LASTEST NEWS

29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567อ.ก.ค.ศ.สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 62 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567สพป.กำแพงเพชร เขต 1 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 14 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพม.นครราชสีมา รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 20 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 6 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 27 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 5 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 32 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 4 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 15 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 3 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 25 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 2 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 19 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567

เสนอกรอบปฏิรูปศึกษาใหม่

  • 26 มี.ค. 2557 เวลา 06:14 น.
  • 1,978
เสนอกรอบปฏิรูปศึกษาใหม่

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

เสนอกรอบปฏิรูปศึกษาใหม่
 
    สภาคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ เตรียมเสนอแนวทางปฏิรูปการศึกษารอบใหม่ แนะปฏิรูปการจัดการงบประมาณ ลดขนาดห้องเรียน กระจายทรัพยากรอย่างเท่าเทียม คาดสรุปผล พ.ค.นี้ เตรียมเสนอรัฐบาลชุดใหม่ต่อไป
 
    ที่อาคารหอประชุมพ่อขุนรามคำแหงมหาราช มหาวิทยาลัยรามคำแหง สมาคมสภาการศึกษาทางเลือกไทย (สกล.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดเวทีสมัชชาเพื่อขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษา : เวทีกลุ่ม/เครือข่ายสภาคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทย โดยมี ผศ.วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์ อธิการบดี มร. กล่าวว่า ตนได้เฝ้าติดตามเรื่องการศึกษา และเห็นว่าสภาคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์มีบทบาทสำคัญในการช่วยกันแก้โจทย์ทางการศึกษา 4 ประเด็นหลักๆ ได้แก่ 1.ประเทศไทยมีการพูดถึงเรื่องการปฏิรูปการศึกษามากที่สุดในโลก แต่เมื่อดูการประเมินต่างๆ ระบบการศึกษาไทยกลับติดลบตลอดเวลา สภาคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ต้องช่วยกันคิดและดูว่าเกิดอะไรขึ้นกับการศึกษาไทย 2.เรื่องผลผลิต จากคะแนนเฉลี่ยของนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่เห็นแล้วเชื่อว่าคนในแวดวงการศึกษาต้องตั้งคำถามและแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น 3.การกระจายอำนาจ ซึ่งตอนนี้ไม่ใช่เป็นการกระจายอำนาจจริงๆ เพราะในฐานะผู้บริหารสถาบันการศึกษา ทุกครั้งที่สังคมไทยมีการพูดถึงการกระจายอำนาจ หมายถึงการควบคุมมากขึ้นทุกที เราต้องย้อนกลับมาดูว่ากระจายอำนาจถูกทางแล้วหรือไม่ และ 4.อยากเห็นสภาคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์เข้าไปมีส่วนช่วยและพัฒนากระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เนื่องจากมีการเปลี่ยน รมว.ศธ.อยู่บ่อยครั้ง ทำให้การบริหารงานไม่ต่อเนื่อง 
 
    รศ.ดร.ประวิต เอราวรรณ์ คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม กล่าวว่า ทางสภาคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์แห่งประเทศ เบื้องต้นได้สังเคราะห์ปัญหาการศึกษาของประเทศเกิดจาก 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1.การจัดสรรทรัพยากร ที่ผ่านมาเป็นการจัดสรรจากส่วนกลาง ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำสูง 2.มีการผูกขาดโดยผู้ให้งบประมาณ และ 3.จัดสรรทรัพยากรไว้ที่เดียว ไม่มีการกระจายอำนาจอย่างแท้จริง ขณะเดียวกัน รมว.ศธ.เปลี่ยนนโยบายโดยไม่ได้สอบถามหน่วยงาน ผู้ปฏิบัติด้านการศึกษา ทำให้ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องไม่ได้ทันคัดค้านนโยบาย ทำให้เกิดผลกระทบ รวมถึงการใช้งบประมาณของ ศธ. 75% ใช้เรื่องการบริหารจัดการ แต่ในเรื่องการพัฒนาการเรียนการสอน ผู้เรียน มีเพียง 25% เท่านั้น
 
    สำหรับประเด็นที่ต้องปฏิรูปเบื้องต้นมี 3 ด้านดังนี้ 1.ปฏิรูปการบริหารจัดการ โดยปรับบทบาท ศธ. และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จากผู้ถืองบประมาณเป็นผู้กำหนดนโยบาย จัดระบบงบประมาณตรงถึงตัวผู้เรียน ให้อิสระคณะกรรมการโรงเรียนในการบริหาร ใช้มาตรการภาษีจูงใจภาคเอกชน ตั้งกองทุนสบทบภาคประชาชน จัดคูปองการศึกษาให้เด็กด้อยโอกาส 2.ปฏิรูปบุคลากรการศึกษา ต้องผลิตครูที่เน้นการปฏิบัติจริง ปรับระบบวิทยฐานะให้สะท้อนผลลัพธ์ที่นักเรียน ให้ทุกภาคส่วนกำกับและประเมิน มีการจัดสรรอัตรากำลังครูหรือบุคลากรการศึกษาให้เหมาะสมกับสภาพโรงเรียน และ 3.ปฏิรูปความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ โดยปรับปรุงกฎระเบียบที่กำกับความรับผิดชอบทุกระดับ ปรับระบบการวัดผลประเมินจาก ศธ. สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) และสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) และ 3.ลดขนาดห้องเรียน และกระจายทรัพยากรอย่างเท่าเทียม เพื่อให้การปฏิรูปการศึกษารอบใหม่เป็นการสร้างพลเมืองที่มีคุณภาพ อย่างไรก็ตาม จะมีการสรุปทั้งหมดอีกครั้งเพื่อนำเสนอในเวทีใหญ่ในวันที่ 24 เมษายน 2557 และจะสรุปให้แล้วเสร็จภายในเดือนพฤษภาคม 2557 และเสนอรัฐบาลชุดใหม่ต่อไป.
 
 
  • 26 มี.ค. 2557 เวลา 06:14 น.
  • 1,978

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

ความคิดเห็นเกี่ยวกับ : เสนอกรอบปฏิรูปศึกษาใหม่

เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^