LASTEST NEWS

20 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 20 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครสวรรค์ - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครสวรรค์ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 2 (รอบที่ 1) สพป.นราธิวาส เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.นราธิวาส เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.น่าน เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.น่าน เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครพนม - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครพนม 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.ราชบุรี เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ราชบุรี เขต 2 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 2) สพป.ขอนแก่น เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ขอนแก่น เขต 3

สัญญาณอันตราย...การศึกษาไทยท็อปบ๊วยอาเซียน

  • 01 ม.ค. 2557 เวลา 22:04 น.
  • 2,258
สัญญาณอันตราย...การศึกษาไทยท็อปบ๊วยอาเซียน

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

สัญญาณอันตราย...การศึกษาไทยท็อปบ๊วยอาเซียน
 
เป็นกระแสฮือฮาที่สามารถสร้างความตระหนักให้แก่วงการศึกษาไทยได้มากสำหรับปี 2556 ที่เพิ่งผ่านพ้นไป กับข่าวการเปิดเผยข้อมูลการประชุม World Economic Forum (WEF) - The Global Cometitiveness Report 2012-2013 ซึ่งเป็นการประชุม “เวทีเศรษฐกิจโลก” ที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยปีนี้ได้มีการเปิดข้อมูลการจัดอันดับคุณภาพการศึกษาของประเทศในกลุ่มอาเซียน ที่ระบุว่า อันดับ 1 ได้แก่ สิงคโปร์ อันดับ 2 มาเลเซีย อันดับ 3 บรูไน ดารุสซาลาม อันดับ 4 ฟิลิปปินส์ อันดับ 5 อินโดนีเซีย อันดับ 6 กัมพูชา อันดับ 7 เวียดนาม และอันดับ 8 ไทย นั่นหมายความว่า วันนี้ประเทศไทยอยู่ในอันดับรั้งท้ายแล้วหรือ
 
นับว่าเป็นอีกกระแสหนึ่งที่ช่วยปลุกให้คนไทยหันมาสนใจกับเรื่อง คุณภาพการศึกษา คุณภาพเด็กไทย และคุณภาพคนไทยในอนาคตได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งขณะนี้ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เราจะต้องเร่งเตรียมความพร้อมให้แก่คนในประเทศเพื่อพร้อมรับมือกับการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในอีก 2 ปีข้างหน้า ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อวันนั้นมาถึงการแข่งขันอย่างรุนแรงจะต้องเกิดขึ้น ไม่เพียงแต่คนในประเทศที่จะต้องแข่งขันกันเอง แต่จะมีเพื่อนจากประเทศต่าง ๆ เข้ามาร่วมแข่งขันซึ่งจะเป็นการแข่งขันในทุก ๆ ด้าน โดยเฉพาะเรื่องของการจ้างงานที่การแข่งขันสูงแน่นอน คนไทยมีสิทธิถูกแย่งงาน เพราะฉะนั้นการยกระดับพัฒนาคุณภาพคนไทยจึงเป็นเรื่องสำคัญ เพื่อสร้างโอกาสในการทำงานหรือเพื่อการมีงานทำ
 
ถือว่าเป็นจังหวะและโอกาสที่เรื่อง การปฏิรูปการศึกษา ถูกหยิบยกขึ้นมาอีกครั้ง ซึ่งคงไม่ใช่การทำตามกระแสแต่เป็นความจำเป็น เพราะที่ผ่านมาไม่ว่ารัฐบาลใดก็ตามที่เข้ามาบริหารประเทศ เรื่องการปฏิรูปการศึกษาจะถูกพูดถึงและถูกยกให้เป็นนโยบายสำคัญ โดยมีเป้าหมายที่คนไทยได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพซึ่งจะส่งผลถึงคุณภาพของคนไทย “เด็กไทยต้องคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาได้” จนกลายเป็นคำพูดติดปากถึงความเป็นเด็กไทยที่พึงประสงค์ หรือคนไทยในอนาคต เพราะคุณภาพของคนต้องเกิดขึ้นด้วยคุณภาพการศึกษา จึงหลีกไม่พ้นที่จะต้องมีการปฏิรูปการศึกษา
 
การปฏิรูปการศึกษาเริ่มต้นมาตั้งแต่มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 โดยมีการดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่อง แต่ต้องยอมรับว่านับแต่การปฏิรูปการศึกษาเมื่อปี 2542 มาถึงวันนี้ต้องถือว่าล้มเหลว เวลาผ่านมาร่วม 14 ปี ยังไปไม่ถึงโรงเรียน เพราะมัวแต่สาละวนอยู่กับเรื่องการปรับโครงสร้างกระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงาน ระบบการบริหารจัดการ การจัดระเบียบต่าง ๆ รวมถึงการกระจายอำนาจจากส่วนกลางให้พื้นที่ดำเนินการเอง แต่ในทางปฏิบัติกลับไม่สามารถทำได้ตามเป้าหมาย ทำให้ต้องตามแก้ปัญหาที่เกิดจากการปรับโครงสร้างทั้งเรื่องการกระจายอำนาจ การจัดคนลงตำแหน่ง จนลืมให้ความสำคัญกับจุดหมายหลักของการปฏิรูปการศึกษานั่นคือ คุณภาพของคน
 
