LASTEST NEWS

29 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.ชุมพร เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ชุมพร เขต 1 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567อ.ก.ค.ศ.สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 62 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567สพป.กำแพงเพชร เขต 1 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 14 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพม.นครราชสีมา รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 20 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 6 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 27 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 5 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 32 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 4 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 15 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 3 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 25 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567

หลักสูตรใหม่ใส่ความหลากศาสนา กฤษณพงศ์เผยเชิญนักวิชาการมาช่วยร่างเชื่อแก้ปัญหา3จังหวัดชายแดนใต้

  • 29 ก.ย. 2557 เวลา 06:26 น.
  • 1,398
หลักสูตรใหม่ใส่ความหลากศาสนา กฤษณพงศ์เผยเชิญนักวิชาการมาช่วยร่างเชื่อแก้ปัญหา3จังหวัดชายแดนใต้

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

หลักสูตรใหม่ใส่ความหลากศาสนา กฤษณพงศ์เผยเชิญนักวิชาการมาช่วยร่างเชื่อแก้ปัญหา3จังหวัดชายแดนใต้
 
ฤษณพงศ์ระบุปฏิรูปการศึกษาหลักสูตรใหม่ ใส่การยอมรับความหลากหลายมิติทางศาสนา วัฒนธรรมเข้าไปด้วย โดยนำเชิญนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญด้านศาสนามาช่วยร่าง เชื่อเป็นหนทางนำสันติสุขมาสู่ประเทศ ชี้ที่ผ่านมาพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ขาดการดูแล ละเลยความเท่าเทียมกันทางการคึกษา 
 
    ศ.ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษา (ศธ.) แสดงปาฐกถาพิเศษเรื่อง “ทิศทางการปฏิรูปการศึกษากับสังคมพหุวัฒนธรรม” ในงานเสวนาปฏิรูปการศึกษาด้วยบูรณาการ และเปิดตัวหนังสือสุขศึกษาพลศึกษาบูรณาการอิสลาม ว่าเรื่องการปฏิรูปการศึกษาเริ่มครั้งแรกเมื่อ 2542 และครั้งที่ 2 เมื่อ 2552 ซึ่งพบว่าใน 10 ปีที่ผ่านมา ศธ.ใช้งบประมาณเพื่อการศึกษาจำนวนมาก เป็นอันดับต้นๆ ของเอเชีย ซึ่งต้องยอมรับว่าการปฏิรูปที่ดำเนินการกันมาในอดีตนั้นยังไม่ประสบความสำเร็จ เพราะว่าไม่สามารถยกระดับทางการศึกษาได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องผลสัมฤทธิ์และเยาวชนจากการวัดผลการทดสอบทางการศึกษาจากส่วนกลางนั้น แสดงให้เห็นว่าคะแนนเฉลี่ยไม่ถึง 50% และในวิชากลุ่มสาระหลักก็มีแนวโน้มที่ลดต่ำลง และในด้านพฤติกรรมของเด็กก็มีงานวิจัยจำนวนมากที่ชี้ถึงพยายามความเสี่ยงที่ผิดศีลธรรมของเยาวชน ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้สัมพันธ์กับการเข้าถึงสื่อทางสังคมต่างๆ และยังมีเรื่องของระบบประกันสุขภาพของนักเรียน ที่ครูจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบภาระงานด้านเอกสาร ทำให้ครูไม่มีเวลาเตรียมการสอนให้แก่เด็ก จากงานวิจัยพบว่า ใน 1 ปี ครูต้องทำงานที่ไม่เกี่ยวข้องกับการศึกษาประมาณ 70 วันต่อ 200 วัน
 
