LASTEST NEWS

29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567สพม.ขอนแก่น รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 19 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพป.ขอนแก่น เขต 5 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 13 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพป.ขอนแก่น เขต 4 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 13 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพป.ขอนแก่น เขต 3 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 16 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพป.ขอนแก่น เขต 2 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 12 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพป.ขอนแก่น เขต 1 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 15 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567อ.ก.ค.ศ.สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 901 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพม.กำแพงเพชร รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพป.กำแพงเพชร เขต 2 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 9 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567

‘ปิดเทอม’เน้นเสริมทักษะ ลูกมีส่วนตัดสินใจ

  • 07 ต.ค. 2556 เวลา 11:40 น.
  • 3,193
‘ปิดเทอม’เน้นเสริมทักษะ ลูกมีส่วนตัดสินใจ

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

‘ปิดเทอม’เน้นเสริมทักษะ ลูกมีส่วนตัดสินใจ
 
“ปิดเทอม” ช่วงเวลาที่เด็ก ๆ เฝ้ารอ เพราะจะได้ทำอะไรตามใจตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น ได้นอนตื่นสาย ไม่ต้องรีบเข้านอน ได้เล่นเกม ดูหนัง ดูการ์ตูนทั้งวัน ได้ทำในสิ่งที่อยากทำที่ในช่วงเปิดเทอมทำไม่ได้  แต่ความรู้สึกนี้กลับตรงข้ามกันกับผู้ปกครอง โดยเฉพาะคุณพ่อ คุณแม่ที่ต้องทำงานนอกบ้านเกิดความกังวลใจอยู่ไม่น้อย เนื่องจากเป็นช่วงที่สิ่งเร้าต่าง ๆ ทั้งโทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ หรือเกม เข้ามาดึงลูกให้ติดได้ง่าย แล้วจะดูแลลูก ๆ อย่างไรดีในช่วงปิดเทอม??
 
พญ.วิมลรัตน์ วันเพ็ญ รองผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข (สธ.)  กล่าวว่า เด็กยุคนี้เป็นเด็กยุคไอที กิจกรรมโปรดปรานของน้อง ๆ ในช่วงปิดเทอมส่วนใหญ่คงหนีไม่พ้น การใช้อินเทอร์เน็ตโดยเฉพาะวัยรุ่น ไม่ว่าจะเป็นการอัพเดทข่าว ไอดอลในดวงใจ ทั้งศิลปินทางฝั่งเอเชียหรือตะวันออก เล่นเฟซ บุ๊ก รายงานตัวทางออนไลน์ว่าตอนนี้ตัวเองกำลังทำอะไร หรือเพื่อน ๆ แต่ละคนทำอะไรกันอยู่ บางคนถ่ายรูปมาอัพเดทโชว์ เมนท์กันไม่หลับไม่นอนทั้งคืน รวมทั้ง ดูซีรีส์ ดูละคร ฟังเพลงในยูทูบ พอปิดเทอมไม่มีอะไรทำก็เลยดูทั้งวัน ละครบางเรื่องดูแล้วชอบก็กลับไปดูอีกรอบ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่สร้างความกังวลให้กับผู้ปกครอง ยิ่งถ้าบ้านไหนไม่มีกิจกรรมที่น่าสนใจให้กับลูกแนวโน้มที่เด็กจะใช้เวลาว่างอย่างไม่สร้างสรรค์ย่อมมีได้สูง
 
“การปิดเทอมวัตถุประสงค์จริง ๆ คือ อยากให้ลูกได้มีเวลาอยู่กับพ่อ แม่ ผู้ปกครองบ้าง แต่ปัจจุบันการดำเนินชีวิต สถานการณ์เปลี่ยนไปเพราะผู้ปกครองส่วนใหญ่ต้องทำงานนอกบ้าน ฉะนั้น กิจกรรมที่จะเกิดขึ้นกับลูกจึงต้องคำนึงในหลาย ๆ ด้าน ซึ่งผู้ปกครองมักจะเลือกกิจกรรมให้ลูกโดยที่ไม่ถามลูกว่าอยากทำหรือไม่ ฉะนั้น สิ่งแรก คือ กิจกรรมที่เด็กจะทำ เด็กควรมีส่วนร่วมในการตัดสินใจด้วย ในบางครอบครัวอาจจะไม่ได้ปล่อยอิสระว่า ลูกอยากได้อะไร อยากทำอะไรบอกมา แต่พ่อ แม่อาจจะมีกรอบให้เด็กบ้าง เช่น อาจจะมีตัวอย่างกิจกรรมที่อยากให้ลูกทำในช่วงปิดเทอมมานำเสนอลูกว่าชอบไหม อยากเรียน อยากทำหรือไม่ แต่ไม่ใช่จับลูกเรียนโน่น เรียนนี่ ทำโน่น ทำนี่โดยที่เด็กไม่รู้ตัวหรือไม่มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ”
 
