LASTEST NEWS

20 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 20 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครสวรรค์ - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครสวรรค์ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 2 (รอบที่ 1) สพป.นราธิวาส เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.นราธิวาส เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.น่าน เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.น่าน เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครพนม - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครพนม 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.ราชบุรี เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ราชบุรี เขต 2 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 2) สพป.ขอนแก่น เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ขอนแก่น เขต 3

อึ้ง! พบนักเรียนไทยมีปัญหาทางอารมณ์ถึง 2 ล้านคน สธ.ชี้ต้องใช้ 1 รพ.1 ร.ร.แก้ปัญหา

  • 25 ต.ค. 2556 เวลา 10:53 น.
  • 2,030
อึ้ง! พบนักเรียนไทยมีปัญหาทางอารมณ์ถึง 2 ล้านคน สธ.ชี้ต้องใช้ 1 รพ.1 ร.ร.แก้ปัญหา

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

อึ้ง! พบนักเรียนไทยมีปัญหาทางอารมณ์ถึง 2 ล้านคน สธ.ชี้ต้องใช้ 1 รพ.1 ร.ร.แก้ปัญหา
 
    สธ.เผยนักเรียนไทยกว่า 10 ล้านคน มีปัญหาพฤติกรรมทางอารมณ์มากถึง 2 ล้านคน จำเป็นต้องได้รับการดูแล ฟุ้งโครงการ “1 โรงพยาบาล 1 โรงเรียน” ช่วยแก้ปัญหาได้ พบดำเนินการ 3 ปี ดูแลนักเรียนประสบความสำเร็จถึง 5 เรื่อง ชี้ชัดเพราะมี “นักจิตวิทยาโรงเรียน” เป็นตัวเชื่อม ช่วยเด็กไม่โดดเดี่ยว
 
       วันนี้ (24 ต.ค.) ที่โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ กทม. นายสรวงศ์ เทียนทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวเปิดสัมมนาสรุปโครงการพัฒนาเครือข่ายระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง สธ.กับกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เพื่อพัฒนารูปแบบความร่วมมือการดูแลแก้ปัญหาสุขภาพนักเรียนในพื้นที่ ตั้งแต่ปี 2553 ในรูปแบบของ “1 โรงพยาบาล 1 โรงเรียน” ว่า ปัญหาสังคมและปัญหาครอบครัวส่งผลต่อการเรียนของนักเรียนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากการสำรวจพบว่า นักเรียนไทยระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาประมาณ 1 ใน 5 หรือราว 2 ล้านคน จากทั้งหมดประมาณ 10 ล้านคน มีปัญหาทางพฤติกรรมอารมณ์ จำเป็นต้องได้รับการดูแลช่วยเหลือ ซึ่งผู้ปกครองส่วนใหญ่ต่างฝากความหวังไว้กับครูและระบบการศึกษาว่าจะสามารถพัฒนาลูกหลานของตนเองให้เติบโตอย่างมีคุณภาพ ทั้งนี้ ปัญหาหลักที่พบในนักเรียนไทยมี 4 เรื่อง ได้แก่ การเล่นเกม การใช้สารเสพติด การใช้ความรุนแรง ทะเลาะวิวาทแก้ปัญหาคับข้องใจ และเรื่องเพศ โดยเฉพาะการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร นำไปสู่การตั้งครรภ์ขณะนี้ยังเรียน
       
       นายสรวงศ์ กล่าวต่อว่า หลังดำเนินโครงการดังกล่าว ในโรงเรียน 24 แห่งจาก 6 จังหวัด ได้แก่ พะเยา ร้อยเอ็ด สระแก้ว สมุทรปราการ นครศรีธรรมราช และ กทม.โดยพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนทั้งระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษา 5 เรื่องหลักเป็นผลสำเร็จ ได้แก่ 1.ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนทั้งระดับประถมและมัธยม 2.การสร้างเครือข่ายการดูแล 3.การพัฒนาระบบการแนะแนว 4.การศึกษารูปแบบนักจิตวิทยาโรงเรียน และ 5.พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการดูแลช่วยเหลือนักเรียน พบว่า ประสบความสำเร็จ จึงเห็นว่าเป็นนโยบายสำคัญที่จะประกาศผลักดันเป็นนโยบายที่ดำเนินการทั่วประเทศในโครงการ 1 โรงพยาบาล 1 โรงเรียน
       
