LASTEST NEWS

19 ก.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 ก.ย. 2567สพฐ. แจงศิลปหัตถกรรมนักเรียน แยกการแข่งวิชาการ ลดภาระครู-นักเรียน ไม่ซ้ำซ้อน . 18 ก.ย. 2567ศธ.ย้ำ 20 ก.ย.นี้รู้ผลสอบ "ครูเบญ" ชี้อย่าตัดสินคนแค่เพราะนามสกุลดัง 18 ก.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 18 ก.ย. 2567โรงเรียนพระธาตุขามแก่นพิทยาลัย​ รับสมัครครูช่วยสอน 6 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 25 กันยายน 2567 18 ก.ย. 2567โรงเรียนซำสูงพิทยาคม รับสมัครครูช่วยสอน 5 อัตรา เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 26 กันยายน 2567 16 ก.ย. 2567มาแล้ว!! ด่วนที่สุด! การจัดการแข่งขันงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 72 ปีการศึกษา 2567 ให้ดำเนินการแข่งขันโดยสิ้นสุดที่ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 16 ก.ย. 2567สพฐ. เร่งสอบข้อเท็จจริง ครูสาวสอบได้ที่ 1 ชื่อหาย ย้ำต้องโปร่งใส ตรงไปตรงมา 16 ก.ย. 2567ยันไม่มีมวยล้มต้มคนดู! ‘ครูเบญ’ บุกศธ.ทวงความเป็นธรรมสอบครูได้ที่ 1 ชื่อล่องหน 15 ก.ย. 2567กรมท่าอากาศยาน เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 24 อัตรา วุฒิปวส./ป.ตรี/ป.ตรีทุกสาขา สมัครตั้งแต่บัดนี้ - 3 ตุลาคม 2567

ชี้หัวใจพัฒนาการศึกษาต้องพัฒนาครู

  • 27 พ.ย. 2557 เวลา 10:02 น.
  • 1,289
ชี้หัวใจพัฒนาการศึกษาต้องพัฒนาครู

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

พัฒนาการศึกษาต้องพัฒนาครู สร้างสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครูกับเด็ก
 
บริษัทอักษรฯ จับมือคณะครุศาสตร์ จุฬาฯ จัดประชุมสัมมนาผู้นำทางการศึกษาแห่งประเทศไทย ดึงผู้ทรงคุณวุฒิทางการศึกษาระดับโลกมาถ่ายทอดความรู้ หวังครูสร้างกระบวนการเรียนรู้สำหรับเด็กยุคใหม่ ผู้ช่วยรมว.ศึกษาธิการ แนะหัวใจการศึกษา ครูกับเด็กต้องมีความสัมพันธ์ที่ดี ครูต้องพูดให้น้อยเด็กควรพูดให้มาก ขณะที่นักวิชาการต่างชาติ ชู 4 แนวทางพัฒนาครู ดึงคนหนุ่มสาวเก่ง มีคุณภาพ สร้างเด็กศตวรรษที่ 21 เติมพลังให้ครู รักษาครูคุณภาพสูง
 
วันนี้ (26พ.ย.) ที่อิมแพค เมืองทองธานี บริษัท อักษร เอ็ดดูเคชั่น จำกัด ร่วมกับคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดการประชุมสัมมนาผู้นำทางการศึกษาแห่งประเทศไทย ประจำปี 2557 หรือ Thailand’s Educational Leader Symposium 2014 หัวข้อ “ก้าวสู่ความสำเร็จของการบริหารจัดการสถานศึกษาแห่งศตวรรษที่ 21 โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษาระดับโลกมาถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนความรู้ให้ผู้เกี่ยวข้องในวงการการศึกษาไทย ซึ่งมีคณาจารย์เข้าร่วมกว่า 1,000 คน
 
นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ ผู้ช่วยรมว.ศึกษาธิการ เป็นประธานกล่าวเปิดงาน พร้อมปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “บทบาทผู้บริหารการศึกษาต่อความสำเร็จของการบริหารจัดการสถานศึกษาแห่งศตวรรษที่ 21 ”ตอนหนึ่งว่า ระบบการศึกษาไทยต้องยอมรับว่าถูกออกแบบมานาน เป็นการบริหารจัดการจากกระทรวงศึกษาธิการลงไปสู่ระดับต่างๆ มีการกระจายอำนาจลงไปสู่ผู้ปฎิบัติ แต่ผู้ปฎิบัติเมื่อต้องปฎิบัติจริงกลับดำเนินงานตามนโยบายจากส่วนกลาง ซึ่งเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านเทคโนโลยี องค์ความรู้อย่างรวดเร็วเปรียบเสมือนสึนามีทางการศึกษา ทำให้ระบบการศึกษาไทยแบบเก่า ล้าหลัง ไม่สามารถนำมาใช้ต้านทางการเปลี่ยนแปลงที่เข้ามาอย่างรวดเร็ว
 
