LASTEST NEWS

19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครสวรรค์ - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครสวรรค์ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 2 (รอบที่ 1) สพป.นราธิวาส เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.นราธิวาส เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.น่าน เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.น่าน เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครพนม - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครพนม 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.ราชบุรี เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ราชบุรี เขต 2 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 2) สพป.ขอนแก่น เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ขอนแก่น เขต 3 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.เชียงใหม่ เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.เชียงใหม่ เขต 2 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.นครสวรรค์ เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.นครสวรรค์ เขต 1

"จาตุรนต์" หนุนสอนแจกลูก-สะกดคำ

  • 19 เม.ย. 2557 เวลา 09:24 น.
  • 5,660
"จาตุรนต์" หนุนสอนแจกลูก-สะกดคำ

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

"จาตุรนต์" หนุนสอนแจกลูก-สะกดคำ
 
“จาตุรนต์” หนุนใช้แบบเรียนเร็ว สอนแบบแจกลูกสะกดคำ ชี้เป็นพื้นฐานที่ทุกคนต้องเรียน เล็งทบทวนลดกลุ่มสาระสำหรับเด็กเล็ก เพื่อให้มีเวลาเรียนภาษาไทยมากขึ้น ชี้ครูไทยสอนท่องจำเป็นคำๆ ส่งผลเด็กไทยอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้
 
วันนี้ (18 เม.ย.) นายจาตุรนต์  ฉายแสง รมว.ศึกษาธิการ กล่าวถึงกรณีที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เตรียมนำแบบเรียนเร็วใหม่ ระดับต้น ระดับกลาง และปลาย ของอำมาตย์โทพระวิภาชน์ วิทยาสิทธิ์ (สังข์ พุกกะเวส) กลับมาใช้เป็นแบบเรียนสำหรับเด็กช่วงชั้นที่ 1 ตั้งแต่ระดับประถมศึกษาปีที่ 1-3  ซึ่งเป็นแบบเรียนฝึกสะกดคำ และได้รับอนุญาตให้ใช้เป็นแบบเรียนในโรงเรียนมาแล้วตั้งแต่วันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2499  โดยการนำแบบเรียนดังกล่าวมาใช้เพื่อให้เด็กอ่านออก เขียนได้ เนื่องจากปัจจุบันโรงเรียนไม่เน้นการสอนแบบแจกลูกสะกดคำแล้ว แต่เน้นให้เด็กท่องจำเป็นคำๆ ทำให้เมื่อเจอศัพท์ใหม่ จึงไม่สามารถอ่านได้ ว่า การนำแบบเรียนดังกล่าวกลับมาใช้เป็นผลมาจากที่ สพฐ. ได้ไปสแกนการอ่าน ออก เขียนได้ของเด็กทั่วประเทศ และพบว่ามีเด็กป.3 และป.6 อ่านหนังสือไม่ออกจำนวนมาก และอยู่ในช่วงปรับปรุงถึงกว่า 200,000 คน ทำให้เขตพื้นที่ฯ และโรงเรียนพยายามหาวิธีปรับปรุงการสอนภาษาไทย ซึ่งมีทั้งการสอนแบบเข้มข้น การแยกเด็กออกมาสอนต่างหาก การสอนพิเศษเพิ่มเติม ขณะเดียวกันยังพบปัญหาว่าหลักสูตรมีกลุ่มสาระวิชามากเกินไป ต่อไปคงต้องมาพิจารณาทบทวนลดกลุ่มสาระที่สอนสำหรับเด็กเล็ก เพื่อให้มีเวลาเรียนภาษาไทย หรือวิชาอื่นเช่น คณิตศาสตร์ เพิ่มมากขึ้น
 
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวต่อไปว่า ในระยะ 20 ปีที่ผ่านมา ได้มีการเปลี่ยนวิธีการสอนจากการสอนให้สะกดคำ มาเป็นการสอนให้จำเป็นคำๆ ซึ่งต่อมาครูก็ค้นพบว่า วิธีการสอนให้เด็กจำ ทำให้เด็กอ่านสะกดไม่เป็น จึงย้อนเอาวิธีการสอนสะกดคำมาใช้ ซึ่งก็ไม่แน่ใจว่าที่ผ่านมาหลักสูตรมีความโน้มเอียงไปอย่างไร จึงไม่สอนให้เด็กสะกดคำ ทั้งที่ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ต้องเรียนแบบสะกด ดังนั้นการที่ สพฐ. นำการเรียนแบบสะกดมาใช้จึงเป็นเรื่องที่ควรส่งเสริม
 
" ขณะเดียวกันการแก้ปัญหาเรื่องการเรียนการสอนภาษาไทยยังมีมากกว่านี้ ทั้งการสอนให้เด็กสนใจ คิดเป็น แต่งประโยคเป็น  รวมถึงต้องโยงไปถึงการทดสอบวัดผลภาษาไทย การกำหนดเนื้อหาให้สอดคล้องกับการเรียนภาษาแม่ และการวัดความรู้หรือสมรรถนะภาษาไทยในฐานะที่เป็นภาษาแม่ด้วย การนำแบบเรียนเร็วใหม่กลับมาใช้ดูเหมือนเป็นการย้อนยุค แต่ความจริงไม่ใช่เพราะเป็นเรื่องเทคนิค ความรู้พื้นฐานที่ทุกคนต้องเรียน" นายจาตุรนต์ กล่าว
 
  • 19 เม.ย. 2557 เวลา 09:24 น.
  • 5,660

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

ความคิดเห็นเกี่ยวกับ : "จาตุรนต์" หนุนสอนแจกลูก-สะกดคำ

เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^