LASTEST NEWS

20 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 20 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครสวรรค์ - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครสวรรค์ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 2 (รอบที่ 1) สพป.นราธิวาส เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.นราธิวาส เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.น่าน เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.น่าน เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครพนม - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครพนม 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.ราชบุรี เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ราชบุรี เขต 2 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 2) สพป.ขอนแก่น เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ขอนแก่น เขต 3

ชี้ชัด "เด็กไทย อ่านไม่ออก ไปต่อไม่ได้" เร่งเครื่องปฏิรูปการอ่าน

  • 09 พ.ย. 2557 เวลา 10:38 น.
  • 1,733
ชี้ชัด "เด็กไทย อ่านไม่ออก ไปต่อไม่ได้" เร่งเครื่องปฏิรูปการอ่าน

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

ชี้ชัด "เด็กไทย อ่านไม่ออก ไปต่อไม่ได้" เร่งเครื่องปฏิรูปการอ่าน

เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) ร่วมกับสำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชนและครอบครัว สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดเวทีปฏิรูปการเรียนรู้สู่การศึกษาเพื่อคนทั้งมวล ครั้งที่ 33 จังหวัดปฏิรูปการเรียนรู้โดยใช้พื้นที่เป็นฐานตอนที่ 3 โดยนำ 2 กรณีศึกษา จ.สุโขทัย ยกระดับคุณภาพการศึกษา จบ ป.3 อ่านออก เขียนได้ทุกคน และ จ.ลำปาง นำยุทธศาสตร์ใช้ รร.ขนาดกลางลดความเหลื่อมล้ำคุณภาพสถานศึกษา ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ

นายมานพ ษมาวิมล ผอ.สพป.สุโขทัย เขต 2 กล่าวว่า การอ่านออก เขียนได้ เป็นพื้นฐานของการเรียนทุกวิชา หากต้องการพัฒนาคุณภาพการศึกษาจะมองข้ามไม่ได้ และยังเป็นเครื่องมือสำคัญในการแสวงหาความรู้ด้วย สำหรับ จ.สุโขทัย เราใช้มาตรการเพื่อยกระดับคุณภาพการเรียนการสอนในวิชาภาษาไทย ดังนี้ 1) เน้นการอ่านออก เขียนได้ ตั้งแต่ชั้น ป.1 2) จัดทำบัญชีคำพื้นฐานเพื่อเป็นเครื่องมือในการสอนให้ครูและนักเรียนได้ทำงานร่วมกัน 3) ให้ รร.ปรับการสอนการอ่านเป็นแจกลูกประสมคำ และให้อิสระ รร.คิดวิธีสอนหรือนวัตกรรมใหม่ๆ 4) สนับสนุนให้ รร.จัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านแก่นักเรียน 5) ประเมินการอ่านออก เขียนได้ของนักเรียนทุกคน ทุกชั้นเรียน ภาคเรียนละ 1 ครั้ง 6) มอบรางวัลให้แก่ รร.ที่มีนักเรียนอ่านออก เขียนได้ 100% ในทุกชั้นเรียน และใช้ผลการอ่านออก เขียนได้ของนักเรียนเป็นองค์ประกอบหลักในการพิจารณาความดีความชอบ การย้ายครู ผู้บริหาร และ 7) จัดการนิเทศติดตามแบบกัลยาณมิตร

“สุโขทัยเป็นจังหวัดที่พ่อขุนรามคำแหง ทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นมา ฉะนั้น เด็กสุโขทัย จบ ป.3 ต้องอ่านออก เขียนได้ทั้งจังหวัดทุกคน เพราะเครื่องมือการแสวงหาความรู้ของเด็กที่ดีคือการอ่าน ถ้าเด็กอ่านภาษาไทยไม่ได้ก็ไม่สามารถเรียนวิชาอื่นได้ โดยจะยกคุณภาพไม่ให้น้อยหน้าจังหวัดอื่นๆ และนำข้อมูลเข้าไปในแผนพัฒนาจังหวัด เพื่อให้ทุกพื้นที่นำไปสู่การปฏิบัติ อีกทั้งจะยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เพื่อให้นักเรียนมีคุณภาพและมาตรฐานตามที่หลักสูตรกำหนด โดยมุ่งพัฒนาให้เกิดความสมดุลทั้งด้านความรู้ ความคิด ความสามารถ ความดีงาม และความรับผิดชอบต่อสังคม” นายมานพ กล่าว

