LASTEST NEWS

29 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.ชุมพร เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ชุมพร เขต 1 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567อ.ก.ค.ศ.สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 62 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567สพป.กำแพงเพชร เขต 1 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 14 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพม.นครราชสีมา รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 20 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 6 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 27 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 5 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 32 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 4 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 15 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 3 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 25 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567

ยกระดับการศึกษาต้องเริ่มที่พัฒนาครูผู้สอน

  • 23 พ.ย. 2557 เวลา 08:51 น.
  • 3,323
ยกระดับการศึกษาต้องเริ่มที่พัฒนาครูผู้สอน

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

ยกระดับการศึกษาต้องเริ่มที่พัฒนาครูผู้สอน
 
โดย...ทีมงานโลก 360 องศา
 
ประเทศฟินแลนด์คือหนึ่งในดินแดนที่ผู้คนมีคุณภาพชีวิตดีที่สุดแห่งหนึ่งของโลกซึ่งการพัฒนาระบบการศึกษาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน คือกระบวนการสำคัญในการสร้างทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพ และมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนและพัฒนาประเทศ ให้ผู้คนอยู่ดีกินดีและมีความสุข ดังนั้นระบบการศึกษาของฟินแลนด์ จึงได้รับการยอมรับในระดับโลก หากถามชาวฟินแลนด์ว่า อะไรคือปัจจัยที่ทำให้ระบบการศึกษาของประเทศพวกเขาก้าวหน้า ส่วนใหญ่จะตอบว่า “ครู” ซึ่งครูเป็นหนึ่งในอาชีพในฝันของชาวฟินแลนด์ แต่การจะเป็นครูในประเทศนี้ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย
 
ในทุกๆ ปีเด็กนักเรียนมัธยมชาวฟินแลนด์จำนวนมาก สอบแข่งขันกันอย่างเข้มข้นเพื่อเข้าเรียนคณะศึกษาศาสตร์ แต่ก็มีที่ว่างสำหรับหัวกะทิเพียงไม่กี่ร้อยที่นั่งเท่านั้น ซึ่งอาจจะสวนทางกับประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ ที่ไม่นิยมเรียนต่อในคณะนี้ สาเหตุที่เด็กนักเรียนชาวฟินแลนด์ต้องแย่งกันเข้าเรียนต่อในคณะนี้ ก็เพราะว่าจะได้มีโอกาสจบไปเป็นครู ซึ่งการเป็นครูที่ประเทศฟินแลนด์นั้น ถือว่าเป็นอาชีพที่มีเกียรติและมีผลตอบแทนที่ดีมาก เพราะครูคือตัวแปรสำคัญที่ส่งผลต่อคุณภาพของเยาวชน ผู้ซึ่งจะเติบโตไปเป็นกำลังสำคัญต่อการพัฒนาประเทศชาติในอนาคต ดังนั้นกระบวนการคัดเลือกครูที่มีคุณภาพ จึงเป็นเสมือนการสร้างอนาคตของชาติด้วยเช่นกัน
 
คุณ Kristina Heikkilä รองหัวหน้าภาควิชาการศึกษาครูแห่งมหาวิทยาลัยตุรกุเล่าให้เราฟังว่า กระบวนการผลิตครูในระดับมหาวิทยาลัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่หนึ่ง เด็กมัธยมที่อยากจะเป็นครู จะต้องผ่านการทดสอบความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และแผนภูมิ ผ่านบททดสอบจำนวน 200 หน้า เพื่อคัดผู้ที่ผ่านการทดสอบให้เหลือเพียง 250 คน ที่จะได้เข้าไปศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นกระบวนการในระยะที่สอง ที่นักศึกษาจะต้องผ่านการทดสอบเกี่ยวกับการคำนวณและวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ เพื่อประเมินทักษะการแก้ปัญหา ซึ่งเป็นทักษะสำคัญที่ผู้เป็นครูทุกๆ คนจะต้องมีความเป็นเลิศ นอกจากนั้นยังจะต้องทดสอบทักษะการทำงานเป็นทีม เช่น การร่วมกันนำเสนอแนวทางการแก้ปัญหาต่างๆ ในโรงเรียน เช่น ปัญหาการถูกเพื่อนร่วมชั้นเรียนกลั่นแกล้ง และปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองและโรงเรียน ซึ่งเป็นโจทย์ที่เมื่อพวกเขาจบไปเป็นครูแล้ว สามารถนำไปใช้แก้ปัญหาได้จริง อีกทั้งการทำงานแบบเป็นทีมของครูชาวฟินแลนด์ ถือเป็นจุดเด่นและเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ระบบการศึกษาของฟินแลนด์ก้าวหน้ายิ่งขึ้น
 

