LASTEST NEWS

18 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 18 เม.ย. 2567สพม.ยะลา ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567  18 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 18 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.อุดรธานี เขต 4 - ผลย้ายครู 2567 สพป.อุดรธานี เขต 4 17 เม.ย. 2567สพม.ลพบุรี ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 17 เม.ย. 2567สพป.ตรัง เขต 2 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 17 เม.ย. 2567สพป.เพชรบูรณ์ เขต 1 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 17 เม.ย. 2567โรงเรียนนิยมศิลป์อนุสรณ์ รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาเกาหลี เงินเดือน 15,000 บาท สมัครตั้งแต่บัดนี้ – 25 เมษายน พ.ศ.2567 17 เม.ย. 2567โรงเรียนบัวใหญ่ รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 18,000 บาท สมัครตั้งแต่วันที่ 17 – 26 เมษายน พ.ศ.2567 17 เม.ย. 2567สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 46 อัตรา สมัครทางอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่วันที่ 24 เมษายน - 16 พฤษภาคม 2567

"หมดเวลา"พรบ.ศึกษาชาติปี42 นักวิชาการระบุต้องแก้"สมพงษ์"เรียกร้องความรับผิดชอบผู้บริหาร-นักการเมือง

  • 23 ม.ค. 2556 เวลา 09:04 น.
  • 2,617
"หมดเวลา"พรบ.ศึกษาชาติปี42 นักวิชาการระบุต้องแก้"สมพงษ์"เรียกร้องความรับผิดชอบผู้บริหาร-นักการเมือง

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

วงเสวนาทิศทางการศึกษาเห็นตรง ควรแก้ พ.ร.บ.การศึกษาชาติปี 2542 "สมพงษ์" แนะโครงสร้างใหม่ ควรทำเป็นนโยบายการเมือง ถ้าทำไม่ได้ตามเป้าต้องรับผิดชอบ ถือเป็นการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างการบริหารงานกับผลลัพธ์ทางการศึกษา ชี้ที่ผ่านมาละเลย ยกผลสอบคะแนนวิทย์-คณิต เด็กไทยออกมาตกต่ำ มีแต่คำแก้ตัว ไม่มีใครออกมารับผิดชอบ ส่วนผลตรวจราชการ ศธ.ก็มีแต่เรื่องหลอกลวง ไม่ได้สะท้อนภาพตกต่ำที่แท้จริงของการศึกษาไทย "พงศ์เทพ" เพิ่งเข้าใจที่ผ่านมามีแต่คนได้ประโยชน์ยกเว้นเด็ก 
 
    วันที่ 22 มกราคม 2556 เวลา 11.00 น. ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ จัดเสวนา “นโยบายและทิศทางการพัฒนาระบบการศึกษาไทย” ซึ่งในงานเริ่มจากการเปิดให้ผู้เข้าร่วมเสวนาได้แสดงทัศนะก่อน โดย รศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า ที่ผ่านมาเรามีกรอบและแนวทางการปฏิรูปการศึกษา แต่กลับไม่มีการขับเคลื่อน ฉะนั้นอยากให้ รมว.ศึกษาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษา ซึ่งอาจจะขับเคลื่อนไปพร้อมๆ กับนโยบายรัฐบาลด้วยก็ได้ และต้องไม่นำเรื่องการเมืองมายุ่งเรื่องการศึกษา
 