ผศ.จำลอง คำบุญชู คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มรภ.ลำปาง กล่าวว่า โครงการวิจัยพัฒนากลไกข้อมูลกระบวนการเพื่อลดความเหลื่อมล้ำคุณภาพสถานศึกษาขนาดกลาง มีจุดเริ่มต้นจากเวทีพูดคุยของเครือข่ายครู รร. มหาวิทยาลัย และภาคประชาสังคม จนพบปัญหาความเหลื่อมล้ำของคุณภาพการศึกษาใน จ.ลำปาง และพัฒนาสู่ยุทธศาสตร์การทำงานกับ รร.ขนาดกลาง โดยเอาพื้นที่ลำปางเป็นตัวตั้ง ไม่แบ่งแยกสังกัด ประสานกลไกภาคีทุกภาคส่วนเข้ามาร่วมกันทำงานบนฐานข้อมูล ไม่ใช่การทำตามกระแสความรู้สึก โดยเน้นการทำข้อมูล 3 ด้าน ได้แก่ คุณภาพ ประสิทธิภาพ และโอกาส

ศ.นพ.ประเวศ วะสี ประธานในที่ประชุม กล่าวว่า จ.สุโขทัย เน้นเรื่องการอ่านเป็นเรื่องสำคัญ เพราะประเทศไทยคนอ่านหนังสือน้อยมาก ทำให้ไม่เข้าใจเรื่องที่ซับซ้อน เด็กดูทีวี ฟังวิทยุก็ไม่ช่วย เพราะข้อมูลผ่านไปค่อนข้างเร็ว ดังนั้น การอ่านจะช่วยให้เข้าใจเรื่องที่ซับซ้อนได้ง่ายกว่า ต้องปฏิรูปตัวเองไปสู่การเป็นสังคมแห่งการอ่านให้ได้

ทั้งนี้ มีผลงานวิจัยพบว่าการอ่านเป็นการพัฒนาสมองทำให้สมองดี โดยสมองส่วนหน้าเกี่ยวกับสติปัญญาและศีลธรรม เพราะศีลธรรมเป็นเรื่องของการมีเหตุผล ส่วนสมองส่วนหลังเป็นสมองของสัตว์เลื้อยคลาน การเต้นของหัวใจ การต่อสู้เพื่ออยู่รอด ซึ่งสังคมไทยมักใช้สมองส่วนหลังมากเป็นสังคมของการใช้อำนาจ