“ต้องวินิจฉัยให้ดีว่าการศึกษาไทยระบบการบริหารการศึกษาเป็นอย่างไร ซึ่งหัวใจการศึกษาอยู่ที่ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครูและเด็ก แต่ระบบการศึกษาไทยยังขาดเรื่องนี้อยู่มาก เพราะครูของเราไม่ได้อยู่ในห้องเรียน ไม่ได้อยู่กับเด็ก แต่ครูของเรามีภาระหน้าที่มากมาย ซึ่งต่อให้เป็นครูเก่ง มีความรู้ความสามารถ คิดค้นนวัตกรรมการสอนใหม่ๆได้ แต่ก็ไม่มีเวลามานั่งคิดต้องเอาเวลาไปทำเอกสาร อีกทั้งกระบวนการเรียนการสอนไม่ได้มุ่งให้เด็กเกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง เด็กเรียนแล้วลืม เพราะไม่ผ่านการรับรู้จากประสาทสัมผัสทั้ง 5 และจากจิตใจ เด็กได้เรียนจากของจริง” ผู้ช่วยรมว.ศึกษาธิการ กล่าว
 
ผู้ช่วยรมว.ศึกษาธิการ กล่าวต่อว่า การสอนที่ดี ครูต้องพูดให้น้อย และทำให้เด็กพูดมากขึ้น ในห้องเรียนเด็กต้องเกิดการเรียนรู้ด้วยตัวเองมากกว่าเรียนรู้จากครู และครู ต้องปรับความคิด จิตใจ ก้าวข้ามความท้าทายทางเทคนิคและการปรับตัว ครูควรเรียนทำงานจ๊อบเดียว ทำหน้าที่สอนเด็ก อย่ารับงานจ๊อบเอาใจนาย ส่วนผู้นำทางการศึกษาต้องพยายามสร้างห้องเรียน โรงเรียนให้มีบรรยากาศของการเรียนรู้ตลอดเวลา และควรรู้จักนักเรียน ครูในโรงเรียนของตัวเอง อย่าเอาเวลาไปหาตำแหน่งเพียงอย่างเดียว
 
นายชัยณรงค์ ลิมป์กิตติสิน กรรมการผู้อำนวยการกลุ่มการศึกษาทางการบริษัท อักษร เอ็ดดูเคชั่น จำกัด กล่าวว่าบริษัท อักษรฯ เป็นผู้นำในการผลิตสื่อการเรียนรู้ที่อยู่คู่กับการศึกษาไทยมายาวนาน และต้องการให้สถานศึกษา ครูมีสื่อในการเรียนการสอนที่ทันสมัย มีคุณภาพ เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลก จึงได้มีการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพสื่อการเรียนการสอนมากมาย และการจัดประชุมครั้งนี้ ก็เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่จะช่วยเพิ่มศักยภาพของครู ผู้บริหารสถานศึกษาให้มีองค์ความรู้ใหม่ๆ และสามารถนำความรู้ไปปรับใช้พฒนาการเรียนการสอน สร้างกระบวนการเรียนรู้ การแก้ปัญหาของนักเรียนได้จริงและช่วยลดช่องว่างระหว่างครูผู้สอนรุ่นเก่ากับนักเรียนรุ่นใหม่
 
รศ.ดร.บัญชา ชลาภิรมย์ คณบดีคณะครุศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่าการศึกษาถือเป็นความหวังของคนทั้งประเทศ เพราะการศึกษาเป็นการสร้างคนในอนาคต หากอยากให้คนในอนาคต ประเทศเป็นเช่นไร ต้องสร้างคนให้เป็นเช่นนั้น แต่ด้วยระบบการศึกษาไทยที่มีอุปสรรค ความท้าทายมากมาย ทุกคนต้องร่วมมือกัน โดยเฉพาะครู และผู้บริหารสถานศึกษา ผู้นำทางการศึกษาที่ต้องเรียนรู้ คิดค้นกระบวนการเรียนการสอนที่เกิจากการเรียนรู้ในห้องเรียน หรือเรียนรู้จากประเทศอื่นๆ เพื่อขับเคลื่อนพัฒาการศึกษาไทยให้ไปข้างหน้า
 