เมื่อให้ลูกได้มีส่วนในการตัดสินใจเลือกกิจกรรมในช่วงปิดเทอมแล้ว แต่กิจกรรมที่ลูกเลือกแพงเสียเหลือเกิน เช่น ไปเมืองนอก เรียนอะไรก็ไม่รู้ค่าเรียนสูงมาก  ตรงนี้ขึ้นอยู่กับครอบครัวแล้วว่าจะตัดสินใจอย่างไร คงต้องเลือกตามความเหมาะสม ต่อมาต้องดูในเรื่องของ ความสะดวกสบาย ด้วย  แม้ลูกอยากทำก็จริงแต่ในเรื่องของการรับส่งลำบาก ที่อาจส่งผลกระทบเวลานอนของลูกความเป็นอยู่หน้าที่การงานของพ่อ แม่ได้
 
รวมทั้งเรื่องของ ความปลอดภัย  เมื่อลูกปิดเทอม หากลูกสาวและลูกชาย มีความคิดที่อยากจะไปบ้านเพื่อนตลอดไม่ยอมอยู่บ้าน ตรงนี้ก็ถือว่าอันตรายสำหรับเด็กวัยรุ่น เด็กผู้หญิงอาจจะพลั้งพลาดในเรื่องของการถูกลวนลาม การมีเซ็กซ์  การใช้สารเสพติด  ซึ่งล้วนมีความเสี่ยงค่อนข้างมาก เพราะบางทีเมื่อเด็กไปบ้านเพื่อนแล้วที่บ้านเพื่อนมีคนอื่นอยู่ด้วย อาจจะมีเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้นได้ทั้งนั้น ในส่วนของวัยรุ่นชาย สิ่งที่น่าเป็นห่วงน่าจะเป็นเรื่องของการทะเลาะวิวาท การใช้สารเสพติด  การมีเซ็กซ์
 
’ที่เหลือก็จะเป็นกิจกรรมที่เด็กเลือก โดยกิจกรรมที่เด็กสามารถทำได้ในช่วงปิดเทอมนั้นมีตั้งแต่อยู่บ้านทำกิจกรรมในบ้านตรงนี้เด็กอยู่บ้านแล้วปลอดภัย อยู่ได้ กิจกรรมต่อมา คือ เรียนพิเศษ เพราะบางครอบครัวพ่อ-แม่ ทำงาน ที่บ้านไม่มีใครอยู่ ก็ส่งลูกไปเรียนพิเศษวิชา การต่าง ๆ หรือจะเป็นการเรียนที่ทำให้ตัวเด็กมีความคล่องแคล่วขึ้น  เช่น ดนตรี กีฬา ศิลปะ เย็บผ้า จิตอาสาช่วยงานในสถานที่ต่าง ๆ  ตลอดจน การไปทำงานพิเศษ มีรายได้เป็นรายวัน และอาจจะผ่อนคลายบ้างด้วยกิจกรรมดูหนัง เที่ยวห้างสรรพสินค้า หรือเที่ยวสวนสนุก”
 
พญ.วิมลรัตน์ กล่าวต่อว่า กิจกรรมช่วงปิดเทอมสิ่งที่ผู้ปกครองมักเป็นห่วง  คือ เรื่องของความปลอดภัย เพราะตอนเปิดเทอมอย่างน้อย ๆ ยังมีครู มีอาจารย์  คอยดูแล แต่ปิดเทอมไม่มีใครคอยดูแล จำเป็นมากที่จะต้องตกลงกับลูกให้ดี ๆ ว่า ลูกจะไปไหน ไปกับใคร กลับกี่โมง ไปทำอะไร จะให้พ่อให้แม่ไปรับไหม ที่จะไปทำมีผู้ใหญ่อยู่ด้วยหรือไม่  เพราะว่าสิ่งที่ผู้ปกครองเป็นห่วงสำหรับเด็กก็คือ เมื่อพวกเขารวมกลุ่มกัน ถ้าทำกิจกรรมดี ๆ ก็จบไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง
 
