศ. อนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ  26 เม.ย. 2567สพป.ชัยนาท ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ชัยนาท 26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพม.นครศรีธรรมราช ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครศรีธรรมราช 26 เม.ย. 2567สพม.ลพบุรี ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.ลพบุรี 26 เม.ย. 2567สพม.สุรินทร์ ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพม.สุรินทร์ 26 เม.ย. 2567สพป.ตาก เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ตาก เขต 1 26 เม.ย. 2567สพป.ลำพูน เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ลำพูน เขต 2

การประเมินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

usericon

ชื่อเรื่อง        การประเมินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนคำตากล้าราชประชาสงเคราะห์
         สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23
ผู้รายงาน        นายเสกสรรค์ อัตรสาร
วิทยฐานะ        รองผู้อำนวยการชำนาญการ
ประเมินวิทยฐานะ        รองผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
สถานศึกษา        โรงเรียนคำตากล้าราชประชาสงเคราะห์
สังกัด        สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23
        สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ปีการศึกษา        2559

บทคัดย่อ

    การประเมินครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อประเมินด้านบริบท ด้านปัจจัยป้อน ด้านกระบวนการ
และด้านผลิตผลของการดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียน
คำตากล้าราชประชาสงเคราะห์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23
โดยการประเมินตามรูปแบบซิปป์ (The CIPP Model)โดยประเมิน 4 ด้าน คือ ด้านบริบท
ด้านปัจจัยป้อน ด้านกระบวนการ และด้านผลิตผล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินผล มีจำนวน
70 คน ประกอบด้วย ทีมนำ ทีมประสาน ทีมทำและทีมสนับสนุน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม จำนวน 2 ฉบับ ฉบับที่ 1 ใช้ประเมินทีมนำ ทีมประสาน ทีมทำ ฉบับที่ 2 ใช้ประเมินทีมสนับสนุน แบบมาตราส่วนประมาณค่า มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.289-0.912
และมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.985 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows
    
ผลการประเมินพบว่า

    1. การประเมินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนคำตากล้าราชประชาสงเคราะห์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 โดยภาพรวม มีความคิดเห็นต่อการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีความคิดเห็นต่อการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก
ทั้ง 4 ด้าน เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ ด้านบริบท ด้านปัจจัยป้อน ด้านผลิตผล และด้านกระบวนการ ตามลำดับ

    2. ด้านบริบท ทีมนำ ทีมประสานและทีมทำ มีความคิดเห็นต่อการดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนคำตากล้าราชประชาสงเคราะห์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านย่อย พบว่า
มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ทั้ง 4 ด้านย่อย เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ วัตถุประสงค์ของโครงการ ความต้องการและความจำเป็นของโครงการ ความเป็นไปได้ของโครงการ และความพร้อมและทรัพยากร ตามลำดับ เมื่อพิจารณาตามสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า ความคิดเห็นของ ทีมนำ ทีมประสานและทีมทำ อยู่ในระดับมากทั้งสามกลุ่ม        
    3. ด้านปัจจัยป้อน ทีมนำ ทีมประสานและทีมทำ มีความคิดเห็นต่อการดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนคำตากล้าราชประชาสงเคราะห์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 ด้านปัจจัยป้อน โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านย่อย พบว่า มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ทั้ง 5 ด้านย่อย เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ ครูประจำชั้น/ครูที่ปรึกษา คณะบริหาร ครู บุคลากรที่เกี่ยวข้อง ผู้ปกครอง ชุมชน และ งบประมาณ ตามลำดับ เมื่อพิจารณาตามสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า ความคิดเห็นของ ทีมนำ ทีมประสานและทีมทำ อยู่ในระดับมากทั้งสามกลุ่ม

    4. ด้านกระบวนการ ทีมนำ ทีมประสานและทีมทำ มีความคิดเห็นต่อการดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนคำตากล้าราชประชาสงเคราะห์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 ด้านกระบวนการ โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านย่อย พบว่า มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ทั้ง 4 ด้านย่อย เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ การวางแผนการปฏิบัติการ การตรวจสอบและประเมินผล การดำเนินงาน และการปรับปรุงเพื่อพัฒนา ตามลำดับ เมื่อพิจารณาตามสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า ความคิดเห็นของ
ทีมนำ ทีมประสานและทีมทำ อยู่ในระดับมากทั้งสามกลุ่ม

    5. ด้านผลิตผล ทีมนำ ทีมประสาน ทีมทำ และทีมสนับสนุน มีความคิดเห็นต่อการดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนคำตากล้าราชประชาสงเคราะห์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 ด้านผลิตผล โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก
เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านย่อย พบว่า มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ทั้ง 4 ด้านย่อย เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ การส่งเสริมให้เกิดภูมิคุ้มกันในการดำรงชีวิตและการปรับตัว การพิทักษ์คุ้มครอง การมีส่วนร่วมในการพัฒนาตนเองและสังคม และการพัฒนาการอย่างรอบด้าน ตามลำดับ เมื่อพิจารณาตามสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า ความคิดเห็นของ ทีมนำ ทีมประสานและทีมทำ อยู่ในระดับมากทั้งสามกลุ่ม

        6. แนวทางการพัฒนาการนิเทศภายในโรงเรียนคำตากล้าราชประชาสงเคราะห์สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 ตัวแปรด้านกระบวนการนิเทศภายในโรงเรียนที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ยรวมแต่ละด้าน ที่ต้องมาจัดทำแนวทางพัฒนา คือ ด้านกระบวนการและด้านการปรับปรุงเพื่อพัฒนา
chuchat.slp 18 มิ.ย. 2560 เวลา 12:09 น. 0 594
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^