เรื่องการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ของเด็กไทยก็เป็นปัญหาสำคัญที่คนจำนวนไม่น้อยเชื่อว่า มีส่วนเป็นจุดตั้งต้นของปัญหาคุณภาพเด็กไทย ซึ่งล่าสุดจากการรายงานความก้าวหน้าการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบายปฏิรูปการศึกษา เรื่องการปฏิรูปการเรียนการสอน การเร่งรัดคุณภาพการอ่านรู้เรื่องสื่อสารได้ โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้รายงาน ผลการสแกนนักเรียนชั้น ป.3 และ ป.6 โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม พบว่า กลุ่มที่ 1 นักเรียนอ่านไม่ได้มีทั้งสิ้น 45,929 คน แบ่งเป็นนักเรียน ป.3 จำนวน 33,084 คน คิดเป็น 6.43% และ ป.6 จำนวน 12 ,845 คน คิดเป็น 2.51% กลุ่มที่ 2 นักเรียนที่อ่านได้และเข้าใจเรื่องบ้าง มีทั้งสิ้น 365,420 คน แบ่งเป็น ป.3 จำนวน 184,598 คน คิดเป็น 35.89% และ ป.6 จำนวน 180,822 คน คิดเป็น 35.40% และกลุ่มที่ 3 นักเรียนที่อ่านได้และเข้าใจเรื่องดี ซึ่งแต่ละระดับชั้นจะมีมากกว่า 50%
 
ว่ากันว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นผลมาจากการปรับเปลี่ยนหลักสูตรและวิธีการสอน หนักกว่านั้นเรื่องเก่าบางเรื่องที่เป็นคุณลักษณะเฉพาะของคนไทยถูกมองว่าเป็นเรื่องคร่ำครึ คือ การสอนให้เด็กอ่านเขียนภาษาไทยในระดับชั้น ป.1-2 ถูกแปรเปลี่ยน ไม่สอนแบบแจกลูกและสะกดคำ พอเรื่องนี้หายไปเด็กก็อ่านไม่ออก ทำให้เรียนวิชาอื่นไม่ได้ เวลามีการทดสอบต่าง ๆ ก็ทำคะแนนได้ไม่ดี เพราะอ่านไม่ออก ตีความไม่แตก ทำให้คิดอะไรไม่เป็น ก็ทำให้ตกต่ำกันทั้งระบบ แต่เรื่องนี้จะโทษครูอย่างเดียวก็ไม่ได้ เพราะส่วนหนึ่งเป็นผลพวงมาจากการปฏิรูปการศึกษาที่ผ่านมาที่ทำให้ครูมีภาระงานมากขึ้น
 
เรื่องของการอาชีวศึกษา เป็นเรื่องที่ถูกหยิบยกขึ้นมาให้ความสำคัญที่ต้องเร่งปฏิรูป เพื่อขับเคลื่อนให้การอาชีวศึกษาผลิตกำลังคนระดับช่างฝีมือป้อนตลาดแรงงานทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะในขณะที่กำลังจะเปิดประตูประชาคมอาเซียนในปี 2558 ซึ่งแรงงานช่างฝีมือถือเป็นกลุ่มบุคลากรที่เป็นที่ต้องการมากที่สุดแต่ก็ขาดแคลนที่สุด ซึ่งนายจาตุรนต์ ฉายแสง รมว.ศึกษาธิการ ดูเหมือนจะเน้นย้ำกับการอาชีวศึกษาเป็นพิเศษ โดยพยายามขับเคลื่อนให้มีการปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอนสายอาชีวศึกษาให้มีความทันสมัย ตรงกับความต้องการของตลาด รวมถึงให้มีการเพิ่มสัดส่วนผู้เรียนอาชีวศึกษาต่อสามัญศึกษาให้ได้ 51 ต่อ 49 ภายในปี 2558 จากปัจจุบันที่อยู่ที่ 36 ต่อ 64 ในขณะที่แนวโน้มผู้เรียนสายอาชีพลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ท้าทายอย่างมากที่หน่วยงานหลักด้านการอาชีวศึกษาอย่างสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ต้องรับบทหนักในการสร้างแรงจูงใจโดยใช้กระบวนการแนะแนวเพื่อเดินไปให้ถึงเป้าหมายให้ได้
 
