LASTEST NEWS

24 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 24 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 23 เม.ย. 2567เช็กเลย! สพป.บึงกาฬ เตรียมเปิดสอบครูผู้ช่วย 10 สาขาวิชาเอก 65 อัตรา ประกาศรับสมัคร 1 พ.ค.2567 23 เม.ย. 2567เล็งจัดงบฯ อาหารเช้าให้นักเรียน 23 เม.ย. 2567สอบครูผู้ช่วย ต้องอ่าน! นโยบายและจุดเน้น สพฐ. ปีงบประมาณ 2567-2568 และนโยบายระยะเร่งด่วน (Quick Win) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 23 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 23 เม.ย. 2567สพป.สระบุรี เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.สระบุรี เขต 2 23 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 23 เม.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.เพชรบุรี เขต 2 23 เม.ย. 2567สพม.หนองคาย ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.หนองคาย

การศึกษาไทยต้องรื้อทั้งระบบ

  • 08 พ.ค. 2557 เวลา 10:23 น.
  • 1,859
การศึกษาไทยต้องรื้อทั้งระบบ

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

"หมอเกษม"ชี้การศึกษาไทยต้องรื้อทั้งระบบ ขาดธรรมาภิบาลในการจัดการศึกษา จี้โรงเรียนต้องมีความรับผิดชอบ เปิดโอกาสให้คนดีและคนเก่งเข้ามาบริหารด้วยความโปร่งใส และตรวจสอบได้ ขณะที่ทีดีอาร์ไอชี้ชัดว่าไทยลงทุนการศึกษาสูงมาก แต่ผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ของเด็กต่ำลง
 
วันนี้(7 พ.ค.) ที่ อิมแพคฟอรั่ม เมืองทองธานี สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.)ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)และเครือข่ายเพื่อนปฏิรูปการเรียนรู้ จัดประชุมวิชาการ“อภิวัฒน์การเรียนรู้สู่จุดเปลี่ยนประเทศไทย” ศ.นพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี กล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่อง "สังคมเรียนรู้จะเกิดขึ้นและเปลี่ยนประเทศไทยได้อย่างไร"ว่า การเรียนรู้ตามนิยามของยูเนสโกคือการเปลี่ยนแปลงผู้เรียนให้ดีขึ้นใน 3 ด้านได้แก่ มีความรู้ มีทักษะ และเป็นคนดีมีคุณธรรม ซึ่งปัจจัยสำคัญที่จะทำให้การจัดการศึกษาเป็นการศึกษาที่ดีคือ การมีครูดีมีคุณภาพ มีแรงบันดาลใจอยากเป็นครู มีปฏิสัมพันธ์กับนักเรียน และ มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการเรียนรู้
 
“ผมกำลังเชิญชวนนักการศึกษาไทยให้มาช่วยกันปฏิรูปการศึกษาเพื่อคนทั้งมวล โดยรื้อระบบการศึกษา ให้ค่าใช้จ่ายในการบริหารลดลง รวมถึงต้องกระจายอำนาจให้พื้นที่เพื่อให้เกิดการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพและเหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ แต่สิ่งสำคัญเวลานี้คือ การขาดหลักธรรมาภิบาลในการจัดการศึกษา ดังนั้นจึงต้องเปิดโอกาสให้คนดีและคนเก่งเข้ามาบริหารด้วยความโปร่งใส และตรวจสอบได้”ศ.นพ.เกษมกล่าว
 
ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ผอ.สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า ประเทศไทยใช้เงินมากกับการศึกษา ซึ่ง10 ปีที่ผ่านมามีการลงทุนแบบก้าวกระโดดเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า แต่ผลที่ออกมากลับไม่ดี ประสิทธิภาพเด็กแย่ลง ผู้ที่จบการศึกษายังทำงานไม่ได้ต้องเอามาฝึกหัดนาน และเมื่อดูจากการวัดผลทั้งจากการประเมินนานาชาติ หรือ พิซาและการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน หรือ โอเน็ต ก็พบว่าตกกันครึ่งประเทศ แสดงให้เห็นว่าระบบโรงเรียนไม่มีประสิทธิภาพทำให้เด็กต้องเรียนกวดวิชามากขึ้น ส่วนครูก็ได้รับค่าตอบแทนสูงแต่ไม่ผูกโยงกับผลการเรียนรู้ของเด็ก ดังนั้นการจะทำให้ระบบการศึกษาไทยดีขึ้นต้องมีระบบประเมินผล ระบบการพัฒนาครู ระบบการตรวจสอบคุณภาพของสถานศึกษา ตำราหลักสูตร รวมถึงการปรับวิธีการสอนที่ต้องไม่เหมือนเดิมด้วย
 
ด้าน ดร.ไกรยส ภัทราวาท ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์การศึกษา สสค. กล่าวว่า การลงทุนงบประมาณการศึกษาของไทยจะรู้เพียงภาพกว้าง ไม่เคยรู้เชิงลึกว่า งบประมาณที่จ่ายออกไปเกี่ยวข้องกับการพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กมากน้อยเพียงใด ซึ่งผลการวิจัยบัญชีรายจ่ายด้านการศึกษาตั้งแต่ปี 2551-2553 พบว่า งบประมาณการศึกษาไทย 80% ภาครัฐเป็นผู้จ่าย แม้ว่าเรามีการเรียนฟรี 15 ปี แต่ครัวเรือนก็ยังเป็นผู้ออกเองอีก 20% หรือคิดเป็น 1 ใน 5 ซึ่งเป็นค่าเดินทางหรือค่าเล่าเรียนเพิ่มเติมที่โรงเรียนเรียกเก็บ โดยกระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้จ่ายงบประมาณการศึกษามากที่สุด 80% ส่วนท้องถิ่นจ่ายอยู่ที่ 15% ซึ่งส่วนใหญ่เป็นค่านมและอาหารกลางวัน ทั้งนี้รายจ่ายทางการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน( สพฐ.)ระดับชั้นป.1-ม.6 เฉลี่ยอยู่ที่ 34,451 บาทต่อคนต่อปี และพบว่า 75 บาท เป็นเงินเดือนครูโดยตรง ตามด้วยอาคาร สถานที่ สิ่งก่อสร้าง ค่าสาธารณูปโภค ค่าน้ำค่าไฟ ประมาณ 10 บาท เหลือมีเพียง 4.5 บาทเท่านั้น ที่เป็นค่าใช้จ่ายเพื่อพัฒนาผู้เรียน และอีก 0.5 บาท เป็นงบสำหรับพัฒนาการเรียนการสอนของครู

ดังนั้นหากมีการนำงบประมาณในแต่ละปีที่เพิ่มขึ้น 7% ต่อปี หรือ 200,000 ล้านบาทต่อปี ไปใช้พัฒนาผู้เรียนโดยตรงก็จะส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาของเด็กไทย และ รัฐควรเปลี่ยนรูปแบบการจัดสรรงบประมาณที่คิดแบบรายหัวเพียงอย่างเดียว เพราะจะทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำระหว่างโรงเรียนขนาดใหญ่และโรงเรียนขนาดเล็กบางส่วนที่ขาดแคลนและมีความจำเป็น โดยการจัดทำระบบฐานข้อมูลโรงเรียนเพื่อจัดลำดับโรงเรียนที่มีความจำเป็นในการสนับสนุนเพื่อเปลี่ยนสูตรการจัดสรรทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
 
 
  • 08 พ.ค. 2557 เวลา 10:23 น.
  • 1,859

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

ความคิดเห็นเกี่ยวกับ : การศึกษาไทยต้องรื้อทั้งระบบ

เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^