LASTEST NEWS

28 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 5 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 32 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 4 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 15 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 3 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 25 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 2 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 19 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 1 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 28 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.ตรัง เขต 2 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 16 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.ปัตตานี เขต 3 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 12 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.ตรัง เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ตรัง เขต 2 28 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ

ห่วง ป.ตรีสายปฏิบัติการอาชีวะได้เกรดเฟ้อ เร่งทำเกณฑ์เกียรตินิยม

  • 25 ก.พ. 2557 เวลา 13:34 น.
  • 2,303
ห่วง ป.ตรีสายปฏิบัติการอาชีวะได้เกรดเฟ้อ เร่งทำเกณฑ์เกียรตินิยม

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

ห่วง ป.ตรีสายปฏิบัติการอาชีวะได้เกรดเฟ้อ เร่งทำเกณฑ์เกียรตินิยม
 
 ห่วง ป.ตรีสายปฏิบัติการอาชีวะได้เกรดเฟ้อ “ชัยพฤกษ์” เผยเด็กส่วนใหญ่ได้เกรด A ส่งผลให้มีเด็กได้เกียรตินิยมถึง 90% หวั่นกระทบมาตรฐานเร่งทำหลักเกณฑ์การได้เกียรตินิยม ด้าน “จาตุรนต์” จี้อาชีวะเร่งสร้างผลงานในปี 57 
      
       วันนี้ (24 ก.พ.) ที่โรงแรมพูลแมน ขอนแก่น ราชาออคิด นายจาตุรนต์ ฉายแสง รักษาการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวระหว่างเปิดงานและบรรยายพิเศษ ในการประชุมสัมมนาผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ทั่วประเทศกว่า 800 คน ว่า ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอกประเทศ ไม่ว่าจะเป็นสภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และเทคโนโลยี การจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษาในปัจจุบันมีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนาตนให้มีคุณภาพเท่าทันการเปลี่ยนแปลง และจะต้องดำเนินการอย่างรอบคอบให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งที่ผ่านมาอาชีวศึกษาได้วางกรอบแนวทางการขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฎิบัติอย่างต่อเนื่อง อาทิ เร่งผลิตกำลังคนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และประกาศนียบัตรวิชาชีพขั้นสูง (ปวส.) เพื่อรองรับโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม เร่งผลักดันให้เกิดระบบกรอบคุณวุฒิวิชาชีพ พัฒนาความร่วมมือกับต่างประเทศมากขึ้น เป็นต้น อย่างไรก็ตาม อยากให้วิทยาลัยต่างๆ ไปศึกษารูปแบบการจัดการเรียนสอนของวิทยาลัยอาชีวศึกษาต่างประเทศที่ สอศ.มีความร่วมมือกันอยู่ เพื่อนำมาเป็นต้นแบบในการปรับปรุงจัดการเรียนการสอนของวิทยาลัยอาชีวศึกษาไทยให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น และอยากให้ผู้บริหารทุกคนขับเคลื่อนงานในการพัฒนาอาชีวศึกษาทั้งหมด โดยเริ่มตั้งแต่ปีการศึกษา 2557 เป็นต้นไป
       
       รักษาการ รมว.ศึกษาธิการ กล่าวต่อว่า ขณะเดียวกัน ขอให้นำนโยบายหรือประกาศจาก ศธ.อาทิ ส่งเสริมการเรียนภาษาจีน และภาษาอังกฤษ เป็นต้น ไปปรับใช้ให้เป็นแนวทางจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษา ซึ่งจะต้องมุ่งเน้นให้เกิดการปฏิบัติอย่างแท้จริง รวมทั้งขอฝากให้ผู้บริหารทุกคนได้คิดโครงการ หรือการวางแผนการพัฒนาสถานศึกษาตั้งแต่ปิดภาคเรียน ซึ่งไม่อยากให้มาวางแผนการทำงานในช่วงเปิดภาคเรียนไปแล้ว เพราะหากทำแบบนั้นจะไม่เกิดประโยชน์ต่อการบริหารงานอย่างแน่นอน อย่างไรก็ตามตนเชื่อมั่นว่าหากผู้บริหารทุกคนทำให้อาชีวศึกษาเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรมในทุก ๆ ด้าน ก็จะทำให้เราได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐและภาคเอกชนมากขึ้น
       
