LASTEST NEWS

23 เม.ย. 2567สอบครูผู้ช่วย ต้องอ่าน! นโยบายและจุดเน้น สพฐ. ปีงบประมาณ 2567-2568 และนโยบายระยะเร่งด่วน (Quick Win) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 23 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 23 เม.ย. 2567สพป.สระบุรี เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.สระบุรี เขต 2 23 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 23 เม.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.เพชรบุรี เขต 2 23 เม.ย. 2567สพม.หนองคาย ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.หนองคาย 23 เม.ย. 2567สพป.ร้อยเอ็ด เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ร้อยเอ็ด เขต 1 23 เม.ย. 2567สพม.นครราชสีมา ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครราชสีมา 23 เม.ย. 2567สพป.เชียงใหม่ เขต 5 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.เชียงใหม่ เขต 5 23 เม.ย. 2567สพป.พระนครศรีอยุธยา เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.พระนครศรีอยุธยา เขต 1

แนวทางการดำเนินงานตามนโยบาย ลดการบ้าน ลดการสอบ และเพิ่มการเรียนรู้

  • 03 ต.ค. 2563 เวลา 17:28 น.
  • 6,729
แนวทางการดำเนินงานตามนโยบาย ลดการบ้าน ลดการสอบ และเพิ่มการเรียนรู้

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

แนวทางการดำเนินงานตามนโยบาย ลดการบ้าน ลดการสอบ และเพิ่มการเรียนรู้
เรียบเรียงโดยครูวันดีดอทคอม
ขอบคุณข้อมูลจาก สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2563 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีหนังสือแจ้ง เรื่อง แนวทางการดำเนินงานตามนโยบาย ลดการบ้าน ลดการสอบ และเพิ่มการเรียนรู้
เรียน    ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทุกเขต [กลุ่มพัฒนาและส่งเสริมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้] 

โดยมีรายละเอียดดังนี้

แนวทางการดำเนินงานตามนโยบายลดการบ้าน ลดการสอบ และเพิ่มการเรียนรู้
ความเป็นมา
     กระทรวงศึกษาธิการ มีนโยบายลดการบ้าน ลดการสอบ เพิ่มการเรียนรู้ โดยปรับลด หรือบูรณาการการสั่งการบ้าน โดยให้การบ้านเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้รวมทั้งกำหนดแนวทางที่เหมาะสมในการประเมินตามเนื้อหาและธรรมชาติวิชา เช่น การวัดผลผ่านการทำกิจกรรม การปฏิบัติงานของเด็ก หรือประเมินจากผลงาน เพื่อทดแทนการทดสอบ มุ่งเน้นการประเมินเพื่อพัฒนานักเรียน สอดคล้องกับการเรียนรู้อย่างมีความหมาย เพื่อเพิ่มการเรียนรู้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจึงจัดทำแนวทางการลดการบ้าน ลดการสอบ และเพิ่มการเรียนรู้ รายละเอียดดังต่อไปนี้
นิยามศัพท์
     การบ้าน คือ ภาระงานที่ครูมอบหมายให้นักเรียนปฏิบัติเพิ่มเติมนอกเวลาเรียนปกติ เพื่อฝึกฝนทักษะให้เกิดความชำนาญ หรือความคล่องแคล่ว ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจและประสบการณ์ รวมทั้งเตรียมความพร้อมก่อนการเรียนบทเรียนต่อไป เช่น แบบฝึกหัด การทำงานบ้าน การอ่านหนังสือ การทำรายงาน โครงงาน เป็นต้น
     การลดการบ้าน หมายถึง การลดปริมาณภาระงานของนักเรียน โดยมอบหมายภาระงานตามความจำเป็น และความเหมาะสมทั้งในด้านการพัฒนาทักษะที่จำเป็น วัย และธรรมชาติของนักเรียน เพื่อให้นักเรียนมีเวลาในการเรียนรู้และค้นหาจุดมุ่งหมายของตนเองเพิ่มขึ้น
     การสอบ คือ การใช้เครื่องมือหรือวิธีการอันมีระบบในการตรวจสอบคุณลักษณะ หรือพฤติกรรมของนักเรียน ตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดของหลักสูตร หรือจุดมุ่งหมายการเรียนรู้ว่าได้ก้าวหน้าหรือพัฒนาไปเพียงใด ซึ่งเป็นเป้าหมายการเรียนรู้ที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับนักเรียน เช่น การทำแบบทดสอบการซักถาม การสัมภาษณ์ การตรวจการบ้าน การสังเกตพฤติกรรม การประเมินตามสภาพจริง การใช้แฟ้มสะสมงาน การตรวจร่องรอยหลักฐาน และการเข้าร่วมกิจกรรมทั้งในและนอกสถานศึกษา เป็นต้น
     การลดการสอบ หมายถึง การลดการประเมินด้วยแบบทดสอบ เปลี่ยนเป็นการประเมินระหว่างเรียนด้วยวิธีการอื่น ๆ ที่ไม่สร้างความเครียดให้กับเด็ก พัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนอย่างเหมาะสม
     การเพิ่มการเรียนรู้ หมายถึง การกำหนดแนวทางร่วมกันของครู ในการลดสิ่งที่ไม่เอื้อต่อการเรียนรู้ สร้างการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการคิด การแสวงหาความรู้ เน้นให้นักเรียนปฏิบัติผ่านสถานการณ์จริงหรือบทบาทสมมติ ที่นักเรียนสามารถสร้างองค์ความรู้จากการเรียนรู้ด้วยกระบวนการที่ครูร่วมกันวางแผนเป็นอย่างดี เน้นการบูรณาการเนื้อหาหรือรายวิชา เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนเชื่อมโยงองค์ความรู้ เป็นการเรียนรู้อย่างมีความหมาย จนกลายเป็นสมรรถนะในตัวนักเรียน
 