ศ.ดร.ชาน-กึน เบก กรรมการผู้อำนวยการ สถาบันพัฒนาการศึกษาแห่งสาธารณรัฐเกาหลี สาธารณรัฐเกาหลี กล่าวว่าระบบการศึกษาของเกาหลีนั้นจะนำเทคโนโลยีมาใช้ในกระบวนการเรียนการสอน พัฒนาเด็ก และพัฒนาครู โดยเน้นการศึกษาให้เด็กคิดสร้างสรรค์ สร้างนวัตกรรมใหม่ๆ เป็นการศึกษาเพื่อเป็นพลเมืองโลกควบคู่ไปกับการศึกษาที่มีความสุข เพื่อความฝันความเก่งของเด็ก เพราะการที่เด็กได้คิดสร้างสรรค์ตามความฝันของพวกเขาและได้ลงมือปฎิบัติจริงๆ จะทำให้พวกเขามีความสุขในการเรียน เมื่อมีความสุขพวกเขาก็จะสามารถเรียนรู้ทุกอย่างได้อย่างดี มีประสิทธิภาพ เป็นคนเก่งที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาชีพนั้นจริงๆ ซึ่งประเทศเกาหลีพยายามสร้างสังคมให้มีความเท่าเทียมกัน ใช้ชีวิตอย่างมีความสุขและปลอดภัย
 
“ประเทศเกาหลีมีแผนในการพัฒนาการศึกษาให้แก่เด็กตั้งแต่อยู่ในครรภ์ของแม่ จนถึงระดับอุดมศึกษา โดยในส่วนของระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษานั้น จะเน้นการเปิดโอกาสทางการศึกษา ให้เด็กทุกคนไม่ว่าจะรวยหรือจนก็ได้รับคุณภาพทางการศึกษาอย่างเท่าเทียมกัน มีการลดต้นทุนทางการศึกษาเพื่อให้พ่อแม่ส่งลูกมาเรียนหนังสือ เพราะประเทศเกาหลีไม่ได้มีทรัพยากรธรรมชาติมากมาย เราจึงต้องลงทุนทรัพยากรด้านคน เพื่อให้พวกเขาเป็นผู้นำในระดับโลก และช่วยขับเคลื่อนพัฒนาประเทศ ดังนั้น ระบบการศึกษามีความสำคัญอย่างมากที่ต้องมีการปรับเปลี่ยน ใช้เทคโยโลยี นวัตกรรมใหม่ๆ มาช่วยในการพัฒนา สร้างกระบวนการเรียนการสอน สร้างคนเก่งของโลกที่พร้อมกับทุกสถานการณ์”ศ.ดร.ซาน-กึน กล่าว
 
ศ.ดร.เจง ยิน ชอง ศาสตราจารย์เกียรติยศด้านภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลง สถาบันการศึกษาแห่งฮ่องกง เขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน กล่าวว่าความท้าทายของทุกประเทศทั่วโลกในขณะนี้ ไม่ใช่เฉพาะด้านการปรับตัวให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลกาภิวัฒน์ เทคโนโลยี การแข่งขัน และการพัฒนาท้องถิ่นเท่านั้น แต่การพัฒนาครูก็เป็นความท้าทายที่ทั่วโลกกำลังมองหาแนวทางอยู่ ซึ่งจากผลวิจัยหลายๆ ประเทศ 4 แนวทางหลักในการพัฒนาครู มีดังนี้ 1.ต้องดึงดูดคนหนุ่มสาวที่เก่ง มีคุณภาพมาเปป็นครู เพราะกลุ่มคนเหล่านี้จะมีทั้งสติปัญญา ความคิด ชอบความท้าทาย อยากเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ มีความคิดสร้างสรรค์ อีกทั้งยังมีศักยภาพในการเรียนรู้เทคโนโลยี และปรับตัวเก่ง 2.ครูต้องมีความสามารถในการสอนพัฒนาเด็กให้พร้อมรับการก้าวสู่ศตวรรษที่ 21 คือครูต้องมีการคิดนวัตกรรมกระบวนการเรียนการสอนให้เด็กคิดเอง ครูทำหน้าที่เพียงอำนวย ช่วยเหลือเด็ก 3.สร้างพลังให้แก่ครู ต้อสร้างสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดี ดูแลครูอย่างดี เพื่อให้ครูมีกำลังใจในการทำงานให้ประสบความสำเร็จ และ4.ต้องรักษาครูที่มีคุณภาพสูงเอาไว้ รวมถึงต้องมีการพัฒนาครูอย่างต่อเนื่องต้องช่วยครูให้มีทักษะใหม่ๆและเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ได้ดี
 
 
  • 27 พ.ย. 2557 เวลา 10:02 น.
  • 1,289

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

ความคิดเห็นเกี่ยวกับ : ชี้หัวใจพัฒนาการศึกษาต้องพัฒนาครู

เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^