แต่บางครั้งลูกไปกับแฟน ซึ่งมักจะพบว่า สถานที่ที่มีเพศสัมพันธ์กันมากที่สุด ก็คือ ไม่บ้านเขาก็บ้านเรา ฉะนั้นช่วงปิดเทอม เมื่อไม่มีผู้ปกครองอยู่บ้านเด็กนัดกันมาที่บ้าน ตรงนี้เป็นเรื่องที่น่ากลัว น่าเป็นห่วง รวมทั้ง เมื่อไปเที่ยว กินข้าวเย็นกันเสร็จเรียบร้อยแล้วไปต่อกันที่บ้านเพื่อนคนใดคนหนึ่งที่ไม่มีผู้ปกครองอยู่บ้าน สะดวกทางโปร่งสามารถทำอะไรได้เต็มที่  บางทีก็มีการซื้อเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เข้าไปดื่มกันที่บ้านด้วยก็ยิ่งน่าเป็นห่วงเข้าไปอีก เพราะเมื่อดื่มเครื่องดื่มเหล่านี้เข้าไปแล้วการดูแลควบคุมตัวเองได้ก็จะน้อยลงทั้งผู้หญิงและผู้ชาย
 
“จำเป็นที่จะต้องคุยกับลูกด้วยความรู้สึกห่วงใย ไม่ใช่เหน็บแนม เช่น ปิดเทอมนี้พ่อ แม่ก็ลำบากใจที่จะต้องเลือกกิจกรรมให้ลูกเพราะแม่ไม่สามารถอยู่ดูแลลูกได้ ต้องทำงาน แต่แม่รักลูก เป็นห่วงลูก และเชื่อใจลูกนะว่า ลูกจะสามารถดูแลตัวเองได้จริง ๆ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการมีเพศสัมพันธ์ เรื่องของยาเสพติด รวมทั้ง เรื่องของการทะเลาะวิวาท  เชื่อว่าลูกหลีกเลี่ยงเรื่องเหล่านี้ได้
 
เด็กส่วนใหญ่เมื่อได้ยินได้ฟังแล้วจะรู้สึกดี  ถ้าเปรียบเทียบกับการพูดประชดประชันที่ว่า ปิดเทอมนี้แกจะดูแลตัวเองได้ไหม จะทำเรื่อง ก่อเรื่องให้ฉันต้องเดือดเนื้อร้อนใจอะไรหรือเปล่า  เพราะถ้าพูดอย่างนี้เด็กจะรู้สึกรำคาญ ว่าเขาอยู่เรื่อยและต่อต้านกับคำพูดจะไม่อยากฟัง ไม่ทำตาม ฉะนั้น ผู้ปกครองจึงต้องสื่อสารกับลูกด้วยถ้อยคำเชิงบวก เชื่อในคุณงามความดีของลูก แม้การบอกว่าเป็นห่วงเด็กบางคนจะฟัง แต่บางคนก็ไม่ฟัง แต่อย่างน้อยการพูดด้วยเหตุผลของความเป็นห่วงย่อมดีกว่าการพูดต่อว่าหรือการประชดประชันอย่างแน่นอน”
 
ประการต่อมา คือ เชื่อมั่น เชื่อใจลูกอย่างเดียวไม่พอต้องมีข้อมูลของลูกด้วยว่า เขาไปไหน ทำอะไรกับใคร กลุ่มเพื่อนนี้ไปด้วยเป็นอย่างไร รวมทั้ง แฟนลูก เพราะการที่เด็กเป็นแฟนกันไปไหนมาไหนด้วยกันสองต่อสอง หากมีลูกสาวจะต้องกำชับลูกเลยว่าโอกาสที่จะมีปัญหาเกิดขึ้นได้ ฉะนั้น ลูกจะต้องไม่กลับบ้านดึก รู้จักระงับจิตใจ
 
เด็กผู้ชาย ต้องให้รู้ว่า อย่าอยู่ด้วยกันสองต่อสองในสถานที่ที่จะทำให้เกิดอารมณ์ได้ ชวนให้ทำในสิ่งที่ไม่ดีได้ต้องหลีกเลี่ยง อย่าใจเร็ว และเมื่ออยู่กับกลุ่มเพื่อนต้องหลีกเลี่ยงสิ่งเสพติด หรือในเรื่องของความรุนแรง ฉะนั้น ลูกจะต้องรู้ว่า เมื่ออยู่ในสถานการณ์ที่มีการทะเลาะวิวาทกัน อย่าไปยุ่ง อย่าไปมีเรื่องให้ถอยออกมา เพราะอะไร เพราะแม่เป็นห่วงลูก ถ้าหนูเป็นอะไรไปแม่จะต้องเสียใจมาก แม่รักลูกนะ ต้องให้ลูกรู้ว่าเราห่วง เรารักเขามาก
 
