LASTEST NEWS

25 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 25 เม.ย. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 25 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 25 เม.ย. 2567สพป.เพชรบูรณ์ เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.เพชรบูรณ์ เขต 2 25 เม.ย. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.บุรีรัมย์ เขต 2 25 เม.ย. 2567สพม.สุราษฎร์ธานี ชุมพร ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.สุราษฎร์ธานี ชุมพร 25 เม.ย. 2567สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 1 25 เม.ย. 2567สพป.ยะลา เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ยะลา เขต 1 25 เม.ย. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 7 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.นครราชสีมา เขต 7 25 เม.ย. 2567สพป.นนทบุรี เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.นนทบุรี เขต 1

'ครู' เปลี่ยนโลก

  • 14 ต.ค. 2556 เวลา 09:11 น.
  • 2,172
'ครู' เปลี่ยนโลก

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

'ครู' เปลี่ยนโลก
ขอบคุณข้อมูลจาก กรุงเทพธุรกิจ

หลายครั้งที่เสียงสะท้อนจากคนในทุกภาคส่วนทั้งแวดวงการศึกษา ผู้จ้างงาน ผู้ปกครอง หรือแม้แต่ผู้เรียนเองว่า ถึงเวลาที่ประเทศไทยต้องปฏิรูปมาตรฐานการศึกษาของไทยอย่างจริงจัง โดยเริ่มต้นจาก "ผู้สอน" ก่อนเป็นลำดับแรก การเปิดมุมมองจากผู้รู้นักปฏิบัติที่ "คิด" และ "ลงมือทำ" จากทั้ง 3 ประเทศ ฟินแลนด์ สหรัฐอเมริกา และ ฮ่องกง ก็ทำให้ได้เห็นว่า ทุกอย่างสามารถผลักดันให้เกิดขึ้นได้จริง ขอเพียงเริ่มต้น และทำอย่างเป็นระบบ "เราควรสร้างแรงบันดาลใจในการเรียนการสอนให้ทั้งครู และนักเรียน ให้ความเท่าเทียมกันทางการศึกษาอย่างมากที่สุด ความร่วมมือเป็นสิ่งสำคัญกว่าการแข่งขัน และให้เวลาเด็กในการเล่น เพื่อส่งเสริมจินตนาการและสร้างสังคมการเรียนรู้" กล่าวโดย ดร.พาสี ซาลเบิร์ก อธิบดีกรมพัฒนาความสัมพันธ์และความร่วมมือทางการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการและวัฒนธรรมฟินแลนด์

          "รูปแบบการเรียนรู้เพื่อธุรกิจรูปแบบเก่าๆ ไม่สามารถใช้ได้อีกต่อไป เพราะในอดีตเราเตรียมคนเพื่องาน แต่ปัจจุบันเมื่อสังคมมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ จึงต้องปรับเด็กของเรา ให้เรียนรู้เพื่อนำไปใช้ได้จริง และยอมรับกับการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นเราจึงต้องใส่ใจในเรื่องของการวิจัยเพื่อปรับเปลี่ยนเรื่องการเรียนรู้ ศึกษาหาความหมายของมันให้ได้ และเรียนรู้จากการกระทำ กิจกรรม และประสบการณ์จากการเรียนรู้"คำกล่าวจาก ศาสตราจารย์ ไค มิง เชง ศาสตราจารย์เกียรติยศด้านคุรุศึกษาแห่งมหาวิทยาลัยฮ่องกง

          "ครู ต้องมีกลยุทธ์ในการสอน และต้องไม่เน้นเนื้อหาเพียงวิชาใดวิชาหนึ่ง ต้องเรียนรู้เนื้อหาให้ได้ทุกๆ วิชา นอกจากนี้ยังต้องคอยสังเกตภายนอกห้องเรียนอยู่เสมอด้วย เพื่อไว้ปรับเปลี่ยนการสอน ไม่ให้เด็กรู้สึกเบี่อ และไม่สนใจเรียน" กล่าวโดย ศาสตราจารย์ ดร. ชารอน ฟีแมน - เนมเซอร์ ศาสตราจารย์ แมนเดล ด้านศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแบรนดีส์ จากประเทศสหรัฐอเมริกา กล่าวและว่า ครูต้องมีโมเดล เพื่อให้นักเรียนอยากเรียนรู้ มีแนวทางในการสอนที่ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา เพื่อการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง

