LASTEST NEWS

19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.พิษณุโลก อุตรดิตถ์ - ผลย้ายครู 2567 สพม.พิษณุโลก อุตรดิตถ์ 18 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 18 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 18 เม.ย. 2567(( ประกาศแล้ว )) รายชื่อผู้สอบผ่าน ภาค ก และ ข การสอบบรรจุรับราชการครูฯ ตำแหน่งบุคลากร 38 ค.(2) สังกัดสพฐ. ปีพ.ศ.2567 เช็กผลสอบ 38 ค. สพฐ. ได้ที่นี่ 18 เม.ย. 2567อย่างเป็นทางการ! กำหนดสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป สังกัดสพฐ. ปี พ.ศ.2567 ประกาศรับสมัครภายใน 1 พ.ค. 2567 - รับสมัคร 8-14 พ.ค.2567 18 เม.ย. 2567กรุงเทพมหานคร เปิดสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ (ทุนเอราวัณ) 84 อัตรา สมัคร 1 พฤษภาคม 2567 - 14 มิถุนายน 2567 18 เม.ย. 2567อย่างเป็นทางการ !! กทม.เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 592 อัตรา (สำรอง 125 อัตรา) - รายงานตัว 29-30 เม.ย.2567 18 เม.ย. 2567สพป.ยโสธร เขต 1 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 18 เม.ย. 2567สพป.อุดรธานี เขต 2 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 18 เม.ย. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 4 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 

ท้วง สพฐ.ร่างหลักสูตรการศึกษาพื้นฐาน เหตุใดไม่มีวิชานาฏศิลป์

  • 13 ต.ค. 2556 เวลา 22:56 น.
  • 2,936
ท้วง สพฐ.ร่างหลักสูตรการศึกษาพื้นฐาน เหตุใดไม่มีวิชานาฏศิลป์

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

ท้วง สพฐ.ร่างหลักสูตรการศึกษาพื้นฐาน เหตุใดไม่มีวิชานาฏศิลป์

ครูนาฏศิลป์รวมตัวยื่นหนังสือชี้แจง รมว.ศธ.ปลายเดือนนี้ เตือนเด็กไทยรู้จักแต่วัฒนธรรมเกาหลี-ญี่ปุ่น

      ผศ.ดร.รวิวรรณ วรรณวิไชย คณบดีคณะศิปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) เปิดเผย ภายหลังการจัดเสวนาระดมความคิดเรื่อง ร่างหลักสูตรการศึกษาพื้นฐานฉบับใหม่... เหตุใดการศึกษาไทย จึงไร้รายวิชานาฏศิลป์ ว่า ในการเสวนาได้เชิญสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) มาชี้แจงว่าเพราะเหตุใด ร่างหลักสูตรเฉพาะดังกล่าวถึงไม่มีวิชานาฏศิลป์ ได้รับการชี้แจงว่า จากปัญหาคุณภาพการศึกษาไทยตกต่ำ โดยส่วนหนึ่งพิจารณาจากคะแนนโครงการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ (Programme for International Student Assessment : PISA) เป็นโครงการประเมินผลการศึกษาของประเทศสมาชิกองค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ ซึ่งเด็กไทยมีความสามารถด้านการอ่าน วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ อยู่ในอันดับ 50 จาก 65 ประเทศทั่วโลก  

     ทาง สพฐ.จึงมีความพยายามที่จะยกระดับให้เด็กไทยมีคะแนนใน 3 ด้านดีขึ้น เพื่อให้การศึกษาไทยพัฒนาขึ้นสู่อันดับที่ดีขึ้นกว่าเดิม โดยแต่เดิมมีกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ สพฐ.กำหนดให้เด็กไทยเรียนมี 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ดังนี้ ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศาสนาและวัฒนธรรม สุขศึกษาและพละศึกษา ศิลปะ การงานอาซีพและเทคโนโลยีและภาษาต่างประเทศ

     โดยในร่างหลักสูตรการศึกษาพื้นฐานฉบับใหม่ ลดเหลือ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ คือ ภาษาและวัฒนธรรม วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและคณิตศาสตร์ การดำรงชีวิตและโลกของงาน ทักษะสื่อสารและการสื่อสาร สังคมและความเป็นมนุษย์ และอาเซียนภูมิภาคและโลก โดยระบุว่า วิชานาฏศิลป์ จัดเข้าไปอยู่ในกลุ่มสังคมและความเป็นมนุษย์เหมือนวิชาศิลปะ แต่เมื่อดูในเนื้อหาหลักสูตรพบว่า ไม่มีวิชานาฏศิลป์ กลุ่มอาจารย์ทางด้านนาฏศิลป์ จากจุฬาฯ มศว และวิทยาลัยนาฏศิลป์ทั่วประเทศ จึงรวมกลุ่มกันและ ขอตั้งคำถามกับ สพฐ. ว่าเด็กอ่อนการอ่าน วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์  ทำไมจึงไม่ไปแก้ปัญหาให้ถูกจุด และมันไปเกี่ยวข้องอะไรกับการตัดรายวิชานาฏศิลป์ออกจากหลักสูตรพื้นฐาน ซึ่งมีพื้นที่ตารางสอนในโรงเรียนเพียงแค่ 0.5 หน่วยกิตเท่านั้น