ดังนั้น ถ้าใช้อำนาจมากเด็กจะคิดต่อสู้ จึงต้องให้เด็กได้คิดริเริ่มและทำเองเป็น ฉะนั้น ขอสนับสนุน จ.สุโขทัย ประกาศเป็นจังหวัดแห่งการอ่าน เพื่อเป็นตัวอย่างให้กับจังหวัดอื่นๆ ส่วน จ.ลำปาง เลือกประเด็นความเหลื่อมล้ำ ที่เป็นปัญหาใหญ่ระดับโลก ซึ่งมีหลายมิติ ทั้งเชิงอำนาจ สังคม เศรษฐกิจ และรายได้ ดังนั้นต้องเลือกให้ชัดเจนว่าจะทำความเหลื่อมล้ำเรื่องอะไร ซึ่งขอเสนอประเด็นความเหลื่อมล้ำที่เห็นได้ง่ายคือ รายได้ของผู้ปกครองเป็นผลกระทบตั้งแต่ในครรภ์ ถ้าพ่อแม่ยากจน ลูกที่อยู่ในครรภ์จะได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ ขาดการเจริญเติบโต รวมทั้งระบบข้อมูลซึ่งเป็นเรื่องสำคัญ เพราะถ้ารู้ข้อมูลจะทำให้รู้เรื่องที่จะต้องการดำเนินการได้ง่ายขึ้น
ด้าน นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ ประธานคณะกรรมการบริหารแผน คณะที่ 4 สสส. กล่าวว่า การตั้งโจทย์เรื่องการอ่านอยากให้มองบริบทเชิงจังหวัดให้กว้างขึ้น ซึ่งการส่งเสริมการอ่านควรเริ่มตั้งแต่ปฐมวัย และบูรณาการการทำงานทั้งฟากสาธารณสุขและการศึกษา รวมทั้งต้องเพิ่มคุณภาพในเรื่องที่อ่านด้วยว่า "อ่านอะไร" เพราะส่งผลต่อความคิดของเด็ก เช่น วัฒนธรรม อาชีพ ซึ่งจะปูพื้นฐานความคิดให้แก่เด็กไปพร้อมๆ กัน กรณีลำปาง ดึงพลังของ รร.ทุกสังกัดได้จะสามารถเชื่อมโยงใน 2 ประเด็น คือ 1.เชื่อมโยงระหว่างระบบ เช่น ปฐมวัย-ประถม, ประถม-มัธยม และมัธยม-อาชีวะ และ 2.เชื่อมโยงภายในระบบเดียวกัน ซึ่งหากทำได้สำเร็จจะทำให้เกิดคุณภาพ ได้ขนาด รร.ที่เหมาะสม สามารถผลิตและพัฒนาครูได้ตามที่ต้องการ

ขณะที่ ศ.กิตติคุณสุมน อมรวิวัฒน์ ราชบัณฑิต กล่าวว่า สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงบรรยายเรื่อง “อดีตเพื่ออนาคต : การศึกษาเพื่อการพัฒนาประเทศ” ในงาน “วันสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” ครั้งที่ 26 และในวาระครบ 40 ปีบัณฑิตวิทยาลัย ที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2557 ที่ผ่านมา ทรงแสดงความห่วงใยเรื่องการอ่านมาก โดย จ.สุโขทัยทำได้ตรงเป็นการสนองพระราชดำรัสอย่างดียิ่ง และยังได้ตรัสถึงความเหลื่อมล้ำของเด็กชนบทและเด็กในเมือง ทั้งนี้ โจทย์การปฏิรูปการศึกษาของประเทศไทยภายใน 3-4 เดือนนี้ เป็นการปฏิรูปการเรียนรู้คุณภาพของผู้เรียนโดยเน้น 3 เรื่อง คือ เพิ่มพูนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เน้นทักษะในศตวรรษที่ 21 และการเป็นพลเมืองดี

อย่างไรก็ตาม การจัดยุทธศาสตร์ที่สำคัญที่สุดคือมุ่งเน้นการศึกษาเชิงพื้นที่ ฉะนั้น ในวันนี้ตรงเป้าหมายมาก จุดเด่นของ จ.สุโขทัย คือการประกาศนโยบายเดียวกับพ่อขุนรามคำแหง ก็คือรบให้ชนะ เพราะการจะรบชนะได้ต้องอ่านออก เขียนได้ เพื่อเปิดประตูสู่การเรียนรู้ที่ชัดเจน ส่วน จ.ลำปาง เป็นการทำงานร่วมกัน และต้องทำงานดิ่งเดี่ยวไปที่คุณภาพการศึกษาของเด็ก ทั้งนี้ ตัวอย่างของอำเภอเสริมงาม จ.ลำปาง ที่ปฏิรูปโครงสร้างการศึกษา โดยสอนเรื่องความพอเพียง เพศวิถี เงินทองของมีค่า คนดีศรีเมืองเสริม ทำให้เห็นตัวอย่างของการปฏิรูปหลักสูตรที่ชัดเจนเรื่องการศึกษาในพื้นที่.

ที่มาของข่าว : หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ วันที่ 9 พฤศจิกายน 2557
  • 09 พ.ย. 2557 เวลา 10:38 น.
  • 1,733

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

ความคิดเห็นเกี่ยวกับ : ชี้ชัด "เด็กไทย อ่านไม่ออก ไปต่อไม่ได้" เร่งเครื่องปฏิรูปการอ่าน

เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^