    รศ.ดร.สมพงษ์กล่าวอีกว่า ส่วนเรื่องการปรับโครงสร้างกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ที่ รมว.ศึกษาธิการจะดำเนินการเร็วๆ นี้นั้น มองว่าโครงสร้างที่ใช้อยู่มุ่งเน้นเชิงบริหารมากกว่า ทั้งอำนาจไปอยู่ในเขตพื้นที่ฯ อยู่ที่กระทรวง แต่ไม่เคยไปยุ่งเรื่องการยกระดับคุณภาพการศึกษาสู่ห้องเรียน ฉะนั้นหากจะมีการปฏิรูปโครงสร้าง ศธ.ใหม่ ก็อยากให้คำนึงที่ตัวเด็ก การยกคุณภาพการเรียนการสอนในห้องเรียนเป็นสำคัญ สำหรับเรื่องการปรับปรุงหลักสูตรนั้น มองว่าหลักสูตรใหม่ต้องไม่เน้นให้เด็กท่องจำเนื้อหา 8 กลุ่มสาระเหมือนที่ผ่านมา เพราะเราต้องฝึกให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ มีโอกาสแสดงออก อาจกำหนดสัดส่วนเรียนเนื้อหาต่อเรียนปฏิบัติ 60:40 ก็ได้ ทั้งนี้ การปรับปรุงหลักสูตรอยากให้นำคนที่เก่งเรื่องทำหลักสูตรมาดำเนินการ ดีกว่าการนำคนที่เก่งแต่ละสาขาวิชามาทำ ซึ่งอย่างคณะครุศาสตร์ก็มีผู้เชี่ยวชาญหลักสูตรมากมาย ทาง ศธ.ก็อาจเชิญไปร่วมทำหลักสูตรก็ได้
 
    “ที่ผ่านมาผลสัมฤทธิ์วิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ตกต่ำ เราก็เอาแต่แก้ตัว แล้วเรื่องก็เงียบไป รวมถึงการกำหนดสัดส่วนผู้เรียนสายสามัญและสายอาชีพที่ไม่เคยทำสำเร็จ เพราะการเมืองไม่เอาจริงเอาจัง หน่วยงานราชการเลยไม่สนใจปฏิบัติตาม และทำงานใครงานมัน แต่ผมอยากเสนอให้เชื่อมโยงความรับผิดชอบต่อการบริหารการศึกษานั้นๆ ด้วย อย่างหน่วยงานทางการเมืองต้องชัดเจนไปเลย ว่าหากทำไม่ได้ก็ต้องรับผิดชอบ ซึ่งอยากให้เป็นนโยบายการเมืองด้วย" รศ.ดร.สมพงษ์กล่าว
 
    อ.จุฬาฯ กล่าวต่ออีกว่า อีกเรื่องที่อยากให้ไปปรับปรุงคือ ข้อมูลผลตรวจราชการ ศธ.ไม่มีคุณภาพ มีกรณีอะไรที่ดีให้รายงาน อะไรที่ไม่ดีห้ามรายงาน ทำให้ไม่สะท้อนคุณภาพการศึกษาที่ต่ำลงทุกวัน ข้อมูลความจริงก็ไม่ถึงนักการเมืองหรือผู้มีหน้าที่ต้องแก้ไข ปัญหาจึงยังค้างคา อย่างไรก็ตาม การศึกษาเดินหน้าไปทุกวัน แต่ระบบระเบียบยังไม่เปลี่ยนแปลง ฉะนั้นตนขอสนับสนุนการปฏิรูปโครงสร้าง การปรับหลักสูตรให้ทันยุคสมัยต่อไป
 
    รศ.ดร.วันชัย ศิริชนะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (มฟล.) เปิดเผยว่า เห็นด้วยให้แก้ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 โดยปรับโครงสร้างกระทรวงใหม่ เพื่อเกิดความคล่องตัวในการบริหารงาน โดยเฉพาะเขตพื้นที่การศึกษา รวมถึงการพัฒนาครูที่ต้องมอบให้มหาวิทยาลัยในพื้นที่ได้มีส่วนร่วมในการจัดอบรมพัฒนาครูในโรงเรียนใกล้เคียง อย่างกรณี มฟล.มีหน้าที่พัฒนาครูใน จ.เชียงรายทั้งหมด ขณะที่การบริหารงานระบบให้เป็นหน้าที่ของส่วนกลางไปจัดการเหมือนเดิม ฉะนั้นคิดว่าให้มหาวิทยาลัยในพื้นที่ดูแลเรื่องคุณภาพครูในพื้นที่ดีกว่าจะให้ส่วนกลางซึ่งอยู่บนสุด นอกจากนี้ สำหรับเรื่องเงินวิทยฐานะของครู จริงๆ แล้วสนับสนุน แต่อยากให้มีการสำรวจใหม่ว่า หลังจากได้เงินวิทยฐานะไปแล้ว คุณภาพการศึกษาดีขึ้นหรือไม่ ทุกวันนี้ครูมีวิทยฐานะดีขึ้น แต่คุณภาพก็ยังเหมือนเดิม ฉะนั้นเสนอให้ปรับปรุงวิธีการใหม่ที่ไม่ใช่การไปลดเงินครู แต่ให้ปรับปรุงเพื่อให้ครูทำงานได้มีประสิทธิภาพขึ้น
 
    นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.ศึกษาธิการ กล่าวปิดการเสวนาว่า ปัญหาการศึกษาไทยมีมากมายไปหมด โดยเฉพาะเรื่องการปฏิรูปการศึกษา ที่ผ่านมาเราออกแบบ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติฯ ทุกคนได้ประโยชน์หมด ยกเว้นเด็ก ซึ่งตนเป็นมองว่าคุณภาพการศึกษาควรอยู่ที่เด็ก เด็กต้องสามารถยืนหยัดได้ในโลกอนาคต อย่างการปรับปรุงหลักสูตร เราต้องเน้นให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ มีความคิดสร้างสรรค์ ดีกว่าการท่องจำ
 
     “ยอมรับว่าโครงสร้าง ศธ.ปัจจุบันเป็นปัญหาและไม่เอื้ออำนวยต่อระบบการศึกษา แต่ปีนี้ผมไม่อยากให้เน้นเรื่องการปรับโครงสร้างใหญ่ ทั้งโครงสร้างกระทรวง โครงสร้างครู สพฐ. และระบบต่างๆ เพราะอยากจะเน้นแต่เรื่องคุณภาพการศึกษาเด็ก ทั้งหลักสูตรและวิธีจัดการเรียนการสอน ดังนั้นส่วนอย่างอื่นค่อยว่ากัน” นายพงศ์เทพกล่าว
 
    ศ.ดร.พฤกษ์ ศิริบรรณพิทักษ์ อดีตคณะบดีคณะครุศาสตร์ กล่าวว่า การกระจาย ศธ.ไปยังเขตพื้นที่การศึกษาฯ ในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ทั้งการบริหารงานบุคคล การบรรจุแต่งตั้ง การโยกย้ายบุคลากร แทนที่จะเป็นเรื่องดีกลับกลายเป็นเรื่องไม่ดี เพราะเรากระจายอำนาจไปยังคณะบุคคลมากกว่า ผลคือคณะกรรมการเขตพื้นที่ฯ เป็นเพียงเสือกระดาษ ได้เพียงเสนอความคิด คุมนโยบาย ไม่มีอำนาจ ขณะที่ อกคศ.เขตพื้นที่ฯ มีอำนาจตัดสินเรื่องการบริหารงานบุคคล และส่วน ผอ.เขตพื้นที่ฯ มีอำนาจเต็ม ทั้งนี้ ในส่วนคณะกรรมการสถานศึกษาก็กระจายอำนาจให้น้อยเกินไปจนทำอะไรไม่ได้ ได้เพียงอนุมัติหลักสูตรและแผนงานประจำปี ซึ่งการกระจายอำนาจให้ได้ผลสำเร็จควรกระจายให้คณะบุคคลมากกว่านี้ ไม่ใช้แค่ ผอ.เขตพื้นที่ฯ หรือ ผอ.โรงเรียนเพียงคนเดียว และคณะกรรมการเขตพื้นที่ฯ และ อกคศ.เขตพื้นที่ฯ ก็ควรเป็นคณะเดียวกัน.
 
 
  • 23 ม.ค. 2556 เวลา 09:04 น.
  • 2,617

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

ความคิดเห็นเกี่ยวกับ : "หมดเวลา"พรบ.ศึกษาชาติปี42 นักวิชาการระบุต้องแก้"สมพงษ์"เรียกร้องความรับผิดชอบผู้บริหาร-นักการเมือง

เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^