          3 ผู้รู้ด้านการศึกษาทำให้เห็นแล้วว่า การศึกษาไทยเปลี่ยนได้ด้วย "ครู"
          ในส่วนของประเทศไทย พบว่า สองกรณีศึกษาจาก "ชัชวาลย์ สหัสสพาศน์" และ "นิตยดา อ้อเอก" เป็นตัวอย่างให้เห็นว่ากระบวนการเรียนรู้ที่ "ผู้รับ" ได้ทั้งความรู้ และเกิดทักษะในเชิงปฏิบัติก็เกิดขึ้นได้จริงจากความตั้งใจ
          การนำ "ดนตรีไทย" มาพัฒนาศักยภาพเด็กที่บกพร่องทางสติปัญญาของ "นิตยดา อ้อเอก" ครูผู้ได้รับ "ทุนครูสอนดี" จาก "โครงการสังคมไทยร่วมกันคืนครูดีให้ศิษย์ เชิดชู ยกย่อง ครูสอนดี" โดย สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน(สสค.) ได้จัดทำ "สื่อสารพัฒนาการเรียนรู้ดนตรีไทย" ให้กับน้องๆ ที่บกพร่องทางสติปัญญา ให้สามารถบรรเลงและขับร้องดนตรีไทย  เนื่องจากเด็กที่บกพร่องด้านสติปัญญามีการรับรู้ที่ช้า จึงทำให้เมื่อ 20 ปีที่แล้ว ครูนิตยดา คิดที่จะนำดนตรีไทยมาใช้เป็นกิจกรรมดนตรีบำบัด เพราะเสียงดนตรีอันไพเราะจากเครื่องดนตรีไทยชนิดต่างๆ จะช่วยดึงดูดเด็กที่มีความสนใจให้เข้ามาหา โดยวงดนตรีไทยของโรงเรียนนครราชสีมาปัญญานุกูล ประกอบไปด้วยเครื่องดนตรีต่างๆ อาทิ ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ฯลฯ โดยเด็กแต่ละคนจะเลือกเล่นเครื่องดนตรีที่ตัวเองสนใจได้ตามชอบ ซึ่งเด็กๆ ทุกคนจะได้เรียนดนตรีไทยทุกวันๆ ละ 1 ชั่วโมงหลังเลิกเรียน
          "เทคนิคในการสอนง่ายๆ เริ่มต้นที่ทำให้เด็กรักเราก่อน" ครูนิตยดาเผยถึงเทคนิคในการสอน เพราะ ถ้าเด็กรักเราแล้วเรียกก็ง่าย แต่ถ้าเด็กไม่รักแล้วเรียกอย่างไรก็ไม่มา
          แต่ด้วยเด็กๆ กลุ่มนี้จะมีการรับรู้ที่ช้ากว่าเมื่อเทียบกับเด็กปกติ รูปแบบการสอนเด็กกลุ่มนี้ก็ต้องมีความแตกต่างกันไป ครูนิตยดา บอกว่า ที่ผ่านมาต้องสอนแบบสอนซ้ำ ย้ำ ทวน สอนประมาณ 700-800 รอบถึงจะเล่นได้แต่ละเพลง และต้องทวนทุกวัน เพราะว่าถ้าไม่ได้ทวน สองสามวันก็จะลืม ต้องมาทบทวนใหม่ตั้งแต่ต้น ซึ่งก็ทำให้ต้องประสบปัญหาเครื่องดนตรีพังไปนับไม่ถ้วน
          ทางออกก็คือ การออกแบบ "เครื่องดนตรีจำลอง" ที่สร้างขึ้นจากไม้อัด เช่น "ขิมไม้อัด" รวมไปถึงการใช้ "กระดาษเทา-ขาว" มาวาดขึ้นเป็นเครื่องดนตรีชนิดต่างๆ เพื่อให้เด็กๆ ได้ฝึกหัดตีตามจังหวะและหัดท่องจำตัวโน๊ต และหาเครื่องดนตรีทดแทน "ขิมสาย" โดยเปลี่ยนเป็น "ขิมเหล็ก" มาใช้แทน
          ที่สำคัญก็คือ จะต้องให้กำลังใจเด็กๆ ต้องใจเย็น และมีคำชมมอบให้  ผลจากการสอนโดยใช้ดนตรีบำบัดพบว่า กลุ่มเด็กที่บกพร่องทางสติปัญญามีสมาธิและนั่งนิ่งเหมือนเด็กปกติ จนคนดูแทบไม่รู้ว่าเป็นเด็กพิเศษ
