LASTEST NEWS

20 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 20 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครสวรรค์ - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครสวรรค์ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 2 (รอบที่ 1) สพป.นราธิวาส เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.นราธิวาส เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.น่าน เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.น่าน เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครพนม - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครพนม 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.ราชบุรี เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ราชบุรี เขต 2 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 2) สพป.ขอนแก่น เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ขอนแก่น เขต 3

“ณรงค์”สั่งลดวิชาโอเน็ต-ฟื้นสอบยูเน็ต

  • 20 พ.ย. 2557 เวลา 16:06 น.
  • 1,914
“ณรงค์”สั่งลดวิชาโอเน็ต-ฟื้นสอบยูเน็ต

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

“ณรงค์”สั่งลดวิชาโอเน็ต-ฟื้นสอบยูเน็ต
 
"เสมา1"ให้การบ้าน สทศ. ลดวิชาสอบโอเน็ต พร้อมฟื้นสอบยูเน็ตแต่ไม่บังคับสอบทุกคน ประเดิมวัดสมรรถนะภาษาไทย-อังกฤษ ชี้ใช้เครื่องมือต่างชาติมานานควรมีที่เป็นของไทยได้แล้ว ด้าน“สัมพันธ์”ย้ำยังไม่เรียกว่ายูเน็ต
 
วันนี้ (20 พ.ย.) ที่สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รมว.ศึกษาธิการ พร้อมด้วย ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร รมช.ศึกษาธิการ ได้เดินทางเข้าตรวจเยี่ยม และติดตามผลการดำเนินงานของ สทศ. พร้อมทั้งหารือถึงแนวคิดของผู้บริหารองค์กรหลักของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ที่ได้เสนอให้ปรับลดจำนวนกลุ่มสาระการเรียนรู้ในการจัดสอบแบบทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน หรือโอเน็ต จากเดิมสอบทั้งหมด 8 กลุ่มสาระฯ ให้เหลือเฉพาะ 4 วิชาหลัก ได้แก่ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ส่วนวิชาอื่นๆ เช่น สังคมศึกษา พลศึกษา สุขศึกษา เป็นต้น ให้ทางโรงเรียนเป็นผู้จัดสอบเอง โดย พล.ร.อ.ณรงค์กล่าวว่า ที่ประชุมได้มีการแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง โดยส่วนใหญ่เห็นด้วยกับแนวทางดังกล่าว แต่มีข้อเสนอแนะว่าอยากให้ สทศ. จัดสอบกลุ่มสาระสังคมศึกษาด้วย เนื่องจากในกลุ่มนี้มีวิชาย่อยที่สำคัญ เช่น ประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง ซึ่งถือเป็นวิชาที่สำคัญที่ควรใช้ข้อสอบกลางเดียวกันเพื่อให้ได้มาตรฐาน แต่อาจปรับสัดส่วนให้น้อยลง และที่เหลือให้โรงเรียนจัดสอบ เพราะมีบางวิชาที่มีเนื้อหาที่เชื่อมโยงกับท้องถิ่น และในแต่ละพื้นที่มีบริบทที่แตกต่างกัน ซึ่งโรงเรียนน่าจะออกข้อสอบได้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของเด็ก และสามารถวัดผลได้ดีกว่า แต่ทั้งหมดยังไม่ถือเป็นข้อสรุป จึงได้มอบให้ สทศ. นำแนวคิดดังกล่าว ไปหารือในที่ประชุมคณะกรรมการบริหาร สทศ. ว่ามีความเห็นอย่างไร จากนั้นให้สรุปข้อเสนอว่าจะดำเนินการอย่างไร เสนอ ศธ. พิจารณาต่อไป
 
“ขณะนี้ ศธ. กำลังจัดทำโครงการปฏิรูปสู่การปฏิบัติ โดยกระจายอำนาจให้ 300 โรงเรียน ใน 20 เขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ สามารถบริหารจัดการในทุกเรื่องด้วยตนเอง ซึ่งหลักสูตรการเรียนการสอนก็เป็นส่วนหนึ่งที่โรงเรียนต้องไปดำเนินการออกให้สอดคล้องกับบริบทของแต่ละพื้นที่ ดังนั้นหากใช้ข้อสอบที่ออกโดยส่วนกลางทั้งหมด ก็อาจจะไม่สอดคล้องกับหลักสูตรของแต่ละพื้นที่”รมว.ศึกษาธิการ กล่าวและว่า ส่วนข้อกังวลว่า หากให้โรงเรียนจัดสอบเอง ข้อสอบจะมีมาตรฐานไม่เท่าเทียมกัน และจะมีผลต่อการนำไปใช้ในการเข้าศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นนั้น ตนคิดว่าที่สุดแล้วผู้ใช้จะเป็นผู้ตัดสินเองว่า จะพิจารณาใช้คะแนนโอเน็ตวิชาใด และในสัดส่วนเท่าใด
 
พล.ร.อ.ณรงค์ กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้ที่ประชุมยังได้หารือถึงการจัดการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติระดับอุดมศึกษา หรือยูเน็ต โดยเรื่องนี้ต้องเดินหน้าต่อ แต่การสอบดังกล่าวจะไม่มีการบังคับให้สอบทุกคน โดยให้เป็นเรื่องของความสมัครใจ ซึ่งเบื้องต้นจะเป็นการจัดวัดสมรรถนะการสื่อสารด้านภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษในระดับปริญญาตรีก่อน ทั้งนี้ในส่วนที่เคยมีการคัดค้านการสอบยูเน็ตนั้น ตนคิดว่ายังควรต้องมีการสอบ เพราะที่ผ่านมาเราเชื่อถือการวัดผลของต่างประเทศมาเป็นเวลานาน จึงคิดว่าถึงเวลาแล้วที่ต้องมีการสร้างรูปแบบการวัดผลที่ได้มาตรฐาน และเทียบเคียงกับต่างประเทศได้ โดย สทศ. ต้องสร้างความน่าเชื่อเถือโดยเริ่มต้นจากให้สถานประกอบการ เห็นความสำคัญของการสอบยูเน็ต และนำคะแนนไปใช้ในการพิจารณารับคนเข้าทำงาน ซึ่งหากทำได้เช่นนี้ต่อไปมหาวิทยาลัย และนักศึกษา ก็จะให้ความสำคัญมาสอบยูเน็ตมากขึ้น
 
รศ.ดร.สัมพันธ์ พันธุ์พฤกษ์ ผู้อำนวยการ สทศ. กล่าวว่า การจัดสอบดังกล่าวยังไม่ได้เรียกว่าเป็นการจัดสอบยูเน็ต แต่เป็นการให้บริการสอบวัดสมรรถนะของ สทศ.ในรูปแบบหนึ่ง ซึ่งหากสถานประกอบการมีความพึงพอใจก็สามารถนำคะแนนไปใช้ในการพิจารณารับคนเข้าทำงานได้
 
 
  • 20 พ.ย. 2557 เวลา 16:06 น.
  • 1,914

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

ความคิดเห็นเกี่ยวกับ : “ณรงค์”สั่งลดวิชาโอเน็ต-ฟื้นสอบยูเน็ต

เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^