ส่วนของอุดมศึกษาในปีที่ผ่านมาจะเน้นคุณภาพของการจัดการศึกษาเป็นหลัก ซึ่งส่วนหนึ่งเพื่อเป็นการแก้ปัญหาอันเนื่องมาจากการซื้อขายใบประกาศนียบัตรวิชาชีพครู หรือ ป.บัณฑิต ผ่านระบบการจัดการศึกษานอกสถานที่ตั้ง และการซื้อขายวุฒิการศึกษาผ่านทางเว็บไซต์โดยไม่เกรงกลัวกฎหมาย และจากที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) พยายามจะควบคุมคุณภาพการศึกษา ทำให้เกิดสิ่งที่น่าห่วงและต้องจับตาดูกับสถาบันอุดมศึกษาบางแห่งพยายามเลี่ยงไปจัดการศึกษาทางไกลแทนการจัดการศึกษานอกสถานที่ตั้ง เพื่อหากำไร ซึ่ง สกอ.ก็พยายามปิดช่องด้วยการออกเกณฑ์การประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาระบบการศึกษาทางไกลที่เข้มขึ้น นอกจากนี้ยังมีเรื่องการเตรียมตัวเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนที่ดูเหมือนว่าทางอุดมศึกษาจะตื่นตัวระดับหนึ่งที่มีการเตรียมความพร้อมเรื่องการให้ความรู้เกี่ยวกับอาเซียน การจัดหลักสูตรการเรียนการสอน การแลกเปลี่ยนนิสิตนักศึกษาในกลุ่มอาเซียน และเตรียมบัณฑิตออกไปทำงานในกลุ่มอาเซียนด้วย
 
อย่างที่บอกว่าทุกรัฐบาลที่เข้ามาแรก ๆ จะเน้นย้ำว่าให้ความสำคัญกับการศึกษา จะมีการปฏิรูปการศึกษาเพื่อพัฒนาคน เรียกว่าท่องกันเป็นคาถามหานิยม คนฟังก็เคลิ้มไปตาม ๆ กัน แต่เอาเข้าจริงก็เป็นอย่างที่เห็น ๆ กัน เปลี่ยนรัฐบาลทีนโยบายก็เปลี่ยน ถึงแม้ไม่เปลี่ยนรัฐบาล เปลี่ยนแค่ตัวรัฐมนตรีนโยบายก็เปลี่ยน แม้จะมาจากพรรคเดียวกันก็ยังต้องเริ่มต้นกันใหม่ ทำให้ขาดความต่อเนื่องในทางปฏิบัติ
 
รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการคนล่าสุด นายจาตุรนต์ ฉายแสง ได้ประกาศ 8 นโยบายการศึกษา โดยมีเป้าหมายที่การมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้สามารถคิด วิเคราะห์ เรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ และทักษะที่จำเป็นสำหรับศตวรรษที่ 21 โดยภายในปี 2558 ให้ผลการจัดอันดับการศึกษาของไทย ผลการทดสอบการประเมินนักเรียนนานาชาติ(PISA)อยู่ในอันดับที่ดีขึ้น ให้สัดส่วนผู้เรียนอาชีวศึกษาต่อสามัญศึกษา ให้มหาวิทยาลัยไทยติดอันดับโลกมากขึ้น และให้มีการกระจายโอกาสและเพิ่มความเสมอภาคมากขึ้น เป็นการปฏิรูปทั้งระบบ โดยมุ่งไปที่การสร้างคนที่เน้นคุณภาพ คุณภาพ และคุณภาพ โดยเริ่มจากการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ต้องหมดไปภายในปี 2557
 
ก็ไม่ทราบว่าที่มีการประกาศนโยบายการศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียนนั้นจะต้องใช้เวลาเท่าไหร่ และสุดท้ายผลของการปฏิรูปจะเกิดกับใคร ผู้เรียนจะมีคุณภาพจริงหรือไม่ ถ้าสำเร็จก็ดีไปแต่ถ้าล้มเหลวใครจะตกเป็นจำเลยรายต่อไป หนังเรื่องนี้อีกยาวไม่มีจบง่ายแน่นอน ที่สำคัญที่สุดวันนี้สถานการณ์ทางการเมืองก็กำลังมีการเปลี่ยนแปลง มีแววว่าทิศทางการศึกษาไทยคงต้องรอฟังนโยบายใหม่อีกแล้ว.
 
ทีมข่าวการศึกษา
 
 
  • 01 ม.ค. 2557 เวลา 22:04 น.
  • 2,258

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

ความคิดเห็นเกี่ยวกับ : สัญญาณอันตราย...การศึกษาไทยท็อปบ๊วยอาเซียน

เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^