          "ความภาคภูมิใจของครู คือเด็กที่มีความบกพร่องทางด้านสติปัญญาก็สามารถเล่นดนตรีไทยได้ ซึ่งนับว่ามีน้อยมากหรือจะพูดได้ง่ายๆ ว่าเป็นโรงเดียวของประเทศไทย ตรงนี้ทำให้ครูภาคภูมิใจมาก" ครูนิตยดา กล่าวอย่างภาคภูมิใจ นอกจากนำดนตรีบำบัดเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการสอนแล้ว "ชัชวาลย์ สหัสสพาศน์" อดีตครูสอนกวดวิชาศิลปะก็นำศาสตร์ทางด้านศิลปะมาสนับสนุนการสอนของเขาเช่นกัน โครงการต่อยอดปูนปั้นโบราณสู่งานศิลปะร่วมสมัย" เป็นหนึ่งในหลายๆ กิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุนจาก "โครงการยกระดับการพัฒนาการเรียนรู้จังหวัดเพชรบุรี" ก็เปิดโอกาสให้เด็กๆ กว่า 20 คนเข้าร่วมเรียนรู้วิธีการเขียนลายไทยเบื้องต้น งานศิลปะปูนปั้น ศึกษาวัตถุดิบและวิถีชีวิตของช่างท้องถิ่น พร้อมร่วมสืบสานและถ่ายทอดงานศิลป์สกุลช่างเมืองเพชรออกไปสู่สาธารณชน
          "ครูชัชวาล" บอก ศิลปะทุกแขนงสามารถที่จะปลูกฝังจิตสำนึกที่ดีให้แก่เยาวชนได้ ในส่วนของบ้านศิลปะเอเชียปูนปั้น เด็กๆ จะได้เรียนรู้เรื่องของงานปูนปั้น สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นรูปธรรมอย่างแรกจากการทำงานก็คือ "พื้นที่สร้างสรรค์" เป็นพื้นที่ให้เด็กได้มาเรียนรู้และอยู่อย่างปลอดภัย  และสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นนามธรรมต่อมา คือพัฒนาการด้าน "จิตใจ"
          "ในระหว่างการฝึกการปั้นปูน เด็กๆ มีความตั้งใจ เมื่อตั้งใจก็จะเกิดสมาธิ และพร้อมที่จะรับฟังคำสั่งสอนหรือชี้แนะในเรื่องต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ระหว่างนี้ก็จะใช้โอกาสสอดแทรกคำแนะนำหรือข้อคิดในการดำเนินชีวิตผ่านงานศิลปะที่เด็กๆ กำลังสนุกและจดจ่อกับงานที่ตนเองทำ"
          จาก 3 มุมมองกูรูด้านการศึกษา และ กรณีศึกษา เป็นหนึ่งในภาพสะท้อนการศึกษาไทยทั้งระบบว่า "เปลี่ยน" ได้หากเริ่มต้นที่ "ครู"

          "รูปแบบการเรียนรู้เพือธุรกิจรูปแบบเก่าๆ ไม่สามารถใช้ได้อีกต่อไป เพราะในอดีตเราเตรียมคนเพืองาน แต่ปัจจุบันเมือสังคมมีการเปลียนแปลงอยู่เสมอ จึงต้องปรับเด็กของเรา ให้เรียนรู้เพือนำไปใช้ได้จริง"

ที่มาของข่าว : เว็บไซต์กระทรวงศึกษาธิการ วันที่ 14 ตุลาคม 2556
  • 14 ต.ค. 2556 เวลา 09:11 น.
  • 2,172

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

ความคิดเห็นเกี่ยวกับ : 'ครู' เปลี่ยนโลก

เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^