LASTEST NEWS

20 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 20 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครสวรรค์ - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครสวรรค์ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 2 (รอบที่ 1) สพป.นราธิวาส เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.นราธิวาส เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.น่าน เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.น่าน เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครพนม - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครพนม 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.ราชบุรี เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ราชบุรี เขต 2 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 2) สพป.ขอนแก่น เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ขอนแก่น เขต 3

หลักสูตรจะดีหรือไม่...ให้ดูที่คุณภาพเด็ก

  • 26 ก.พ. 2556 เวลา 10:01 น.
  • 1,819
หลักสูตรจะดีหรือไม่...ให้ดูที่คุณภาพเด็ก

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

หลังจากมีผลประเมินจากหลายภาคส่วนทั้งในและต่างประเทศต่างชี้ชัดตรงกันว่าคุณภาพการศึกษาไทยตกต่ำไล่หลังไม่เว้นแม้แต่ประเทศในกลุ่มอาเซียนที่เคยด้อยกว่า เรื่องนี้จึงนับเป็นวิกฤติของชาติที่ต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน ซึ่งที่มาของปัญหานี้ทุกฝ่ายก็คงทราบกันดีแล้วว่าเกิดจากเหตุใดบ้าง แต่การที่จะไปแก้ไขทุกสาเหตุให้เกิดผลพร้อมกันนั้นคงเป็นเรื่องยาก ด้วยแต่ละมูลเหตุก็มีที่มายากง่ายต่อการแก้ไขต่างกัน จึงต้องดูว่ามูลเหตุใดก่อให้เกิดปัญหามากที่สุดก็แก้ไขตรงนั้นก่อน เช่น ตอนนี้กระทรวงศึกษาธิการก็น่าจะเห็นว่าส่วนที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษามากที่สุดก็คือหลักสูตรการศึกษา ซึ่งส่วนนี้ผู้เขียนเองก็เห็นด้วยเพราะแม้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 จะเพิ่งใช้กันจริงจังแค่ 2-3 ปีก็จริงแต่ก็พอทำให้เห็นจุดอ่อนในหลายประเด็นด้วยกัน อาทิ
 
เป็นหลักสูตรที่มีเนื้อหาสาระมากเกินความจำเป็น ที่ผู้เรียน ป.1-ม.6 ต้องเรียนถึง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ บวกกับอีก 1 กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเท่ากัน ที่สำคัญแต่ละกลุ่มสาระก็ยังมีวิชาย่อยซ้อนอยู่อีก เช่น กลุ่มสาระการงานพื้นฐานอาชีพและเทคโนโลยี จะมีวิชางานบ้าน งานประดิษฐ์ งานช่าง งานเกษตร คอมพิวเตอร์ หรือ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ จะมีวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา เป็นต้น ทำให้เนื้อหาผสมปนเปทั้งแก่นแท้และกระพี้ซ้ำซ้อนกันเต็มไปหมด เมื่อมีวิชามากก็ต้องใช้ครูมากตามไปด้วย แต่โรงเรียนส่วนใหญ่ขาดแคลนครู การสอนหลายชั้นหลายวิชาของครูจึงมีให้เห็นอยู่ทั่วไป ส่วนเด็กก็ทุกข์หนักไม่แพ้กัน ตั้งแต่ต้องแบกกระเป๋าหลังแอ่นเพราะแต่ละวันจะเต็มไปด้วยตารางสอนหลายวิชา ส่งผลให้เกิดการบ้านมากมายเป็นเงาตามตัว เด็กจึงแทบไม่มีเวลาได้เล่นหรือพัฒนาทักษะที่สนใจ ทั้งหมดนี้ล้วนแต่เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาเด็กทั้งสิ้น ทั้งที่กฎหมายกำหนดไว้ชัดเจนว่าอยากได้เด็กเก่ง เด็กดี มีความสุข แต่หลักสูตรก็ขนเอารายละเอียดมาให้เรียนมากมายจนจับประเด็นไม่ถูก ซึ่งการที่จะพัฒนาเด็กแต่ละวัยแต่ละชั้นและแต่ละพื้นที่ให้ไปสู่เป้าหมายดังกล่าวนั้นได้ก็คงไม่จำเป็นต้องเรียนถึง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยเฉพาะระดับ ป.1-ป.6
 