หลักการลดการบ้าน ลดการสอบ และเพิ่มการเรียนรู้
     หลักการลดการบ้าน
     1. ลดการบ้าน/ภาระงานที่ครูมอบหมายให้นักเรียนทำนอกห้องเรียนหรือที่บ้าน โดยเน้นให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมให้เสร็จในห้องเรียน
     2. มอบหมายการบ้านเฉพาะวิชาที่เป็นทักษะที่จำเป็น เช่น ภาษาไทย คณิตศาสตร์โดยสามารถให้การบ้านให้เหมาะสมได้เท่าที่จำเป็น โดยเน้นการบ้านที่ส่งเสริมการอ่านออก เขียนได้ คิดเลขเป็น
     3. บูรณาการการบ้านทั้งภายในรายวิชาเดียวกันและข้ามรายวิชา โดยให้เป็นชิ้นงาน/ภาระงานเดียว ตามความเหมาะสมของธรรมชาติวิชา


     หลักการลดการสอบ
     1. ลดการใช้ข้อสอบในการประเมินคุณภาพผู้เรียนระหว่างเรียน โดยปรับเปลี่ยนวิธีการให้เหมาะสมตามธรรมชาติวิชา
     2. ปรับเปลี่ยนเป็นการประเมินในรูปแบบอื่นที่หลากหลาย เช่น สังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ในห้องเรียน การตอบคำถาม การสัมภาษณ์ การให้ข้อมูลย้อนกลับ การตรวจสอบร่องรอยหลักฐานหรือกิจกรรมที่นักเรียนได้ปฏิบัติทั้งในและนอกห้องเรียน เป็นต้น

     หลักการเพิ่มการเรียนรู้
     1. ปรับกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นให้นักเรียนปฏิบัติผ่านสถานการณ์จริง หรือบทบาทสมมติ
     2. ส่งเสริมกระบวนการคิด การแสวงหาความรู้
     3. ลดบทบาทการสอนของครูในห้องเรียน โดยเพิ่มเวลาให้นักเรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง มีการถกแถลงและอภิปรายกันมากขึ้น

