LASTEST NEWS

26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพป.แพร่ เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.แพร่ เขต 1 26 เม.ย. 2567ก.ค.ศ. อนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ  26 เม.ย. 2567สพป.ชัยนาท ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ชัยนาท 26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพม.นครศรีธรรมราช ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครศรีธรรมราช 26 เม.ย. 2567สพม.ลพบุรี ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.ลพบุรี 26 เม.ย. 2567สพม.สุรินทร์ ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพม.สุรินทร์ 26 เม.ย. 2567สพป.ตาก เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ตาก เขต 1 26 เม.ย. 2567สพป.ลำพูน เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ลำพูน เขต 2

รายงานผลการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดตรงตามม

usericon

บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง    :     รายงานผลการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดตรงตามมาตรา
        กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
ชื่อผู้ศึกษา     : กิตติยา ผาคำ
ปีที่ศึกษา    : 2559



    การดำเนินการศึกษาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดตรงตามมาตรา เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อน และหลังเรียน ด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดตรงตามมาตรา และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดตรงตามมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
    ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านห้วยมะซาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 18 คน
    เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดตรงตามมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 9 เล่ม แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง การอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดตรงตามมาตรา ด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดตรงตามมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 1 เล่ม รวม 18 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ตอนที่ 1 แบบทดสอบวัดทักษะการอ่านจำนวน 15 คำ ตอนที่ 2 แบบทดสอบวัดทักษะการเขียน จำนวน 15 คำ แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดตรงตามมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 3 ระดับ จำนวน 12 ข้อ
    วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดตรงตามมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ด้วยการคำนวณหาค่า E1/ E2 ด้วยค่าร้อยละ ศึกษาผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( ) ค่าร้อยละ และค่าคะแนนความก้าวหน้า วิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วย แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดตรงตามมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 3 ระดับ ด้วยค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( ) แล้วเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดไว้
    ผลการศึกษาพบว่า ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดตรงตามมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จากกลุ่มทดลองแบบกลุ่มใหญ่ จำนวน 25 คน มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 คือ มีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 84.16/83.60 และจากการนำไปใช้กับประชากรได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 18 คน มีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 85.79/88.15 เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดตรงตามมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 14.89 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 49.63 ส่วนคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 26.44 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 88.15 เมื่อเปรียบเทียบคะแนนหลังเรียนกับก่อนเรียนด้วยค่าคะแนนความก้าวหน้าพบว่า มีค่าคะแนนความก้าวหน้าเฉลี่ย 11.56 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 38.52 สรุปได้ว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ระดับความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดตรงตามมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ทั้ง 4 ด้านได้แก่ด้านความรู้สึกที่มีต่อการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน ด้านบทบาทของผู้เรียน และด้านบทบาทการสอนของครู มีค่าความพึงพอใจเฉลี่ย เท่ากับ 2.84 ซึ่งเป็นความพึงพอใจในระดับมาก
nanhms5 04 เม.ย. 2560 เวลา 14:23 น. 0 657
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^