ที่เป็นช่วงต้องวางรากฐานการอ่าน การเขียน คิดเลขเป็น ดูแลสุขนิสัยที่ดี มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ให้มั่นคงก่อน เพื่อจะทำให้การเรียนรู้เกิดประสิทธิภาพในระดับสูงขึ้นต่อไป แต่เมื่อต้องมาเรียนวิชาอื่น ๆมากมาย ทำให้เวลาที่จะพัฒนาพื้นฐานสำคัญก็ไม่แน่น วิชาอื่นก็ได้แค่งู ๆ ปลา ๆ จึงส่งผลเสียต่อการเรียนรู้ในระดับต่อไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เป็นหลักสูตรที่หวังผลสู่ความเป็นเลิศเหมือนกันหมด จึงใช้มาตรฐานและตัวชี้วัดความสำเร็จเดียวกัน ทั้งที่ศักยภาพ ความพร้อม และความต้องการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กแต่ละพื้นที่มีสถานภาพแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง เช่น เด็กที่อยู่ในพื้นที่ตามป่าเขา เกาะแก่ง หรือแม้แต่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ส่วนใหญ่ยังต้องพัฒนาด้านการอ่านออก เขียนได้  คิดเลขเป็น และการสร้างสุขนิสัยที่ดีมีคุณภาพชีวิตดีขึ้นเป็นหลัก เมื่อหลักสูตรใช้เป้าหมายเดียวกันกับเด็กในเมืองที่มีความพร้อมทุกด้านมากกว่าและยิ่งนำเอาผลการสอบโอเน็ตมาตีค่าเป็นคุณภาพการศึกษาด้วยแล้ว เลยทำให้การพัฒนาเด็กในพื้นที่ดังกล่าวพลอยหลงทาง แก้ปัญหาและพัฒนาไม่ตรงจุดเข้าไปอีก
 
เป็นหลักสูตรที่เน้นกรอบ รูปแบบ วิธีการดำเนินการมากกว่าที่จะนำไปใช้สอนเด็กจริง หลักสูตรจึงเต็มไปด้วยหลักการ รายละเอียดในศาสตร์การทำหลักสูตร ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่าการจัดทำหลักสูตรนำแต่ละครั้งมักจะนำแต่กูรูที่เก่งทางด้านหลักการ ทฤษฎี มาดำเนินการ จึงเกรงว่ารายละเอียดทั้งหลายจะตกหล่นจึงใส่กันเต็มที่ จึงเกิดตัวชี้วัดความสำเร็จมากกว่า 2,000 ตัวชี้วัด ทั้งที่เป็นหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน แม้แต่การใช้คำบางครั้งก็ต้องแปลไทยเป็นไทยถึงจะรู้และเข้าใจได้ รวมถึงหลักสูตรแกนกลางบูรณาการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาก็เต็มไปด้วยกรอบและวิธีการที่มีรายละเอียดยิบย่อย จนเกิดความยุ่งยากต่อภาคปฏิบัติ ผลสุดท้ายการลอกหลักสูตรสถานศึกษาเพื่อให้มีไว้ตรวจสอบจึงเกิดขึ้นมากกว่าจะนำไปใช้สอน ยิ่งขั้นตอนการนำหลักสูตรสู่การสอนของ
 
ครูที่จะต้องมีการวิเคราะห์ เนื้อหาสาระ หน่วยการเรียนรู้ โครงสร้าง การออกแบบการเรียนรู้ จนถึงขั้นจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อให้ครอบคลุมมาตรฐาน บรรลุตามตัวชี้วัด เกิดผลตามสมรรถนะและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ซึ่งขั้นตอนต่าง ๆ ที่ว่านี้แม้จะเป็นหลักการที่ถูกต้องของครูมืออาชีพแต่กับสภาพการปฏิบัติงานของครูไทยทุกวันนี้ที่มีภาระงานอื่น ๆ ให้ทำจนล้นมือ จึงไม่มีเวลาที่จะไปดำเนินการตามขั้นตอนดังกล่าวได้ หรือจะมีครูทำได้อยู่บ้างแต่ส่วนใหญ่ก็หวังมีไว้เพื่อการตรวจสอบหรือประเมินวิทยฐานะมากกว่าจะใช้สอนเด็กเช่นกัน ทำให้การสอนของครูจำนวนไม่น้อยที่สอนโดยไม่ได้ดูหลักสูตรสถานศึกษาแต่จะสอนไปตามประสบการณ์เดิม เนื้อหาเดิมหรือเนื้อหาตามตำราที่วางขายในท้องตลาด เมื่อมีอาวุธดีแต่ไม่ใช้ก็ไร้ประโยชน์การพัฒนาจึงไม่บรรลุตามเป้าหมายที่หลักสูตรกำหนดไว้
 