       ด้าน นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) กล่าวว่าขณะนี้ทราบมาว่านักศึกษาที่มาเรียนระดับปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการกับสถาบันการอาชีวศึกษา 19 แห่ง ใน 38 วิทยาลัย มีผลการเรียนออกมาดีมากๆ ส่วนใหญ่จะได้เกรด A เยอะไม่มีใครได้เกรดต่ำกว่า B ซึ่งหากเป็นแบบนี้จะมีเด็กประมาณ 90% ได้เกียรตินิยมแน่นอน ซึ่งหากตัดเกรดออกมาเช่นนี้มีความน่าเป็นห่วง เพราะจริงๆ แล้วการที่นักศึกษาจะได้เกียรตินิยมค่อนข้างยาก ดังนั้นจึงอยากให้ผู้อำนวยการสถาบันการอาชีวศึกษา สภาสถาบันการอาชีวศึกษาแต่ละแห่งไปดูในเรื่องการให้เกรดด้วยแม้จะมีการระบุว่าผลการเรียนที่ออกมาเป็นไปตามมาตรฐาน เพราะหากเป็นเช่นนี้แล้วจะไม่เป็นผลดีต่อสถาบันการอาชีวศึกษาอย่างแน่นอน และหากมีการประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอกในปี 2559 จากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ตนเชื่อว่าอนาคตค่อนข้างจะเหนื่อยและอาจไม่ผ่านการประเมินได้ ซึ่งเรื่องของการให้เกรดนี้ถือว่ามีความสำคัญมากๆ ที่จะต้องให้ความสำคัญและให้มีมาตรฐาน
       
       “สำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ สอศ.จะไปดูหลักเกณฑ์การให้เกียรตินิยมเพื่อให้มีมาตรฐานโดยอาจจะต้องยึดแนวทางของมหาวิทยาลัยรัฐและมหาวิทยาลัยทั่วไป เช่น ผู้ที่ได้ผลการเรียนรายวิชาไม่ผ่านหรือได้ผลการเรียนระดับ C ลงมาจะไม่ได้เกียรตินิยมรวมทั้งผู้ที่ลงเรียนในภาคฤดูร้อนด้วย”เลขาธิการ กอศ.กล่าว
       
       นายพฒศ์ศิวพิศ โนรี ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคสุราษฎราชธานี ทำหน้าที่ผู้อำนวยการสถาบันการอาชีวศึกษา ภาคใต้ กล่าวว่าสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้เปิดสอนระดับปริญญาตรีมาตั้งแต่ปีการศึกษาที่ผ่านมาโดยมีนักศึกษาประมาณ 69 คน ในสาขาเทคโนโลยียานยนต์ เทคโนโลยีไฟฟ้า เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโลยียางและโพลิเมอร์ ซึ่งจากการตรวจสอบผลการเรียนของนักศึกษามีความหลากหลายมีผลการเรียนเฉลี่ยตั้งแต่ 2.5 ไปจนถึง 3 กว่า และการตัดเกรดของอาจารย์ผู้สอนประจำรายวิชาไม่ได้มีการให้เกรด เอ และ บี แต่มีทุกเกรด ซึ่งการวัดและประเมินผลของสถาบันฯจะต้องเป็นไปตามมาตรฐานของสถานศึกษาที่มีคุณภาพเพราะแต่ละปีการศึกษารับนักศึกษาเข้าเรียนอย่างจำกัดไม่ได้เน้นปริมาณไม่ได้ทำเป็นธุรกิจการศึกษา
       
       “ เป็นไปได้ว่ารายวิชาที่นักศึกษาได้เกรด เอ และบี เยอะน่าจะเป็นวิชาฝึกปฏิบัติงาน เนื่องจากเด็กที่มาเรียนจะจบปวส.มาก่อนและจะมีความเชี่ยวชาญในการฝึกปฏิบัติงาน ” นายพฒศ์ศิวพิศ กล่าว
       
       นายบุญส่ง จำปาโพธิ์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยอาชีวศึกษา(วอศ.)นครราชสีมา ในฐานะประธานกรรมการดำเนินงานผู้ประสานงานสถาบันการอาชีวศึกษา กล่าวว่าวอศ.นครราชสีมาอยู่ในกลุ่มสถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 จะเปิดรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีรุ่นแรกในภาคเรียนที่ 1ปีการศึกษา 2557 หากดูการวัดผลประเมินจะมีเกณฑ์ที่กำหนดไว้คะแนนจะแยกเป็นภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติมาตัดเกรด อาจเป็นไปได้ว่านักศึกษาที่เรียนจะได้เกรดเอกันมาก แต่จะให้ได้เอทุกคนคงไม่ได้ ทั้งนี้ส่วนตัวคิดว่าต้องมีคณะกรรมการควบคุมประจำหลักสูตรที่จะมาควบคุมดธแลการเรียนการสอน การวัดและประเมินผลด้วย ส่วนการให้เกียรตินิยมนักศึกษาจะมีระเบียบศธ.ว่าด้วยการจัดการศึกษาและการประเมินผลระดับปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ พ.ศ.2556
       
       ผู้สื่อข่าวรายงานว่าปัจจุบันมีนักศึกษาที่เข้าเรียนในสถาบันการอาชีวศึกษาในระดับปริญญาตรีจำนวน 684 คน ใน 38 วิทยาลัยและในปีการศึกษา 2557 สอศ.ตั้งเป้ารับนักศึกษาเพิ่มประมาณ 2,600 คน
 
 
  • 25 ก.พ. 2557 เวลา 13:34 น.
  • 2,303

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

ความคิดเห็นเกี่ยวกับ : ห่วง ป.ตรีสายปฏิบัติการอาชีวะได้เกรดเฟ้อ เร่งทำเกณฑ์เกียรตินิยม

เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^