สุดท้าย ก็ต้องมาตกลงกันว่าสรุปแล้วปิดเทอมนี้จะทำอะไรดี ต้องยอมรับว่าเด็ก เยาวชนสมัยนี้เก่งขึ้นกว่าในอดีต โดยเด็กมีการเข้าถึงข้อมูลได้ดีขึ้น ทำอะไรได้มากกว่าเด็กสมัยก่อน ฉะนั้น เด็กก็มีความคิดของเขาเองว่าเขาอยากจะทำอะไรในช่วงปิดเทอม แต่บางครั้งผู้เป็นพ่อ แม่ก็อดที่จะเป็นห่วงไม่ได้ เช่น การเข้าค่าย  ซึ่งอาจจะเป็นห่วงในเรื่องของความปลอดภัย
 
ในส่วนน้อง ๆ เด็ก ๆ  ถ้าเห็นชัดว่าเขาชอบอะไรก็ส่งเสริมเขาไปเลยในช่วงปิดเทอม เพราะยิ่งส่งเสริมไปเท่าไรทักษะก็จะยิ่งดี ถ้ายังไม่รู้ก็ส่งเสริมไปหลาย ๆ ทักษะ ให้เขาได้ทำอะไรในแต่ละวัน เขาก็จะสนุกและได้ใช้พลังงานเพราะเด็กเล็กพลังงานมีมาก เพราะถ้าให้อยู่บ้านโดยที่ไม่มีอะไรทำเขาก็จะเบื่อได้ เมื่อพ่อ แม่กลับมาจากทำงานลูกชวนเล่น ทั้ง ๆ ที่ตัวเองเหนื่อยก็จะทำให้ทะเลาะกันได้ ฉะนั้น ถ้าเป็นไปได้ในช่วงเช้าเด็กเล็กควรหากิจกรรมให้เขาทำในกรณีที่เลี้ยงเองไม่ได้
 
สำหรับวัยรุ่นสมัยนี้มีกิจกรรมให้ทำหลากหลาย เด็กบางคนก็อยู่บ้านได้ แต่การที่พ่อ แม่จะไปคาดหวังว่าปิดเทอมแล้วลูกจะอยู่บ้านก็ลำบากเหมือนกัน ถ้าสมมุติว่าเด็กมีสังคมเพิ่มมากขึ้นแต่สังคมนั้นไม่อันตรายพ่อแม่ก็คงต้องยอมรับและปรับเปลี่ยนความคิดเพราะลูกต้องอยู่ในสังคมของเขา  ฉะนั้น ต้องคุยกันถึงรายละเอียด ทำความเข้าใจให้ตรงกัน แต่คงต้องกำชับในเรื่องของความปลอดภัยไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่ทำ กลุ่มเพื่อนที่ไปด้วย
 
อีกเรื่องหนึ่ง ที่พ่อแม่จะต้องดึงลูกออกมา คือ เรื่องของการเล่นเกมหรืออินเทอร์เน็ตผ่านมือถือ คอมพิวเตอร์  ถ้าลูกอยู่กับสิ่งนี้จะต้องให้ลูกลดและไปเพิ่มกิจกรรมอื่น ๆ ที่ลูกต้องออกสู่สังคมแทน เพราะการเล่นเกมคุมลำบาก เว็บไซต์ที่ไม่ดีก็มีมากมายไม่ว่าจะเป็นเว็บโป๊ เว็บการพนัน  ซึ่งเข้าได้ง่ายการดูแลก็ทำลำบาก
 
การที่พ่อ แม่ จัดกิจกรรมบางอย่างให้ลูกย่อมดีกว่าให้ลูกอยู่กับสิ่งเหล่านั้นอยู่ตลอดเวลา ดูเฟซบุ๊ก ดูซีรีส์ เล่นเกม ทั้งวัน ออกกำลังกายก็ไม่ได้ออก น้ำหนักก็ขึ้น เด็กวัยรุ่นพลังงานมีจำนวนมาก ถ้าไม่ใช้ก็จะทำให้หงุดหงิด  พอพ่อ แม่ กลับมาเห็นกำลังเล่นเกมพูดต่อว่าลูกก็จะอารมณ์เสียง่ายเกิดปัญหาครอบครัวตามมาขึ้นได้ ฉะนั้น พยายามหากิจกรรมให้ลูกทำ อย่าให้หมกมุ่นอยู่กับสิ่งเหล่านี้มากจนเกินไป
 
