LASTEST NEWS

29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 3 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 26 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.ชลบุรี เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ชลบุรี เขต 3 29 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.สงขลา เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.สงขลา เขต 1 29 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.พิจิตร เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.พิจิตร เขต 2 29 มี.ค. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 1 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 5 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพม.เพชรบุรี รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 7 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567

"ยูเน็ต" ผลพวง"การศึกษากลวง"

  • 05 พ.ค. 2557 เวลา 12:04 น.
  • 1,687
"ยูเน็ต" ผลพวง"การศึกษากลวง"

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

"ยูเน็ต" ผลพวง"การศึกษากลวง"
 
    หลังจากที่สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ประกาศลั่นออกมาชัดเจนว่า จะมีการจัดการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติระดับอุดมศึกษา (University National Education Test) หรือยูเน็ต ปลายปี 2557 ตามความสมัครใจของแต่ละมหาวิทยาลัย โดยบอร์ด สทศ.แจงว่า การประเมินผลระดับอุดมศึกษายังไม่เคยจัดสอบ และยูเน็ตจะเป็นการประเมินมาตรฐานบัณฑิตตามที่กฎหมายกำหนด โดยยึดกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (ทีคิวเอฟ) ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ตามที่กฎหมายกำหนด โดยจะเริ่มนำร่องทดสอบนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีสุดท้ายของทุกสาขาวิชานั้น ก่อให้เกิดกระแสในสังคมโซเชียลเน็ตเวิร์กทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา และมีการตั้งแฟนเพจ “ต่อต้านการสอบ U-Net จาก สทศ.” ขึ้นมา ซึ่งขณะนี้มียอดเข้าไปกดไลค์กว่าแสนคน ซึ่งเพจดังกล่าวนำข่าวยูเน็ตมาโพสต์ลงเรื่อยๆ และมีคำแถลงการณ์จากสภานิสิตมหาวิทยาลัยต่างๆ ที่คัดค้านการสอบยูเน็ตอีกด้วย เช่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหิดล เป็นต้น
 
    รศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ความเห็นว่า การที่ สทศ.นำยูเน็ตมาทำการทดสอบกับเด็กที่กำลังจะไปเป็นบัณฑิตนั้น ต้องยอมรับว่าเกิดจากผลพวงของการศึกษาประเทศไทยกลวงและด้อยคุณภาพ ตั้งแต่การศึกษาขั้นพื้นฐาน ทั้งสายสามัญและสายอาชีพ จนกระทั่งถึงระดับอุดมศึกษา ซึ่งจริงๆ แล้วระบบอุดมศึกษาของไทยขณะนี้เรียกได้ว่าอยู่ในสถานะสะเปะสะปะ มีมหาวิทยาลัยเปิดใหม่หลายแห่ง อีกทั้งเปิดหลักสูตรใหม่เพิ่มเรื่อยๆ เกิดเป็นระบบธุรกิจการศึกษา เป็นระบบที่ผู้ใหญ่สร้างปัญหาขึ้นมา โดยผู้บริหารมหาวิทยาลัยไม่ได้คำนึงถึงคุณภาพของบัณฑิตที่ผลิตออกมา โดยหน้าที่แล้ว สกอ.เป็นผู้ที่ต้องดูแลมหาวิทยาลัย แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือแทนที่ สกอ. และหน่วยงานจะจัดการกับมหาวิทยาลัยที่ไม่มีคุณภาพ กลับมาจัดการทางอ้อมโดยผ่านเด็ก ให้เด็กมารับภาระด้วยวิธีการสอบ
 
    “จะเห็นได้ว่าการกระทำของผู้ใหญ่ไม่ได้แก้ปัญหาคุณภาพอุดมศึกษาอย่างแท้จริง ซึ่งเรื่องการวัดคุณภาพสถาบันเป็นหน้าที่ของผู้ใหญ่ ไม่ใช่เด็ก ทำให้ขณะนี้เด็กกลายเป็นเหยื่อและเครื่องมือของความไม่เอาไหนของผู้ใหญ่ ถือเป็นเคราะห์กรรมของเยาวชนทั้งประเทศ เป็นผลพวงที่เราปล่อยปละละเลยของอุดมศึกษา” รศ.ดร.สมพงษ์กล่าว
 
    แม้ว่ายูเน็ตจะมีกระแสเชิงลบออกมามาก แต่อาจารย์สมพงษ์ก็ยังพูดถึงข้อดีของยูเน็ตว่า ทำให้เกิดข้อมูลชุดหนึ่งซึ่งนักการเมืองสามารถนำไปใช้ในการปฏิรูประบบอุดมศึกษา สามารถบอกได้ว่าสภาพการผลิตบัณฑิตของอุดมศึกษาเป็นอย่างไร รวมถึง สกอ.ก็จะทราบข้อมูลว่ามหาวิทยาลัยแต่ละแห่งมีความแตกต่าง เหลื่อมล้ำอย่างไร ทำให้สถานศึกษาบางแห่งต้องคำนึงถึงคุณภาพมากขึ้น อย่างไรก็ตาม สทศ.และผู้ที่เกี่ยวข้องต้องมีการหารือและต้องทบทวนการประเมินคุณภาพในระดับอุดมศึกษาครั้งใหญ่อีกครั้ง
 
