LASTEST NEWS

25 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 25 เม.ย. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 25 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 25 เม.ย. 2567สพป.เพชรบูรณ์ เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.เพชรบูรณ์ เขต 2 25 เม.ย. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.บุรีรัมย์ เขต 2 25 เม.ย. 2567สพม.สุราษฎร์ธานี ชุมพร ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.สุราษฎร์ธานี ชุมพร 25 เม.ย. 2567สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 1 25 เม.ย. 2567สพป.ยะลา เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ยะลา เขต 1 25 เม.ย. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 7 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.นครราชสีมา เขต 7 25 เม.ย. 2567สพป.นนทบุรี เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.นนทบุรี เขต 1

เด็กไทยรั้งรองบ๊วยประเมินไอซีที

  • 22 พ.ย. 2557 เวลา 09:49 น.
  • 1,845
เด็กไทยรั้งรองบ๊วยประเมินไอซีที

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

เด็กไทยรั้งรองบ๊วยประเมินไอซีที
 
สสวท.เผยผลประเมินไอซีทีเด็กไทยเทียบนานาชาติ พบอาการร่อแร่ คว้ารองบ๊วย ได้อันดับ 13 คะแนนเฉลี่ยต่ำกว่าคะแนนเฉลี่ยนานาชาติ ชี้ครูไทยสอนแต่โปรแกรมสำนักงาน ไม่สอนคิดวิเคราะห์-แก้ปัญหา
 
วันนี้ (21 พ.ย.) ที่โรงแรมรอยัลปริ๊นเซส หลานหลวง กทม. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) จัดแถลงข่าวผลการวิจัยโครงการประเมินการเรียนรู้คอมพิวเตอร์และสารสนเทศ (InternationalComputer and Information Literacy Study ; ICILS) ของนักเรียนไทยเทียบกับนานาชาติ โดยมี รศ.ดร.พินิติ รตะนานุเลขาธิการสภาการศึกษา พร้อมด้วย ดร.สุพัตรา ผาติวิสันต์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สสวท.และ ดร.ชัยวุฒิ เลิศวนสิริวรรณ ผู้ช่วยนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ สสวท.ร่วมแถลงข่าว โดย ดร.ชัยวุฒิ กล่าวว่า โครงการ ICILS จัดขึ้นโดยสมาคมนานาชาติที่ทำหน้าที่ประเมินผลด้านการศึกษาหรือ IEA เพื่อประเมินผลเกี่ยวกับการรู้คอมพิวเตอร์และสารสนเทศของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยสอบถามผู้บริหารโรงเรียน ครูนักเรียนและผู้รับผิดชอบด้านไอซีทีของโรงเรียนในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้คอมพิวเตอร์และสารสนเทศซึ่งมีประเทศเข้าร่วมโครงการ 20 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย อาร์เจนตินาแคนาดา สวิสเซอร์แลนด์ ชิลี โครเอเชีย สาธารณรัฐเช็ค เดนมาร์ก ฮ่องกง เยอรมนี เกาหลีใต้ ลิธัวเนีย เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์โปแลนด์ สาธารณรัฐสโลวัค สโลวีเนียรัสเซีย ตุรกี และไทยโดยมีนักเรียนกลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมประเมินรวม 59,430 คนในส่วนของไทยได้ใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้น ม. 2จากสถานศึกษาทุกสังกัด 3,646คน จาก 198 โรงเรียน
 
ดร.ชัยวุฒิ กล่าวต่อไปว่าทางโครงการได้กำหนดให้ค่าคะแนนเฉลี่ยของผลการทดสอบเท่ากับ 500คะแนน ซึ่งผลการประเมินพบว่า ประเทศที่ได้คะแนนสูงกว่าค่าเฉลี่ยที่ตั้งไว้ อันดับ 1คือ สาธารณรัฐเช็ค ได้ 553 คะแนน รองลงมาคือ ออสเตรเลีย ได้ 542คะแนน โปแลนด์ และนอร์เวย์ ได้ 537 คะแนน เกาหลีใต้ ได้ 536คะแนน เยอรมนี ได้ 523 คะแนน สาธารณรัฐสโลวัค ได้ 517คะแนน รัสเซีย ได้ 516 คะแนน โครเอเชีย ได้ 512คะแนน และสโลวีเนีย ได้ 511 คะแนนส่วนประเทศที่ได้คะแนนต่ำกว่าค่าเฉลี่ยที่ตั้งไว้ คือ ลิธัวเนีย ได้ 494คะแนน ชิลี ได้ 487 คะแนน ส่วนประเทศไทย อยู่อันดับที่ 13ได้ 373 คะแนน ซึ่งเป็นอันดับสองนับจากท้ายที่ได้คะแนนต่ำสุด คือ ตุรกี ได้ 361 คะแนนอย่างไรก็ตามสำหรับประเทศไทยเมื่อจำแนกผลการประเมิน ตามสังกัด พบว่า นักเรียนในโรงเรียนสาธิต สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา(สกอ.) ได้คะแนนเฉลี่ย 518 คะแนนถือว่าสูงกว่าค่าเฉลี่ยนานาชาติที่ตั้งไว้ และสูงกว่าโรงเรียนในสังกัดอื่นๆรองลงมา คือโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) ได้ 395คะแนน โรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)ที่เปิดสอนเฉพาะ ม.1-6 ได้ 382คะแนน โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ได้ 377 คะแนน โรงเรียนสังกัดเทศบาล/ท้องถิ่นได้ 346 คะแนน และโรงเรียนขยายโอกาสสังกัด สพฐ. ได้ 330คะแนน
 
“จากการประเมินครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่าควรต้องมีการปรับปรุง สาระการเรียนรู้ของหลักสูตรแกนกลางที่แสดงให้เห็นกระบวนการและทักษะที่จะเกิดกับผู้เรียนโดยเฉพาะทักษะการคิดวิเคราะห์ รวมทั้งควรปรับวิธีการวัดและประเมินผลให้สอดคล้องกัน เพราะปัจจุบันครูเน้นสอน และวัดผลแต่โปรแกรมสำนักงานไม่ฝึกให้เด็กรู้จักใช้ทักษะและกระบวนการแก้ปัญหานอกจากนี้ต้องปรับโครงสร้างหลักสูตรวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารมาอยู่ในกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์จากเดิมที่อยู่ในกลุ่มสาระการงานพื้นฐานอาชีพและเทคโนโลยี ควรจัดอบรมครูในทุกวิชาให้สามารถใช้ไอซีทีในการเรียนการสอนได้เปิดโอกาสให้นักเรียนเข้าถึงไอซีทีเพื่อประโยชน์ในการเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลาทั้งในโรงเรียนและที่บ้าน” ดร.ชัยวุฒิ กล่าว.
 
 
  • 22 พ.ย. 2557 เวลา 09:49 น.
  • 1,845

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

ความคิดเห็นเกี่ยวกับ : เด็กไทยรั้งรองบ๊วยประเมินไอซีที

เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^