LASTEST NEWS

23 เม.ย. 2567สพป.พระนครศรีอยุธยา เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.พระนครศรีอยุธยา เขต 1 23 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 23 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 23 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 23 เม.ย. 2567สพป.สงขลา เขต 3 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.สงขลา เขต 3 23 เม.ย. 2567สพป.ขอนแก่น เขต 4 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ขอนแก่น เขต 4 23 เม.ย. 2567สพม.บุรีรัมย์ ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.บุรีรัมย์ 23 เม.ย. 2567สพป.เชียงใหม่ เขต 3 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.เชียงใหม่ เขต 3 23 เม.ย. 2567สพป.พะเยา เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.พะเยา เขต 1 23 เม.ย. 2567สพป.สระแก้ว เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.สระแก้ว เขต 2

ย้อนรำลึกแบบเรียนภาษาไทย ชุด ‘มานี มานะ’

  • 07 พ.ค. 2557 เวลา 08:10 น.
  • 2,198
ย้อนรำลึกแบบเรียนภาษาไทย ชุด ‘มานี มานะ’

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

ถ้าเราย้อนอดีตรำลึกถึงหนังสือแบบเรียนในยุคเก่าก่อน คงไม่อาจปฏิเสธได้ว่าตำราเรียนทุกยุคทุกสมัยล้วนมีคุณค่าทั้งทางด้านภาษา วัฒนธรรม วรรณคดี มีการสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมไว้อย่างผสมกลมกลืน
 
ถ้าเราย้อนอดีตรำลึกถึงหนังสือแบบเรียนในยุคเก่าก่อน คงไม่อาจปฏิเสธได้ว่าตำราเรียนทุกยุคทุกสมัยล้วนมีคุณค่าทั้งทางด้านภาษา วัฒนธรรม วรรณคดี มีการสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมไว้อย่างผสมกลมกลืนไปกับวิถีชีวิตความเป็นไทยอย่างแท้จริง
 
“จินดามณี” เป็นแบบเรียนเล่มแรกของไทยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยพระโหราธิบดี กวีในสมัยพระนารายณ์มหาราช ได้เรียบเรียงไว้เป็นตำราเรียนภาษาไทยไว้ให้เป็นมาตรฐานสำหรับใช้สอนให้แก่เยาวชนไทย  เนื้อหาของหนังสือเกี่ยวกับเรื่องระเบียบของภาษา การสอนอักขรวิธีเบื้องต้น พร้อมอธิบายวิธีการแต่งกาพย์ กลอน โคลง ฉันท์  ซึ่งถือได้ว่าจินดามณีเป็นต้นแบบในการพัฒนาหนังสือแบบเรียนในยุคสมัยต่อ ๆ มาได้เป็นอย่างดียิ่ง
 
ปัจจุบันพบว่า ยังมีครูผู้สอนระดับอนุบาลและระดับประถมฯ จำนวนไม่น้อยที่หยิบเอาหนังสือแบบเรียนภาษาไทยในยุคก่อนมาสอนนักเรียนที่มีปัญหาด้านการอ่านและการเขียนให้สามารถอ่านออกเขียนได้ เป็นที่น่าปลาบปลื้มแทนผู้เขียนผู้พัฒนาเหล่านั้น  และที่น่ายินดียิ่ง นั่นคือ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เห็นคุณค่าของ “แบบเรียนเร็ว” ที่ใช้เป็นแบบเรียนในโรงเรียนมาตั้งแต่ปี 2499  รื้อฟื้นนำกลับมาใช้ใหม่เพื่อแก้ไขปัญหาเด็กที่ “อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้” โดยเฉพาะ
 
?ย้อนรำลึกแบบเรียนภาษาไทย ชุด ‘มานี มานะ’?
 
“ขณะนี้ สพฐ. กำลังเตรียมนำแบบเรียนเร็ว ระดับตอนต้น ตอนกลาง และตอนปลาย ของอำมาตย์โทพระวิภาชน์ วิทยาสิทธิ์ (สังข์ พุกกะเวส) มาใช้เป็นแบบเรียนสำหรับนักเรียนตั้งแต่ ป.1- 3 ซึ่งเป็นแบบเรียนฝึกสะกดคำ  โดยแบบเรียนดังกล่าวเป็นแบบเรียนที่อ่านง่าย เน้นการสะกดคำแจกลูกประโยคไว้ชัดเจน ซึ่งจะทำให้เด็กอ่านออกเขียนได้และจดจำได้ง่ายขึ้น ช่วยให้เด็กจดจำคำศัพท์ อ่านออก และเขียนได้ถูกต้อง เนื่องจากยุคปัจจุบันโรงเรียนไม่เน้นการสอนแบบแจกลูกสะกดคำ แต่เมื่อเด็กไปเจอคำศัพท์ใหม่จึงไม่สามารถอ่านประโยคเหล่านั้นได้ ดังนั้น จึงเห็นว่าแบบเรียนนี้มีประโยชน์และควรนำกลับมาใช้ใหม่เพื่อแก้ไขปัญหาอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ของเด็ก”  ข้อความบางตอนจากคำให้สัมภาษณ์ของนายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
 
