LASTEST NEWS

26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพม.นครปฐม ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครปฐม 26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพป.นราธิวาส เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.นราธิวาส เขต 2 26 เม.ย. 2567สพป.อุดรธานี เขต 3 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.อุดรธานี เขต 3 26 เม.ย. 2567สพป.ยโสธร เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ยโสธร เขต 2 26 เม.ย. 2567สพม.อุทัยธานี ชัยนาท ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพม.อุทัยธานี ชัยนาท 26 เม.ย. 2567สพป.เชียงใหม่ เขต 6 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.เชียงใหม่ เขต 6 26 เม.ย. 2567สพม.นนทบุรี ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.นนทบุรี 26 เม.ย. 2567สพป.อุบลราชธานี เขต 5 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.อุบลราชธานี เขต 5

การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เร

usericon

การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  เร
ชื่องานวิจัย การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องความหลากหลายของพืช ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนหนองโตง “สุรวิทยาคม” อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ผู้ศึกษาวิจัย    นางสาวดวงสุดา กาหลง    
ตำแหน่ง    ครูวิทยฐานะ ชำนาญการ โรงเรียนหนองโตง “สุรวิทยาคม” อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
ปีที่วิจัย     2555

บทคัดย่อ

    การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องความหลากหลายของพืช ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนหนองโตง “สุรวิทยาคม” อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อ ศึกษาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องความหลากหลายของพืช ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องความหลากหลายของพืช ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องความหลากหลายของพืช ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังที่ได้รับการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องความหลากหลายของพืช กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/2 โรงเรียนหนองโตง “สุรวิทยาคม” อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 37 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แผนการจัดการเรียนรู้ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ แบบทดสอบ และแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่า ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสถิติ t-test ในกรณี กลุ่มตัวอย่างไม่เป็นอิสระต่อกัน
ผลการศึกษาพบว่า
    1. ผลการศึกษาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องความหลากหลายของพืช ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยรวมมีประสิทธิภาพคือ 83.05/84.42 สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ (เกณฑ์คือ 80/80)
    2. ผลการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เรื่อง ความหลากหลายของพืช ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ กำหนดผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 พบว่า ก่อนเรียนนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 29.73 ไม่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70.27 ผลการเรียนอยู่ในระดับปานกลาง ( x= 16.65 S.D. = 1.20) หลังเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 86.47 ไม่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 13.51 ผลการเรียนอยู่ในระดับสูง ( x= 25.33 S.D. = 2.42)
    3. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เรื่องความหลากหลายของพืช ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
    4. ผลการศึกษาความพึงพอใจในการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องความหลากหลายของพืช ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยรวมนักเรียนมีความพึงพอใจในระดับมาก ( x= 2.69, S.D. = 0.59) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้ออยู่ในระดับมากทุกเรื่อง ค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 ลำดับแรกเรียงจากมากไปหาน้อย คือนักเรียนมีความรู้ความเข้าใจ เรื่อง ความหลากหลายของพืช มากขึ้น นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอนและนักเรียนมีทักษะการแก้ปัญหา ( x= 2.77 2.74 และ 2.71 S.D. = 0.66 0.67 และ 0.69)
Kruaoyka 07 พ.ค. 2557 เวลา 17:56 น. 0 1,080
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^