     "วิชานาฏศิลป์ ถือเป็นวิชาที่รักษาวัฒนธรรมของประเทศ ไม่มีประเทศไทยที่เจริญเขาตัดรายวิชานาฏศิลป์ของชาติออกไปเหมือนเช่นประเทศไทย อย่างประเทศจีน ญี่ปุ่น เกาหลี วิชานาฏศิลป์เสริมสร้างให้ประเทศเขาเข้มแข็ง และสร้างความเสมอภาคขึ้นในสังคมผ่านนาฏศิลป์และศิลปวัฒนธรรมประจำชาติ เขาทำให้เยาชนเข้าใจรากเหง้าของตัวเอง ก่อนจะเติบโตไปสู่การพัฒนาด้านอื่นๆ ที่มีความทันสมัยต่อไป มีแต่ประเทศไทยที่ตัดวิชานาฏศิลป์ทิ้ง คนร่างหลักสูตร มีความรู้ความเข้าใจในประเด็นเหล่านี้มากแค่ไหน อีกทั้งในแต่ละสถาบันอุดมศึกษาและวิทยาลัยนาฏศิลป์ก็ยังมีผู้สืบทอดงานด้านนาฏศิลป์อีกเป็นหมื่นๆ ชีวิต แล้วเขาจะทำอย่างไร การรักษาวิชานาฏศิลป์ให้คงอยู่ถือเป็นการรักษาวัฒนธรรมประเทศชาติ และผู้สืบทอดงานด้านนาฏศิลป์ก็เปรียบเสมือนทหารด้านวัฒนธรรม

     ตอนนี้กลุ่มคณาจารย์ นิสิต นักศึกษาด้านศิลปกรรมที่เกี่ยวข้องกับงานด้านนาฏศิลป์ รวมตัวกันยื่นหนังสือและขอเข้าพบ รมว.ศึกษาธิการ ปลายเดือน ต.ค.56 นี้ เพื่อให้ข้อมูลและอธิบายความสำคัญของการเรียนวิชานาฏศิลป์ในโรงเรียน ให้ท่านทราบ ทั้งนี้อยากถามผู้ที่เกี่ยวข้องกับการทำร่างหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ว่าจะแน่ใจได้อย่างไรว่าเมื่อตัดวิชานาฏศิลป์ออกไปแล้ว ผลคะแนน PISA ของเด็กไทยจะสูงขึ้น และถ้าวันหนึ่งผลคะแนน PISA  ของประเทศไทยสูงเยี่ยมติดอันดับ 1 แต่ประเทศไร้วัฒนธรรมประจำชาติ เราจะภาคภูมิใจกันไหม" ผศ.ดร.รวิวรรณ กล่าว  

     ด้าน ด.ญ.เจนจิรา กิ่งโคกกรวด นักเรียนชั้น ม.3 โรงเรียนบ้านทุ่งคาโตนด จ.ชุมพร กล่าวว่า ทุกวันนี้ตัวเองเรียนวิชานาฏศิลป์ สัปดาห์ละ 2 วัน และใช้เวลาพักกลางวันไปฝึกซ้อมนาฏศิลป์ไทยทุกวัน ทำให้ได้เป็นตัวแทนรำในงานต่างๆ ตลอดถึงเข้าร่วมการแข่งขันประกวดนาฏศิลป์ในระดับจังหวัดด้วย ซึ่งการเรียนนาฏศิลป์ทำให้เราเห็นความงดงามของท่วงท่ารำ ความอ้อนช้อย ทำให้เห็นความงดงามของวัฒนธรรมไทยผ่านงานด้านนาฏศิลป์ หาก สพฐ.จะตัดวิชาออกจากหลักสูตรก็น่าเสียดายที่ไม่เข้าใจ

     "หากไม่มีวิชานาฏศิลป์ ยิ่งทำให้เยาวชนไทยห่างจากวัฒนธรรมของชาติมากขึ้นๆ และเยาวชนไทยก็จะรู้จักแต่วัฒนธรรมเกาหลี ญี่ปุ่น สุดท้ายความเป็นชาติไทยก็จะค่อยๆ หมดไป ความรัก หวงแหน และซึมซับวัฒนธรรมไทยก็จะหมดไปเช่นกัน อยากฝากให้ สพฐ.ทบทวนในเรื่องนี้อีกครั้ง"

ที่มาของข่าว : เว็บไซต์หนังสือพิมพ์สยามรัฐ วันที่ 13 ตุลาคม 2556
  • 13 ต.ค. 2556 เวลา 22:56 น.
  • 2,936

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

ความคิดเห็นเกี่ยวกับ : ท้วง สพฐ.ร่างหลักสูตรการศึกษาพื้นฐาน เหตุใดไม่มีวิชานาฏศิลป์

เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^