LASTEST NEWS

29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.พิจิตร เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.พิจิตร เขต 2 29 มี.ค. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 1 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 5 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพม.เพชรบุรี รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 7 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.อุดรธานี เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.อุดรธานี เขต 3 29 มี.ค. 2567สพป.กาฬสินธุ์ เขต 3 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 13 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพป.กาฬสินธุ์ เขต 2 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 12 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567

ทีดีอาร์ไอ เสนอประเมินวิทยฐานะครูทุก 5 ปี

  • 20 มี.ค. 2556 เวลา 18:16 น.
  • 2,439
ทีดีอาร์ไอ เสนอประเมินวิทยฐานะครูทุก 5 ปี

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

ทีดีอาร์ไอ เสนอจัดทดสอบมาตรฐานระดับชาติรูปแบบใหม่ใช้แทน O-NET แนะให้ประเมินวิทยฐานะครูทุก 5 ปี เน้นให้เกิดความรับผิดชอบผลการสอบของเด็ก พร้อมเสนอลดบทบาทประเมินภายนอกของ สมศ. เพราะไม่เกิดผลลัพธ์ที่แท้จริง
 
     วันที่ 20 มี.ค.56 ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เปิดเผยว่า ทีดีอาร์ไอได้สรุปผลโครงการจัดทำยุทธศาสตร์การปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐานให้เกิดความรับผิดชอบ ซึ่งสนับสนุนการจัดทำโดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โดยกำหนดหัวใจการปฏิรูประบบการศึกษาเพื่อแก้ปัญหาด้านการศึกษาในปัจจุบัน ได้แก่ 1.สร้างระบบการศึกษาที่มีความรับผิดชอบในทุกระดับ โดยเฉพาะระดับกระทรวง ผู้บริหารและครูที่จะต้องมีส่วนร่วมกับผลคะแนนที่ตกต่ำของเด็ก 2.ต้องปฏิรูปหลักสูตรให้เหมาะสมกับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 และ 3.ปรับวิธีการจัดสรรงบประมาณด้านการศึกษา เพราะงบประมาณด้านการศึกษาของไทยมีจำนวนมาก แต่บริหารจัดการไม่ถูกต้องทำให้ไม่เกิดประโยชน์
 
     พร้อมกันนี้ได้จัดทำข้อเสนอที่เป็นรูปธรรมเพื่อการปฏิรูปให้เกิดพัฒนาการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยเสนอให้มีการปฏิรูประบบการทดสอบมาตรฐาน เป็นการสอบรูปแบบใหม่เรียกว่า ลิเทอเรซี เบส เทสต์ (Literacy-based test) ให้เป็นการสอบระดับประเทศ ใช้แทนการสอบแบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) โดยผลการสอบดังกล่าวจะถูกนำไปใช้ในการประเมินผลงานครู ผู้บริหาร และสถานศึกษา เป็นหลัก ส่วนการประเมินเพื่อวัดความรู้นักเรียนให้เน้นการสอบวัดความรู้ระดับโรงเรียน และการประเมินผลจากแฟ้มผลงานหรือโครงงานของนักเรียน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวัดผลว่านักเรียนมีความรู้ในเรื่องที่เรียนมากน้อยเพียงใด
 
     ดร.สมเกียรติ กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้ทีมวิจัยทีดีอาร์ไอเสนอให้ปรับระบบการประเมินรายได้และวิทยฐานะครู โดยการปรับขั้นเงินเดือนให้ขึ้นกับพัฒนาการของผลการสอบมาตรฐานของนักเรียน จากเดิมที่การพัฒนาการสอบของเด็กมีผลต่อการขึ้นเงินเดือนครู คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 3 ซึ่งน้อยเกินไป ทีมวิจัยเสนอว่าสัดส่วนดังกล่าวควรมีน้ำหนักอย่างน้อยเป็นครึ่งหนึ่งขององค์ประกอบในการขึ้นเงินเดือน พร้อมกันนี้ได้เสนอเพิ่มการประเมินเพื่อคงวิทยฐานะ โดยอาจเกิดขึ้นเป็นช่วงๆ ทุก 5 ปี และให้ครูมีความรับผิดชอบในการพัฒนาเพื่อนครู พัฒนาการสอน และพัฒนาการของผลการสอบนักเรียน ส่วนการพัฒนาระบบการประเมินผลสถานศึกษา เสนอให้ยกเลิกการประเมินภายนอกที่จัดทำโดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(สมศ.) เพราะเห็นว่าไม่ได้ให้ข้อมูลที่แท้จริง เนื่องจากสถานศึกษาเข้าใจหลักการประเมินก็จะจัดทำเอกสารตามความต้องการผู้ประเมิน แต่ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงที่การเรียนการสอน นอกจากนี้คำแนะนำที่ได้จากการประเมินภายนอกก็เป็นเพียงคำแนะนำกว้างๆ ดังนั้นจึงเสนอให้ สมศ.ทำหน้าที่เปลี่ยนจากการประเมินภายนอก ให้เข้าไปตรวจสอบเฉพาะโรงเรียนกลุ่มเสี่ยง เช่น โรงเรียนที่มีผลการเรียนแย่ลง หรือกรณีโรงเรียนมีการนำเทคโนโลยีใหม่เข้าไปใช้ สมศ.ควรไปศึกษาว่าได้ผลดีหรือไม่ เป็นต้น ทั้งนี้ให้ใช้การประเมินภายในเป็นหัวใจหลักของการประเมินสถานศึกษา
 