   แนวปฏิบัติการลดการบ้าน ลดการสอบ และเพิ่มการเรียนรู้
     1. มอบหมายการบ้านให้เหมาะสมเท่าที่จำเป็นตามจุดเน้นการเรียนรู้ เพื่อให้การบ้านมีความสำคัญและฝึกหรือทบทวนอย่างมีเป้าหมาย รวมทั้งกำหนดแนวทางการตรวจสอบผลการเรียนรู้จากพฤติกรรมหรือความสามารถที่นักเรียนแสดงออกว่ามีและหรือใช้ความรู้/ทักษะในการร่วมกิจกรรม ทำงานหรือลงมือปฏิบัติงาน เพื่อทดแทนการสอบด้วยแบบทดสอบอย่างเหมาะสม และตามความจำเป็น
     2. ตรวจสอบปริมาณการบ้านของนักเรียนรายห้องเรียน เพื่อให้การมอบหมายการบ้านมีความเหมาะสมกับระยะเวลาที่ใช้ทำการบ้านของนักเรียนแต่ละวัย
     3. บูรณาการเนื้อหาการเรียนรู้ที่ใกล้เคียงกันทั้งภายในกลุ่มสาระการเรียนรู้และระหว่างกลุ่มสาระการเรียนรู้ เพื่อให้นักเรียนมีเวลาในการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองตามความสนใจมากขึ้น
     4. วางแผนกำหนดช่วงเวลาให้การบ้านและการสอบ เป็นรายสัปดาห์ หรือรายเดือน เพื่อหลีกเลี่ยงความทับซ้อน ทั้งด้านปริมาณและระยะเวลาที่ใช้ในการทำการบ้าน การสอบ ตลอดจนพิจารณา
ความเหมาะสมตามพัฒนาการของนักเรียนแต่ละช่วงวัย
     5. ออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้มีความเชื่อมโยงและต่อเนื่องกันระหว่างช่วงเวลาที่นักเรียนเรียนรู้ที่โรงเรียนและบ้าน ตัวอย่างเช่น เนื้อหาที่เป็นแนวคิดหรือหลักการ จำเป็นต้องใช้การทำความเข้าใจและการอธิบายเพิ่ม ควรเป็นช่วงเวลาที่เด็กเรียนในห้องเรียน จากนั้นมอบหมายให้เด็กปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ต่อเนื่องที่บ้าน การบ้านที่มอบหมายควรต่อเนื่องกับเรื่องที่เรียนมาแล้ว ซึ่งนักเรียนสามารถเรียนรู้และทบทวนได้ด้วยตัวเอง และมีความจำเป็นต่อการเรียนรู้ของนักเรียน
     6. ลดจำนวนครั้งของการสอบระหว่างเรียน ประเมินเท่าที่จำเป็น โดยเน้นการประเมินเพื่อปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพผู้เรียน หากจำเป็นต้องมีการใช้ข้อสอบในการทดสอบคุณภาพผู้เรียน ให้เน้นข้อสอบวัดทักษะการคิดขั้นสูงที่ประกอบด้วยสถานการณ์ให้ผู้เรียนได้ประยุกต์ใช้ความรู้ กระบวนการ/ทักษะ มีข้อคำถามที่ยั่วยุให้นักเรียนคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ตัดสินใจ และคิดสร้างสรรค์ โดยเปิดโอกาสให้นักเรียนเขียนแสดงเหตุผล แนวคิด หรือหลักการตามความเหมาะสมในแต่ละระดับชั้น
     7. จัดเตรียมแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายสำหรับนักเรียนศึกษาค้นคว้า โดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้
     8. ส่งเสริมให้นักเรียนคัดสรรผลงานที่แสดงถึงพัฒนาการและสมรรถนะของนักเรียน ใส่ลงในแฟ้มสะสมผลงาน ตามจุดมุ่งหมาย ได้แก่ การศึกษาต่อ การประกอบอาชีพ โดยอาจดำเนินการในรูปแบบสื่อดิจิทัล เช่น วีดิทัศน์ ภาพถ่าย เป็นต้น
     9. ให้ผู้บริหารสถานศึกษากำกับ ติดตามการให้การบ้านของครูอย่างสม่ำเสมอ และต่อเนื่อง
     10. ให้ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำกับ ติดตามการดำเนินงานของสถานศึกษาให้เป็นไปตามแนวปฏิบัติการลดการบ้าน ลดการสอบ และเพิ่มการเรียนร


ดาวน์โหลดรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ไฟล์แนบด้านล่าง
   1) หนังสือ ศธ 40010 / ว 2679 แนวทางการดำเนินงานตามนโยบาย ลดการบ้าน ลดการสอบ และเพิ่มการเรียนรู้ :: คลิกที่นี่
   2) แนวทางการดำเนินงานตามนโยบาย ลดการบ้าน ลดการสอบ และเพิ่มการเรียนรู้ :: คลิกที่นี่
 
  • 03 ต.ค. 2563 เวลา 17:28 น.
  • 6,729

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^