    จากการที่สภานิสิตนักศึกษาของมหาวิทยาลัยต่างๆ ออกมาคัดค้านและให้ความเห็นเรื่องยูเน็ต เช่น ล่าสุด สภานิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดการเสวนา “U-NET กับอนาคตเด็กไทย” นั้น นายศิวัช สุดาเดช ประธานสภานิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เปิดเผยถึงการจัดทำแบบสอบถามเพื่อรวบรวมข้อคิดเห็นของนิสิตต่อประเด็นการทดสอบยูเน็ต พบว่า นิสิต 71% ไม่เห็นด้วยกับการสอบยูเน็ต โดยส่วนใหญ่เชื่อว่าการทดสอบดังกล่าวจะเอื้อให้เกิดผลประโยชน์ทางธุรกิจของสถาบันกวดวิชา อีกทั้งที่ผ่านมาการจัดสอบของ สทศ.นั้นมีมาตรฐานที่ต่ำอยู่จนทำให้ผู้ที่เคยผ่านการทดสอบของ สทศ.ไม่ไว้วางใจและมีอคติ อย่างไรก็ตาม หากมีการจัดสอบจริงๆ สทศ.ควรสร้างมาตรฐานให้ดีกว่านี้ แต่หากไม่สามารถสร้างความไว้วางใจให้กับผู้ที่ถูกทดสอบแล้ว สทศ.ก็ควรพิจารณาในส่วนตรงนี้ด้วย
 
    จะเห็นได้ว่า สิ่งที่ว่าที่บัณฑิตนี้กังวลก็คือการที่ต้องมาเตรียมตัวสอบ อีกทั้งอาจจะเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับสถาบันกวดวิชาทั้งหลาย โดยอาจารย์สมพงษ์มองว่า คงเป็นเรื่องที่น่าตกใจมากว่าคนที่กำลังจะจบระดับอุดมศึกษาต้องมานั่งติวเพื่อสอบยูเน็ต ทั้งนี้ทั้งนั้น ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องฟังเสียงเด็ก ว่าแต่ละมหาวิทยาลัย แต่ละคณะ มีหลักการ ปรัชญา ความเชื่อ ทฤษฎี ที่แตกต่างกัน แต่ขณะนี้ผู้ใหญ่กลับนำทุกศาสตร์ ทุกแขนง มารวมกันอยู่ภายใต้การวัดและประเมินผลอันเดียวกัน เพราะการผลิตบัณฑิตของแต่ละสถาบันมีความหลากหลายและแตกต่างกันอย่างมาก
 
    สุดท้ายสิ่งอาจารย์สมพงษ์ได้แนะนำไว้ก็คือ อย่านำปัญหาของผู้ใหญ่ไปทำให้ชีวิตเด็กกดดัน เพราะเด็กถูกกดดันมาตลอดตั้งแต่เริ่มต้นการศึกษาขั้นพื้นฐานจนถึงระดับอุดมศึกษา ทั้งนี้ หากผู้ใหญ่ต้องการข้อมูลเกี่ยวกับคุณภาพของมหาวิทยาลัย ยังมีวิธีการอีกมากที่ไม่ต้องใช้วิธีการทดสอบ เช่น การทำวิจัยเชิงคุณภาพ หรือการเก็บข้อมูลในเชิงผู้ประกอบการที่ใช้บัณฑิต เป็นต้น
 
    สรุปโดยรวมคงปฏิเสธไม่ได้ว่า "ยูเน็ต" เป็นผลพวงของความล้มเหลว ความด้อยคุณภาพ และไร้ประสิทธิภาพของระบบการศึกษาไทย ที่มีมาตั้งแต่การศึกษาขั้นพื้นฐาน ยันถึงระดับอุดมศึกษา ที่ก่อนหน้านี้ถือว่ามีจุดแข็งมากกว่าการศึกษาขั้นพื้นฐาน 
 
    ด้วยเหตุนี้ ประเด็น “ยูเน็ต” คงจะยังไม่จบง่ายๆ เพราะจาตุรนต์ ฉายแสง รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ยังคงยืนยันที่จะให้มีการสอบยูเน็ตภาษาอังกฤษ แม้จะไม่เป็นการบังคับ แต่ก็ถือว่าเป็นการนำร่องที่จะนำการสอบยูเน็ตมาใช้  
 
    และตราบใดที่สถาบันอุดมศึกษาไทยยังไม่ปรับตัวมุ่งสู่ความเป็นคุณภาพอย่างแท้จริง โดยเลิกผลิตบัณฑิตเชิงปริมาณ หันมาผลิตบุคลากรที่ตอบสนองความต้องการของประเทศอย่างแท้จริง เป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพสอดรับกับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในอีกปีกว่าๆ เมื่อนั้น ยูเน็ตก็ยังคงวนเวียนอยู่ในสังคมแม้ว่าจะมีกระแสต่อต้านมันก็ตาม.
 
 
  • 05 พ.ค. 2557 เวลา 12:04 น.
  • 1,687

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

ความคิดเห็นเกี่ยวกับ : "ยูเน็ต" ผลพวง"การศึกษากลวง"

เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^