     "นอกจากนี้เราเสนอการปรับระบบการจัดสรรงบประมาณเพื่อสร้างความรับผิดชอบและลดความเหลื่อมล้ำเป็นหลัก โดยที่ผ่านมามีหลักฐานชัดเจนว่าผลการเรียนของเด็กจะขึ้นอยู่กับเศรษฐานะของครอบครัว ส่วนใหญ่ถ้ามาจากครอบครัวที่มีฐานะก็จะมีผลการเรียนดี ดังนั้นจึงเสนอให้รัฐบาลสำรวจและอุดหนุนงบฯ ให้แก่โรงเรียนในพื้นที่ยากจนมากขึ้นเพื่อให้เกิดความทัดเทียมกัน จากนั้นหากจุดตั้งต้นเท่ากันแล้วผลการเรียนยังไม่เท่ากัน ก็ต้องให้ผู้บริหารสถานศึกษาเป็นผู้รับผิดชอบ" ดร.สมเกียรติ กล่าว
 
     ดร.ภูมิศรันย์ ทองเลี่ยมนาค นักวิจัยโครงการจัดทำยุทธศาสตร์การปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐานให้เกิดความรับผิดชอบ ทีดีอาร์ไอ กล่าวว่า ทีมวิจัยเสนอรูปแบบการทดสอบมาตรฐานซึ่งเป็นการสอบโดยประยุกต์เนื้อหาหลากหลายวิชา และเน้นทักษะการนำไปใช้ชีวิตประจำวันมากขึ้น ต่างจากการสอบรูปแบบเดิมๆ ที่เน้นการท่องจำและทำตามบทเรียนแบบตายตัว ยกตัวอย่าง ข้อสอบแสดงแผนที่ทวีปหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จากนั้นให้นักเรียนทดลองคำนวนหาพื้นที่ทวีปหรือประเทศนั้น โดยไม่ได้ให้อุปกรณ์ใดๆ ดังนั้นนักเรียนได้ใช้ทักษะในการคำนวนรูปทรงที่แตกต่างกันและมีคำตอบที่ไม่เหมือนกัน โดยนักเรียนต้องสามารถอธิบายว่าแต่ละคนใช้วิธีการใด
 
     "ทั้งนี้ หน่วยงานที่ออกข้อสอบจะต้องปรับคุณภาพการออกข้อสอบ โดยเฉพาะผู้อออกข้อสอบต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญโดยตรงมากขึ้น หรือมีการระดมความคิดจากครูหรือผู้เชี่ยวชาญในหลักสูตรนั้นๆ นอกจากนี้จะต้องสนับสนุนการจัดทำธนาคารข้อสอบ เพื่อให้มีข้อสอบดีๆ เก็บไว้เยอะๆ สามารถนำมาใช้ได้ทันที ทั้งนี้ การปฏิรูปตัวข้อสอบ ปฏิรูประบบข้อมูลการจัดทำข้อสอบ และปฏิรูปการรายงานผลการสอบ จะมีความสำคัญต่อการยกระดับคุณภาพการสอบและคุณภาพสถานศึกษาได้" ดร.ภูมิศรันย์ กล่าว
 
 
  • 20 มี.ค. 2556 เวลา 18:16 น.
  • 2,439

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

ความคิดเห็นเกี่ยวกับ : ทีดีอาร์ไอ เสนอประเมินวิทยฐานะครูทุก 5 ปี

เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^