หนังสือแบบเรียนภาษาไทยอีกยุคหนึ่งหากละเลยไม่กล่าวถึงคงไม่ได้ นั่นคือ “มานี มานะ”  เชื่อว่าแบบเรียนชุดนี้คงติดตราตรึงใจอยู่ในความทรงจำอันแสนประทับใจของคนไทยที่มีอายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป ซึ่งเป็นหนังสือแบบเรียนภาษาไทยระดับประถมศึกษา ตามหลักสูตรประถมศึกษา 2521 เป็นชุดแบบเรียนภาษาไทยระดับประถมศึกษาปีที่ 1- 6 ชั้นละ 2 เล่ม รวมทั้งสิ้น 12 เล่ม  เริ่มใช้ในโรงเรียนตั้งแต่ปี 2521 - 2537 เมื่อมีการประกาศใช้หลักสูตรฉบับใหม่ จึงมีการปรับเปลี่ยนหนังสือแบบเรียนชุดใหม่ตามด้วย 
 
กระบวนการในการจัดทำหนังสือแบบเรียนชุด “มานี มานะ” นั้น โดยการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำวัสดุแบบเรียนของกระทรวงศึกษาธิการ  มีคณะที่ปรึกษา เช่น นายสมาน แสงมลิ  นางฐะปะนีย์ นาครทรรพ  นางกิติยวดี บุญซื่อ  นายสวัสดิ์ จงกล เป็นต้น  โดยมีอาจารย์รัชนี ศรีไพรวรรณ เป็นประธานคณะผู้ยกร่างเค้าโครงเรื่องและเป็นผู้กำหนดกรอบแนวคิดในการจัดทำหนังสือแบบเรียนชุดดังกล่าว ส่วนผู้วาดภาพประกอบ คือ นายเตรียม ชาชุมพร นายปฐม พัวพิมล และนายพินิจ มนรัตน์
 
หนังสือแบบเรียนชุด “มานี มานะ” เป็นเรื่องราวของตัวละครที่มีการดำเนินเรื่อง ซึ่งได้จำลองมาจากชีวิตจริง เพื่อให้มีความสนุกสนาน ชวนให้สนใจอ่าน และเพิ่มทักษะการเรียนรู้ทางภาษา ทั้งแสดงถึงบุคลิกภาพ และลักษณะนิสัยอันดีงามตามบทบาทของตัวละครแต่ละตัว  และท้ายบทมีแบบฝึกเพื่อทดสอบความรู้ของนักเรียนด้วย  ส่วนการนำเสนอสาระของบทเรียนนั้น ใช้กระบวนการสอนอ่านจากง่ายไปหายาก คือ เรียนรู้พยัญชนะ สระ การประสมคำ แจกลูกสะกดคำ และการผันอักษร ซึ่งเป็นกลวิธีที่แสดงถึงภูมิปัญญาการสอนอ่านภาษาไทย ให้อ่านด้วยความสนุกเพลิดเพลิน มีภาพประกอบสวยงาม สะท้อนภาพครอบครัว สังคมไทยที่อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข มีตัวละครเดินเรื่องที่สำคัญ ได้แก่ มานี มานะ ปิติ ชูใจ วีระ และมีตัวละครซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงแสนรักประจำตัว เช่น มานี มานะ มีหมาชื่อ เจ้าโต  วีระ มีลิงชื่อ เจ้าจ๋อ  ปิติ มีม้าชื่อ เจ้าแก่ และชูใจ มีแมวชื่อ สีเทา เพื่อช่วยนักเรียนที่อ่านเกิดความรักและความเมตตาต่อสัตว์ และยังทำให้หนังสือน่าอ่านและชวนติดตามมากยิ่งขึ้น
 
หนังสือแบบเรียนชุด “มานี มานะ” แต่ละชั้นได้กำหนดจำนวนคำพื้นฐาน ซึ่งจำเป็นต่อการเรียนรู้ตามที่หลักสูตรกำหนดในแต่ละระดับชั้น คือ ประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 450 คำ  ประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 800 คำ  ประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 1,200 คำ  ประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 1,550 คำ  รวมระดับประถมศึกษาปีที่ 1-4 จำนวน 4,000 คำ  ส่วนระดับประถมศึกษาปีที่ 5-6 นั้นไม่ได้กำหนดจำนวนคำ
 
หนังสือแบบเรียนชุด “มานี มานะ”  เป็นหนังสือดีมีคุณค่าและตราตรึงอยู่ในความทรงจำของคนไทยจำนวนไม่น้อย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษาจึงได้นำมาจัดพิมพ์ใหม่โดยมีการปรับปรุงภาพประกอบ เพื่อใช้เป็นหนังสืออ่านเพิ่มเติม แจกให้แก่โรงเรียนในสังกัดทั่วประเทศ จำนวน 35,000 เล่ม สำหรับผู้สนใจทั่วไปสามารถหาซื้อได้ที่ร้านศึกษาภัณฑ์พาณิชย์ 
 
สุดท้ายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ฝากแสดงความเสียใจอย่างยิ่งกับครอบครัวศรีไพรวรรณ และขอไว้อาลัยต่อการจากไปของท่านอาจารย์รัชนี ศรีไพรวรรณ นับว่าท่านเป็นปรมาจารย์ด้านภาษาไทยที่ครูผู้สอนภาษาไทยทุกคนยกย่อง เชิดชู และขอน้อมรำลึกถึงคุณงามความดีของท่านซึ่งถือเป็นแบบอย่างของความเป็นครูในดวงใจของทุกคนตลอดไป 
 
ฟาฏินา  วงศ์เลขา        
 
 
  • 07 พ.ค. 2557 เวลา 08:10 น.
  • 2,198

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

ความคิดเห็นเกี่ยวกับ : ย้อนรำลึกแบบเรียนภาษาไทย ชุด ‘มานี มานะ’

เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^