    รมช.ศธ.กล่าวว่า นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่แสดงถึงการใช้เวลาอยู่ในห้องเรียนของเด็กไทย ว่ามากกว่าประเทศอื่นในภูมิภาค แต่กลับยังต้องออกไปเรียนพิเศษเพิ่มเติม ดังนั้นเป็นเรื่องที่เราจะต้องหาสาเหตุว่าสิ่งสำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหาทางการศึกษาคืออะไร เพราะจากงานวิจัยหลายๆ ชิ้นก็แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยไม่ได้บกพร่องในเรื่องของทรัพยากรทางการศึกษา แต่ปัญหาอยู่ที่ประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรทางการศึกษา และจะต้องตระหนักว่าการแก้ไขปัญหาทางการศึกษาไม่ใช่แก้ไขเพียงเรื่องของผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาเท่านั้น เราต้องเน้นการศึกษาที่จะสร้างพลเมืองที่ดี เรียนรู้การใช้ชีวิตและสามารถประกอบอาชีพ มีวิจารณญาณ ความคิดสร้างสรรค์ รู้จักทำงานเป็นทีม และอยู่ได้ในสังคมที่เป็นพหุวัฒนธรรม ดังนั้นนี้จึงเป็นโอกาสสำคัญที่จะปฏิรูปการศึกษาของไทยอีกครั้ง โดยการมองในมิติของความหลากหลายทางวัฒนธรรม เชื้อชาติ ความเชื่อ ศาสนา เพราะเราอยู่ในสังคมที่เป็นพหุวัฒนธรรม และลงรายละเอียดในเนื้อหาสาระ ยอมรับในความหลากหลายของพื้นที่ และตนหวังว่าการปฏิรูปในครั้งใหม่นี้จะสร้างสันติสุขให้แก่ผู้ที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม และหวังอีกว่าจะมีนักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญเรื่องศาสนา หรือความเชื่อในพื้นที่ต่างๆ มาร่วมกันบูรณาการตัวหลักสูตร เพราะการศึกษาเป็นกุญแจสำคัญของการเปลี่ยนแปลงสังคมที่ยั่งยืนและมีคุณภาพ
 
    รมช.ศธ.ขยายความอีกว่า จากรายงานการพัฒนาคนของสหประชาชาติ พบว่า ประมาณ 50% ของคนที่อยู่ในโลก จะอยู่ในฐานะของคนกลุ่มน้อยทางศาสนาและวัฒนธรรม ซึ่งคนเหล่านี้ใช้ชีวิตอยู่ในความไม่เท่าเทียมกันนั้น เป็นสาเหตุของการถูกกดขี่ ความขัดแย้ง และความยากจน ซึ่งในหลายพื้นที่ของประเทศไทยเองก็คนกลุ่มน้อยอยู่หลายกลุ่ม เช่น ชาวมุสลิมไทย ชาวกะเหรี่ยง เป็นต้น อย่างเช่นในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จากข้อมูลสำมะโนประชากรมุสลิมไทยชี้ให้เห็นว่า พื้นที่ดังกล่าวไม่มีความเท่าเทียมทางการศึกษาอย่างมาก เพราะฉะนั้นการพัฒนาเยาวชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้มีความรู้สามารถหาเลี้ยงตัวเองและครอบครัวได้ ก็จะเป็นการแก้ไขปัญหาความยากจนและปัญหาเศรษฐกิจของประเทศได้ แต่เนื่องจากมีการแตกต่างทางศาสนา ทำให้เกิดการแตกแยกระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐและคนในพื้นที่ ทำให้การพัฒนากระจายไปอย่างไม่ทั่วถึง ทั้งยังมีปัญหาเรื่องของการปฏิเสธระบบการศึกษาจากรัฐบาลและรูปแบบการเรียนการสอนที่ใช้ตามมาตรฐานของส่วนกลาง ที่มองข้ามความแตกต่างทางวัฒนธรรมของคนในพื้นที่ ทำให้คนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เกิดความรู้สึก ถ้าหากให้บุตรหลานเรียนสายสามัญมากเกินไปจะทำให้ห่างไกลจากชุมชนและหลักการของศาสนา.
 
 
  • 29 ก.ย. 2557 เวลา 06:26 น.
  • 1,398

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

ความคิดเห็นเกี่ยวกับ : หลักสูตรใหม่ใส่ความหลากศาสนา กฤษณพงศ์เผยเชิญนักวิชาการมาช่วยร่างเชื่อแก้ปัญหา3จังหวัดชายแดนใต้

เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^