LASTEST NEWS

28 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 28 มี.ค. 2567สพม.นครราชสีมา รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 20 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 6 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 27 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 5 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 32 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 4 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 15 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 3 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 25 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 2 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 19 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 1 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 28 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.ตรัง เขต 2 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 16 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.ปัตตานี เขต 3 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 12 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567

ท้า "จาตุรนต์" กล้ารื้อระบบคัดเลือกเข้ามหา'ลัย แนะชง ครม.ยกเลิกรับตรง

  • 15 ก.ย. 2556 เวลา 11:06 น.
  • 1,628
ท้า "จาตุรนต์" กล้ารื้อระบบคัดเลือกเข้ามหา'ลัย แนะชง ครม.ยกเลิกรับตรง

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

ท้า "จาตุรนต์" กล้ารื้อระบบคัดเลือกเข้ามหา'ลัย แนะชง ครม.ยกเลิกรับตรง
 
      ติงการระบบคัดเลือกเข้ามหา’ลัย สร้างภาระการสอบเด็กภาระการเงินผู้ปกครองทำให้เด็กวิ่งรอกสอบ ขณะที่ “หมอกมลพรรณ” ท้า “จาตุรนต์” ให้กล้าปรับระบบคัดเลือกจริงโดยเสนอ ครม.ยกเลิกการสอบรับตรงของมหา’ลัย แต่ให้คงไว้ในระบบโควตา ฟากผู้ปกครอง-นักเรียนเสนอลดการสอบลงและจัดทำข้อสอบให้ได้มาตรฐานที่สามารถนำคะแนนไปยื่นสอบที่อื่น ๆ ได้ 
       
       วันนี้ (14 ก.ย.) ที่โรงแรมวินเซอร์ สวีทส์ กรุงเทพฯ นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เป็นประธานเปิดประชุมและบรรยายพิเศษในการประชุมและเสวนาเรื่อง “การพัฒนาระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา” มีนักเรียนระดับมัธยมศึกษา นักศึกษามหาวิทยาลัยชั้นปีที่ 1 ผู้ปกครอง ตัวแทนจากมหาวิทยาลัยต่าง และผู้สนใจเข้าร่วมกว่า 100 คน ว่า ตนได้มีนโยบายเร่งรัดที่จะปฏิรูปการเรียนรู้ทั้งระบบให้สัมพันธ์และเชื่อมโยงกัน เน้นให้ผู้เรียนสามารถคิดวิเคราะห์และเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องรวมทั้งต้องการกระจายโอกาสทางการศึกษาอย่างมีคุณภาพ เพื่อผลิตบัณฑิตให้สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศ ซึ่งส่วนหนึ่งที่จะทำจะทำให้การปฏิรูปสำเร็จได้ คือต้องมีการปรับระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษา เนื่องจากการจัดการเรียนสอนต่าง ๆ จะต้องมุ่งเน้นเข้าเรียนต่อระดับอุดมศึกษา ทั้งนี้ ที่ผ่านมาการคัดเลือกก็ยังมีปัญหาอยู่มาก โดยเฉพาะเรื่องการรับตรง ที่ทำให้ผู้ปกครองและนักเรียนเสียค่าใช้จ่ายในการสอบจำนวนมาก บางคนต้องเสียค่าสมัครสอบเป็นแสน โดยที่ยังไม่รวมค่ากวดวิชา ขณะที่มหาวิทยาลัยบางแห่งก็ได้รับเงินจากการเปิดรับตรงหลายสิบล้านบาท ทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันในการเข้าศึกษาต่อ ดังนั้นตนย้ำว่าจะต้องมีการปรับระบบการคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย
 
       ด้าน พ.ญ.กมลพรรณ ชีวพันธ์ศรี ประธานเครือข่ายพ่อแม่ เยาวชน เพื่อการปฎิรูปการศึกษา กล่าวว่า ตนอยากให้รมว.ศึกษาธิการ กล้าตัดสินใจที่จะปรับระบบการคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยใหม่ โดยขอให้เสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ยกเลิกการสอบรับตรงของมหาวิทยาลัย แต่ขอให้ยกเว้นระบบโควต้า ทั้งนี้ การสอบรับตรงของมหาวิทยาลัยนั้นเป็นภาระกับเด็กในทางตรงกันข้ามกลับสร้างกำไรหรือรายได้ให้มหาวิทยาลัยจำนวนมาก 
       
       ขณะที่ ดร.อุดมลักษณ์ กูลศรีโรจน์ ผู้ปกครองชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 กล่าวว่า เวลานี้พบว่าปัญหาสำคัญของเด็กคือ ระบบการคัดเลือกที่เด็กต้องสอบเยอะเกินไปไม่ว่าจะเป็นการทดสอบวัดความสามารถทางวิชาการทั่วไป (GAT) และการทดสอบวัดความสามารถทางวิชาชีพ (PAT) และยังมีการสอบ 7 วิชาสามัญ เป็นต้น เพราะฉะนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ควรต้องลดการสอบของเด็กลงเพื่อไม่สร้างภาระการสอบแก่เด็กและลดค่าใช้จ่ายแก่ผู้ปกครอง
       
       “ข้อสอบที่ออกโดย สทศ.ค่อนข้างยากและให้เวลาในการทำข้อสอบน้อย เช่น PAT 1 ความถนัดทางคณิตศาสตร์ ที่ขอท้าว่าครูคณิตศาสตร์ก็ยังทำไม่ได้ และในเดือนมกราคมนี้ก็จะเริ่มสอบวิชาสามัญ 7 วิชาในขณะที่โรงเรียนยังสอนไม่จบหลักสูตร เพราะฉะนั้น ควรการแก้ไขเรื่องเงื่อนเวลาให้โรงเรียนสอนให้จบหลักสูตรก่อนแล้วจึงเข้าสู่กระบวนการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย”ผู้ปกครอง กล่าว
       
       ตัวแทนนักเรียนและนักศึกษา เสนอความเห็นว่า หากจะมีการปรับระบบอะไรขอให้รับฟังพวกตนซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรง และข้อสอบคัดเลือกเวลานี้ส่วนใหญ่จะออกเกินหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน เกินกว่าที่ได้เรียนในปัจจุบันกลายเป็นว่าเน้นให้เด็กรู้คำตอบแต่ไม่สามารถคิดวิเคราะห์ หรือรู้ที่มาที่ไปของคำถามด้วย เพราะฉะนั้น หากเป็นไปอยากเสนอให้ทำข้อสอบที่ได้มาตรฐานที่สามารถสอบครั้งเดียวแต่นำคะแนนไปยื่นได้หลายที่ด้วย
 
 
  • 15 ก.ย. 2556 เวลา 11:06 น.
  • 1,628

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

ความคิดเห็นเกี่ยวกับ : ท้า "จาตุรนต์" กล้ารื้อระบบคัดเลือกเข้ามหา'ลัย แนะชง ครม.ยกเลิกรับตรง

เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^