“น้อง ๆ โตในระดับหนึ่งแล้ว ดูแลตัวเองได้ในระดับหนึ่ง ไม่ใช่แค่พ่อแม่เชื่อว่าทำได้  ในช่วงอายุวัยรุ่น ทางการแพทย์ก็เชื่อว่า การดูแลตัวเองทำให้อะไรหลาย ๆ อย่างในตัวเด็กดีขึ้นมาก จึงควรใช้โอกาสในช่วงปิดเทอม ฝึกพัฒนาตัวเองเพราะไม่มีใครดูแลตัวเองได้ดีเท่าตัวเราเอง การทำกิจกรรมในช่วงปิดเทอมไม่จำเป็นต้องทำอย่างเดียว ใน 1 สัปดาห์ อาจจะเรียน 3 วัน หยุด 4 วัน ในช่วงที่หยุดอาจจะอยู่บ้านสลับกับการออกจะไปเที่ยวก็ได้”
 
กิจกรรมในช่วงปิดเทอมไม่จำเป็นต้องเน้นในเรื่องของการเรียนหนังสือ  แต่เป็นกิจกรรมที่ลูกชอบ กิจกรรมที่ฝึกให้รู้จักรับผิดชอบตนเอง ได้ประสบการณ์ใหม่ ๆ ที่ในโรงเรียนไม่มีหรือทำไม่ได้ เป็นโอกาสอันดีที่ลูกจะได้ไขว่คว้าอะไรหลาย ๆ อย่างในชีวิต.
 

 
สร้างทักษะชีวิตให้ลูกช่วงปิดเทอม
 
ให้ลูกช่วยเหลือตัวเอง งานบ้านที่เกี่ยวข้องกับตัวเขาเอง เช่น จัดข้าวของของตัวเองให้เข้าที่ และภายในบ้าน เช่น กวาดบ้าน ถูบ้าน รดน้ำต้นไม้ เพื่อกระตุ้นฝึกความรับผิดชอบตัวเอง รวมทั้ง ทำกับข้าว ไม่ต้องถึงขนาดไปเรียนในโรงเรียนสอนทำอาหาร อาจจะชวนลูกเข้าครัวและถือโอกาสสอนให้ลูกทำกับข้าว โดยเริ่มจากเมนูง่าย ๆ หรือเมนูโปรดของลูกก็ได้
 
เล่นกีฬา เช่น ว่ายน้ำ เพราะช่วงปิดเทอมมักได้ยินข่าวเด็กจมน้ำเสียชีวิตเป็นประจำ ซึ่งเป็นอุบัติเหตุสูงที่สุดในบรรดาอุบัติเหตุทั้งหมด โดยเฉพาะในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี หรือจะเป็นกีฬาชนิดอื่น ๆ ที่ลูกสนใจ ไม่ว่าจะเป็น เทควันโด บาสเกตบอล วอลเลย์บอล ฟุตบอล ไอซ์สเกต ขี่จักรยาน เพราะการเล่นกีฬาไม่เพียงแต่พัฒนาความแข็งแรงด้านร่างกายเท่านั้นแต่ยังพัฒนาสมองอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการพัฒนาความเชื่อมั่นในตัวเอง การคิดอย่างมีเหตุผล การทำงานเป็นทีมและความสามัคคี
 
ดนตรี ไม่ว่าจะเป็นดนตรีไทย หรือดนตรีสากล เพราะดนตรีนับเป็นกิจกรรมที่สร้างวินัย สร้างความอ่อนโยนและช่วยพัฒนาสมองไปในตัว
 
ศิลปะ เป็นการฝึกให้เด็กรู้จักใช้จินตนาการ ศิลปะก่อเกิดสุนทรียภาพ ความเบิกบานใจ เด็กจะได้ซึมซับความประณีต ความงดงาม จากงานศิลปะที่ได้พบเห็นหรือที่ได้ลงมือทำ ส่งผลให้มีจิตใจที่อ่อนโยน ไม่แข็งกร้าว
 
ทำงานพิเศษ นอกจากรายได้พิเศษแล้ว ยังเป็นการฝึกให้มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่การงานที่ได้รับมอบหมาย มีความภาคภูมิใจในตนเอง รวมทั้ง เป็นการสะสมประสบการณ์นอกห้องเรียนเพื่อนำไปใช้ในการทำงานในอนาคต.
 
ทีมวาไรตี้
 
 
  • 07 ต.ค. 2556 เวลา 11:40 น.
  • 3,193

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

ความคิดเห็นเกี่ยวกับ : ‘ปิดเทอม’เน้นเสริมทักษะ ลูกมีส่วนตัดสินใจ

เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^