 จากจุดอ่อนของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 ที่ได้ยกตัวอย่างมาแค่บางส่วนนี้ ก็น่าจะส่งผลกระทบต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเด็กไทยได้ไม่น้อย เมื่อเป็นเช่นนี้การแก้ไขหลักสูตรจึงอยากให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้ตระหนักว่าในการที่จะกำหนดสาระและเป้าหมายอะไรในหลักสูตรก็ขอให้คำนึงถึงศักยภาพเด็กไทยว่ามีความแตกต่างกันทั้ง ด้านสถานะความเป็นอยู่ของครอบครัว  สภาพแวดล้อมรอบข้างรวม ถึงศักยภาพด้าน ไอคิว อีคิว เอคิว เอ็มคิว หากไปกำหนดอะไรแบบเหมารวม ใช้เป้าหมายเดียวกันทั้งหมด การพัฒนาก็คงไม่ถูกฝาถูกตัวและเกิดคุณภาพตามที่ต้องการได้ ดังนั้นจึงอยากจะเสนอให้จัดหลักสูตรที่มีเป้าหมายพัฒนาเด็กแต่ละกลุ่มไปสู่คุณภาพเต็มตามศักยภาพที่มีอยู่ โดยแบ่งออกเป็น 4 หลักสูตร  ดังนี้
 
หลักสูตรแรก น่าจะจัดเป็นหลักสูตรเพื่อใช้แก้ปัญหาและพัฒนาเด็ก ป.1-ป.6 ที่ยังอ่านไม่ได้ อ่านไม่คล่อง เขียนไม่ได้ เพื่อให้อ่านออก เขียนได้ คิดเลขเป็น เกิดสุขนิสัยการดำเนินชีวิตที่ดีขึ้น หลักสูตรที่สอง สำหรับเด็กระดับรากหญ้าที่ยังต้องพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยเน้นทักษะวิชาชีพและวิชาชีวิตตามหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุขในอนาคตได้ หลักสูตรที่สาม เพื่อส่งเสริมเติมเต็มเด็กเก่งให้ก้าวไปสู่ความเป็นเลิศในสาขาวิชาเฉพาะและหลักสูตรที่ 4 เป็นหลักสูตรแกนกลาง ที่เด็กทุกคนจะต้องเรียนโดยเน้นไปที่วิชาหลักและเนื้อหาหลัก ด้านภาษาไทย คณิตศาสตร์  วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ สังคมศึกษา เป็นต้น ซึ่งการที่โรงเรียนจะเลือก
 
หลักสูตรใดไปบูรณาการกับหลักสูตรแกนกลางจัดทำเป็นหลักสูตรสถานศึกษาก็ให้ขึ้นอยู่กับคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนนั้น ๆ เพราะจะรู้ดีว่าศักยภาพของเด็กและความต้องการท้องถิ่นเป็นอย่างไร หากทำได้เช่นนี้ก็เชื่อว่าจะทำให้การพัฒนาเด็กตรงจุดเกิดผลอย่างรวดเร็วขึ้น ครูเองก็จะทำงานได้มีประสิทธิภาพเพราะไม่ต้องห่วงหน้าพะวงหลังกับการพัฒนาเด็กเก่งแก้ปัญหาเด็กอ่อนที่เหมารวมเข่งอย่างที่ผ่านมา
 
ดังนั้นในการแก้ไขหลักสูตรการศึกษาครั้งนี้ จึงอยากให้กูรูผู้รับผิดชอบทั้งหลายได้พิจารณาจุดอ่อน จุดแข็งของหลักสูตรที่ผ่านมาให้รอบด้านก่อนแล้วนำข้อมูลมาแก้ไขจะได้เดินไม่หลงทางอีก และที่สำคัญหลักสูตรใหม่ที่ว่านี้น่าจะให้ผู้ปฏิบัติได้มีโอกาสร่วมดำเนินการบ้าง เพราะเป็นผู้รู้ในบริบททั้งการจัดการเรียนการสอนและปัจจัยตัวป้อนที่ถูกส่งมาให้พัฒนาเป็นอย่างดี หากให้แต่ผู้รู้ด้านทฤษฎีอย่างเดียวมาดำเนินการก็คงเข้าอีหรอบเดิมคือผู้ทำไม่ได้ใช้ ผู้ใช้ไม่ได้ทำ ก็จะทำให้ได้หลักสูตรที่มีหลักการสวยหรูหวังผลเป็นเลิศสูง แต่ไม่เกิดผลในภาคปฏิบัติ ประโยชน์ไม่ได้ตกกับครูและนักเรียนมากนักแต่จะไปตกอยู่กับผู้พิมพ์ตำราจำหน่ายเพราะเมื่อเปลี่ยนหลักสูตรก็ต้องเปลี่ยนตำราเรียนกันใหม่อีกนั่นเอง.
 
กลิ่น สระทองเนียน
 
 
  • 26 ก.พ. 2556 เวลา 10:01 น.
  • 1,819

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

ความคิดเห็นเกี่ยวกับ : หลักสูตรจะดีหรือไม่...ให้ดูที่คุณภาพเด็ก

เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^