LASTEST NEWS

24 เม.ย. 2567สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดสอบพนักงานราชการ 350 อัตรา วุฒิปริญญาตรี อัตราเงินเดือน 20,540 - 22,750 บาท ตั้งแต่วันที่ 30 เม.ย. - 8 พ.ค. 2567 24 เม.ย. 2567สพป.เลย เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.เลย เขต 2 24 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 24 เม.ย. 2567สพป.ร้อยเอ็ด เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ร้อยเอ็ด เขต 2 24 เม.ย. 2567สพป.สกลนคร เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.สกลนคร เขต 2 24 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 24 เม.ย. 2567สพป.เชียงใหม่ เขต 5 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 27 อัตรา - รายงานตัว 1 พฤษภาคม 2567 24 เม.ย. 2567สพป.ตาก เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ตาก เขต 2 24 เม.ย. 2567สพม.น่าน ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.น่าน 24 เม.ย. 2567สพป.เชียงใหม่ เขต 4 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.เชียงใหม่ เขต 4

ยูเนสโก เดินหน้าทบทวนการศึกษาไทย เน้นคุณภาพ-เสมอภาค

  • 24 มิ.ย. 2556 เวลา 07:26 น.
  • 10,339
ยูเนสโก เดินหน้าทบทวนการศึกษาไทย เน้นคุณภาพ-เสมอภาค

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

โรงแรมเซ็นทราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ วันที่ 23 มิ.ย.56 สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.)จัดประชุมสัมมนาวิชาการระหว่างประเทศ ประจำปี 2556 เรื่อง "การศึกษาเพื่ออนาคตประเทศไทย" ระหว่างวันที่ 23-25 มิ.ย.56 โดยมีนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รมว.ศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดงาน มีคณาจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิทางการศึกษาทั้งไทยและต่างประเทศ เข้าร่วมประมาณ 1,000 คน
 
     นายพงศ์เทพ กล่าวว่า การศึกษาเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของอนาคตประเทศ โดยเฉพาะในโลกยุคปัจจุบันที่เป็นโลกยุคของความรู้ ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่ลงทุนเรื่องการศึกษาเยอะมาก แต่ผลตอบรับที่ได้กลับมา ก็ยังไม่น่าพอใจ ดังนั้นจึงต้องเร่งพัฒนาการศึกษา โดยเฉพาะเรื่องคุณภาพ
 
     "น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีให้ความสำคัญและใส่ใจเรื่องการศึกษามาโดยตลอด และสิ่งที่เราควรจะทำขณะนี้คือเรื่องคุณภาพการศึกษา ไม่ใช่แค่เรื่องการให้การศึกษา และที่ศธ.กำลังทำอยู่ขณะนี้คือเรื่องการปฏิรูปหลักสูตร ในระดับชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษา อย่างไรก็ตามการพัฒนาคุณภาพศึกษาต้องการการยอมรับ ความเข้าใจ การมีส่วนร่วม จึงจะสามารถจะขับเคลื่อนเรื่องดังกล่าวให้เกิดการพัฒนาได้"นายพงศ์เทพ กล่าว 
 
     Dr.Gwang-Jo Kim ผู้อำนวยการยูเนสโก กรุงเทพฯ กล่าวว่า ตนทำงานอย่างใกล้ชิดกับประเทศไทยกว่า 4 ปี และเรียนรู้ระบบการศึกษาของไทย ซึ่งมีความก้าวหน้าจากตัวเลขล่าสุดปี 2012 ของสถาบันสถิติของยูเนสโก หรือ UIS อัตราการเข้าเรียนอย่างหยาบทั้งระดับประถมและมัธยมต้นของประเทศไทยมีมากกว่า 90% ดัชนีความเสมอภาคหญิงชายของประเทศ อยู่ที่ 1:00 ทุกระดับของการศึกษาขั้นพื้นฐาน หมายความว่าเด็กหญิง-ชายเข้าเรียนเสมอภาคกันในการศึกษาขั้นพื้นฐาน 
 
     นอกจากนี้ในปี 2010 ประเทศไทยใช้จ่ายงบประมาณ 3.8% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมระดับประเทศหรือ GDP สำหรับด้านการศึกษาจากสถาบันสถิติของยูเนสโก พบว่าประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศอาเซียนที่ใช้งบประมาณด้านการศึกษามากที่สุด โดยมีเป้าหมายเพื่อใช้การศึกมาพัฒนาประเทศ ขณะเดียวกันประเทศไทยได้แสดงภาวะผู้นำในเรื่องที่เป็นวาระด้านการศึกษาระดับโลก ความเคลื่อนไหวเรื่องการศึกษาเพื่อปวงชนทั่วโลกในปี 1990 ตั้งแต่นั้นมา ประเทศไทยได้ดำเนินการทำให้การศึกษาเป็นประชาธิปไตยและแบ่งปันประสบการณ์นวัตกรรมใหม่ๆ แต่ก็ยังมีปัญหาเรื่องความเสมอภาคทางการศึกษา อาทิ เด็กในเมืองหรือพื้นที่เศรษฐกิจเติบโตเข้าถึงจะสามารถเข้าถึงการศึกษาในอัตราที่สูง ส่วนพื้นที่ห่างไกลในชนบทหรือผู้อพยพในสลัม หรือจากชาติพันธุ์ต่างๆ ที่ฐานะทางเศรษฐกิจสังคมต่ำ จะเข้าถึงการศึกษาได้น้อย 
 