 
ในระบบการศึกษาของฟินแลนด์นั้น ครูที่จะสอนในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาได้นั้น จำเป็นจะต้องจบปริญญาโทเป็นอย่างน้อย ทั้งนี้เพื่อให้มั่นใจได้ว่าผู้ที่จะมาทำหน้าที่สั่งสอนวิชาการให้เด็กๆ มีความรู้และความสามารถมากเพียงพอ นอกจากนั้นแล้วระบบการเรียนการสอนของที่นี่จะมีครูประจำชั้น หรือ Class Teacher คอยดูแลและสังเกตพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็กๆ อย่างใกล้ชิด ในขณะที่ครูประจำวิชา หรือ Subject Teacher จะมุ่งมั่นและตั้งใจกับการสอน เพื่อให้เด็กได้รับความรู้มีความเข้าใจและสามารถนำไปใช้งานในชีวิตประจำวันได้จริง นอกจากนั้นแล้วทุกโรงเรียนจะมีครูพิเศษที่เรียกว่า Special Teacher คอยทำหน้าที่ช่วยเหลือเด็กที่มีปัญหาในการเรียน หรือไม่สามารถเข้าใจบทเรียนได้ทันเพื่อนๆ ในชั้น เพราะฟินแลนด์มีปรัชญาด้านการศึกษาว่า “ทุกคนควรมีคุณภาพ” และ “ทุกคนควรได้รับโอกาสเท่าเทียมกัน”
 
อาชีพครูในประเทศฟินแลนด์ เป็นอาชีพที่มีผลตอบแทนสูงและมีเกียรติเท่าๆ กันกับอาชีพหมอหรือว่าทนายความเลยทีเดียว โดยมีรายได้ต่อเดือนประมาณ 2,000-4,000 ยูโรคิดเป็นเงินไทยก็หลักแสนบาท แต่ถ้าหากว่ามีความสามารถในการสอนที่ดี และมีประสบการณ์มาก ก็อาจจะได้เงินเดือนประมาณ 5,000 ยูโร หรือประมาณ 2 แสนกว่าบาท แต่ก็ต้องบอกว่าไม่ง่ายเลย เพราะจากจำนวนผู้สอบเข้าแข่งขันนับพันคนทั่วประเทศ จะคัดเลือกให้เหลือเพียงร้อยกว่าคนเท่านั้นที่จะมาเป็นครูได้ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนเพียงร้อยละ 5 เท่านั้น อีกทั้งคนที่เป็นครูจะต้องมีจิตวิญญาณของความเป็นครูอย่างเต็มเปี่ยม เพราะจะต้องแบกรับความคาดหวังต่ออนาคตของเด็กๆ ชาวฟินแลนด์ไว้อีกด้วย
 
เนื่องจากครูที่ฟินแลนด์จะต้องจบการศึกษาในระดับสูงและต้องมีขีดความสามารถในการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้สอดคล้องกับยุคสมัยและพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กที่เปลี่ยนไป ดังนั้นครูที่นี่จึงได้รับเอกสิทธิ์ในการสร้างหลักสูตรการเรียนการสอนของตนเองได้ และยังสามารถใช้เครื่องมือหรือวิธีการสอนที่แตกต่างกันออกไปได้ ซึ่งคุณ Arya Virta หัวหน้าภาควิชาการศึกษาครูแห่งมหาวิทยาลัยตุรกุ ให้ความเห็นว่าผลจากการยกระดับการศึกษา คือ การได้ครูที่มีคุณภาพและมาตรฐานสูงขึ้น ซึ่งผลจากการปลูกฝังจิตวิญญาณในการเป็นครูและการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ เมื่อครั้งพวกเขาศึกษาอยู่ในระดับมหาวิทยาลัย ได้ทำให้พวกเขาตระหนักถึงการคิดค้นกระบวนการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ ซึ่งรัฐบาลก็ให้ความเชื่อใจในหลักสูตรที่พวกเขาคิดค้นกันขึ้นมา เพราะเชื่อมั่นว่าครูทุกคนมีเป้าหมายตรงกันคือ พัฒนาระบบการศึกษาให้ดีที่สุด


 
การที่ครูมีเอกสิทธิ์ในการสอนนั้น ทำให้สามารถสร้างสรรค์หลักสูตรและวิธีการสอนของตัวเองได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ แต่อย่าลืมว่าอนาคตของเด็กๆ นั้นอยู่ในกำมือของคนที่เป็นครู ถ้าหากว่าครูจะทำหน้าที่เพียงแค่ท่องตำรามา แล้วก็บอกให้เด็กจดตามหรือว่าให้การบ้านเด็กปริมาณมากๆ ตามตำราของส่วนกลาง อาจจะไม่ใช่วิธีการที่เหมาะสมในโลกยุคปัจจุบันแล้ว นี่คือสิ่งที่ทำให้การศึกษาของประเทศฟินแลนด์มีคุณภาพและได้รับการยอมรับระดับโลก แต่นั่นก็ไม่ได้หมายถึงว่าประเทศอื่นๆ จะสามารถลอกเลียนแบบวิธีการนี้ไปใช้ได้ง่ายๆ เพราะจะต้องมีการปรับปรุงและก็มีการปฏิรูปการศึกษาที่เหมาะสมกับบริบททางสังคมของแต่ละประเทศอีกด้วย และหนึ่งในวิธีการที่จะต้องทำ คือ การเพิ่มประสิทธิภาพหรือพัฒนาคุณภาพของครูนั่นเอง
 
 
  • 23 พ.ย. 2557 เวลา 08:51 น.
  • 3,323

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

ความคิดเห็นเกี่ยวกับ : ยกระดับการศึกษาต้องเริ่มที่พัฒนาครูผู้สอน

เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^