       “โครงการนี้สามารถทำได้โดยจัดตั้งศูนย์ให้คำปรึกษาคุณภาพ (Psychosocial Clinic) แก่นักเรียนในโรงพยาบาลชุมชนขึ้นไป เชื่อมดูแลกับโรงเรียนประจำอำเภอ และสร้าง “นักจิตวิทยาโรงเรียน” ร่วมดูแลสุขภาพใจในเบื้องต้น คลายร้อนเป็นเย็นฟังปัญหานักเรียนให้มาก พูดคุยด้วยเหตุผลและให้ความเมตตานักเรียน โดยจะขยายให้ครอบคลุมทุกอำเภอภายในปี 2557” รมช.สาธารณสุข กล่าว
       
       ด้าน นพ.อิทธิพล สูงแข็ง รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า โครงการนี้ดำเนินการร่วมกันระหว่าง สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สมาคมแนะแนวแห่งประเทศไทย โรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์ สถาบันราชานุกูล และสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ซึ่งจากการติดตามผลโครงการพบว่า นวัตกรรมใหม่จากโครงการนี้ คือการมี “นักจิตวิทยาโรงเรียน” เป็นตัวเชื่อมต่อการดูแลระหว่างโรงเรียนกับโรงพยาบาล สามารถดูแลนักเรียนได้อย่างมีคุณภาพ และพบว่าครูให้ความสำคัญต่อปัญหาสุขภาพจิตนักเรียนในเรื่องการไม่อยู่ในกฎระเบียบ ปัญหาครอบครัว และความเครียดมากที่สุด
       
       นพ.อิทธิพล กล่าวอีกว่า ส่วนกิจกรรมด้านส่งเสริมป้องปัญหาสุขภาพจิตส่วนใหญ่คือ กิจกรรมเสริมทักษะชีวิต และสร้างความภาคภูมิใจในคุณค่าตนเอง ส่วนกิจกรรมด้านการบำบัดเด็กที่มีปัญหาส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับปัญหา พฤติกรรม การเรียน และอารมณ์ โดยพบว่า รูปแบบการทำงานร่วมกันระหว่างสองสายงานที่มีเป้าหมายเดียวกันที่เด็กเช่นนี้ ส่งผลให้แนวโน้มปัญหาสุขภาพนักเรียนในกลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมโครงการลดลง จึงมั่นใจว่าระบบนี้จะช่วยเติมเต็มระบบการดูแลนักเรียนต่อเนื่องระหว่างโรงเรียนกับโรงพยาบาล เด็กไม่รู้สึกว่าถูกสังคมโดดเดี่ยว หรือปล่อยให้เผชิญและแก้ไขปัญหาตามลำพังอีกต่อไป โดยกรมสุขภาพจิตจะเร่งขยายการอบรมด้านการดูแลสุขภาพจิตให้เครือข่ายต่างๆ ทั้งระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาในภาครัฐ โดยให้หน่วยงานในสังกัดกรมสุขภาพจิต และโรงพยาบาลจิตเวชทั้ง 17 แห่งทั่วประเทศ เป็นศูนย์การพัฒนารวมถึง สนับสนุนการทำงานของเขตบริการสุขภาพ 12 เขต และ กทม.
 
  • 25 ต.ค. 2556 เวลา 10:53 น.
  • 2,030

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

ความคิดเห็นเกี่ยวกับ : อึ้ง! พบนักเรียนไทยมีปัญหาทางอารมณ์ถึง 2 ล้านคน สธ.ชี้ต้องใช้ 1 รพ.1 ร.ร.แก้ปัญหา

เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^