     ผู้อำนวยการยูเนสโก กล่าวต่อว่า ความท้าทายที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือเรื่องคุณภาพของการศึกษาในประเทศไทย เป็นเรื่องใหญ่ที่มีผลกระทบสำคัญต่อความสามารถในการแข่งขันของแรงงานไทย ผล PISA ซึ่งประเมินการเรียนรู้เปรียบเทียบนานาชาติของเด็กอายุ 15 ดำเนินการ โดยองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรฐกิจและการพัฒนา หรือ OECD แสดงว่า เด็กไทยทิ้งห่างในการเรียนรู้ เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น สาเหตุใหญ่อาจเป็นเพราะขาดครูที่มีคุณภาพ ขาดครูที่ได้รับการฝึกอบรม ขาดครูที่มีแรงจูงใจในการสอนแบบนักเรียนเป็นศูนย์กลาง ซึ่งส่งเสริมทักษะ เช่น การแก้ปัญหา การร่วมมือ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ ทักษะที่จำเป็นสำหรับคนในศตวรรษที่ 21 ทักษะที่จำเป็นสำหรับเศรษฐกิจและโลกส่วนใหญ่ในทุกวันนี้ เนื่องจากความท้าทายเหล่านี้เกี่ยวข้องกับนโยบาย
 
     ยูเนสโกจึงได้ลงนามข้อตกลงร่วมกับ OECD ทำการวิจัยเพื่อศึกษาทบทวนนโยบายด้านการศึกษาของประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสรมสร้างความเข้มแข็งของระบบการศึกษาไทย
 
     Mr.David Atchoarena, ผู้อำนวยการ of Division for Planning and Development of Education Systems ของยูเนสโก กล่าวว่า ถือเป็นครั้งแรกที่ยูเนสโกร่วมมือกับ OECD ที่จะทบทวนนโยบายด้านการศึกษาของไทย โดยจะทบทวนนโยบายด้านการศึกษาของไทยใน 4 ด้าน ได้แก่
 
     1.คุณภาพครู ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยหลักสู่การศึกษาที่มีคุณภาพ โดยจะทบทวนตั้งแต่การคัดสรรครู กระบวนการสอนและการพัฒนาทางวิชาชีพ (professional development)
     2.การปฏิรูปหลักสูตร ที่ ศธ.กำลังดำเนินการอยู่ว่าครอบคลุมทุกมิติหรือไม่
     3.การประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักเรียน
     และ 4.การเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารเคลื่อนที่หรือ Mobile learning อาทิ นโยบายแท็บเล็ตสำหรับนักเรียนชั้น ป.1 ซึ่งเห็นว่าเป็นนโยบายที่เป็นนวัตกรรมใหม่ในการเรียนการสอน เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้มากกว่าภายในห้องเรียน อย่างไรก็ตาม การทบทวนนโยบายดังกล่าวอาจจะยังไม่เห็นผลเต็มที่ เนื่องจากเป็นนโยบายที่ถือว่ายังดำเนินการมาได้ไม่นานพอ
 
     Mr.David กล่าวต่อว่า การทบทวนนโยบายด้านการศึกษาของไทย จะเริ่มดำเนินการได้ประมาณเดือนก.ย. หรือ ต.ค.นี้ และคาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือน ธ.ค. หรือภายในต้นปีหน้า ระหว่างนี้จะมีการตั้งทีมงานทบทวน (review team) โดยจะมีตัวแทนฝ่ายไทยเข้าร่วมด้วย เพื่อลงไปเก็บข้อมูลและหารือกับผู้ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของไทย เช่น ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษา ครูอาจารย์ นักเรียน ผู้ปกครอง ภาคธุรกิจ ฯลฯ ทั้งนี้ ผลของการทบทวนจะนำเสนอให้กับ รมว.ศึกษาธิการ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการกำหนดและพัฒนานโยบายด้านการศึกษาในอนาคตเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบการศึกษาของประเทศ
 
     "ผมเห็นว่าประเทศไทยกำลังประสบความท้าทายด้านการศึกษา ที่สำคัญ 2 ประการ คือ การพัฒนาคุณภาพการศึกษา ซึ่งถือว่ายังไม่ดีเท่าที่ควรจะเป็น และความเท่าเทียมด้านการศึกษา เนื่องจากสังคมไทยเป็นสังคมที่หลากหลายทั้งทางสังคมและเศรษฐกิจ ฉะนั้น เด็กที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ห่างไกลหรือชายแดนยังคงไม่ได้รับโอกาสทางการศึกษาที่เท่าเทียมกับเด็กในเมือง"Mr.David กล่าว
 
 
  • 24 มิ.ย. 2556 เวลา 07:26 น.
  • 10,339

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

ความคิดเห็นเกี่ยวกับ : ยูเนสโก เดินหน้าทบทวนการศึกษาไทย เน้นคุณภาพ-เสมอภาค

เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^