LASTEST NEWS

29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 3 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 26 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.ชลบุรี เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ชลบุรี เขต 3 29 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.สงขลา เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.สงขลา เขต 1 29 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.พิจิตร เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.พิจิตร เขต 2 29 มี.ค. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 1 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 5 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพม.เพชรบุรี รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 7 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567

แนวทางการออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูอาชีวศึกษา

  • 25 ส.ค. 2557 เวลา 09:08 น.
  • 6,258
แนวทางการออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูอาชีวศึกษา

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 186/2557
แนวทางการยกระดับสถาบันการศึกษาทางด้านวิชาชีพ
และแนวทางการออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูอาชีวศึกษา
 
ศึกษาธิการ - ดร.สุทธศรี วงษ์สมาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยภายหลังการประชุมกระทรวงศึกษาธิการ ครั้งที่ 5/2557 เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2557 ว่า ที่ประชุมรับทราบแนวทางการส่งเสริมและยกระดับสถาบันการศึกษาทางด้านวิชาชีพ ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) และผลการประชุมพิจารณาแนวทางการออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูอาชีวศึกษา
 
>> แนวทางการส่งเสริมและยกระดับสถาบันการศึกษาทางด้านวิชาชีพของ สอศ.
 
ปลัด ศธ.กล่าวว่า สอศ.ได้รายงานให้ที่ประชุมรับทราบว่า ขณะนี้ สอศ.ได้กำหนดแนวทางดำเนินการปฏิรูปอาชีวศึกษา เพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาในทุกระดับและกลุ่มเป้าหมายให้สอดคล้องกับตลาดแรงงาน และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยกำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ดำเนินการ 7 ด้าน คือ 1) เพิ่มผู้เรียนอาชีวศึกษา 2) ให้ทุนอาชีวศึกษาเสริมแรงเพื่อเร่งผลิตกำลังคนให้กับประเทศ 3) ยกระดับคุณภาพผู้สำเร็จอาชีวศึกษา 4) สนับสนุนทรัพยากรการเรียนอาชีวศึกษา 5) จัดหาปัจจัยสนับสนุนเพื่อการจัดอาชีวศึกษาอย่างมีคุณภาพ 6) แก้ปัญหาครูและบุคลากรอาชีวศึกษา 7) ปรับระบบบริหาร
 
โดยมีแนวทางดำเนินการที่จะต้องเร่งส่งเสริมและยกระดับสถาบันการศึกษาทางด้านวิชาชีพ ดังนี้
   - ยกระดับคุณภาพสถานศึกษาอาชีวะขนาดเล็กให้ได้มาตรฐาน
   - ต่อยอดสถานศึกษาเฉพาะทางเดิมให้มีความชำนาญเชิงลึก เช่น วิทยาลัยเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมยานยนต์/ต่อเรือ วิทยาลัยเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ กาญจนาภิเษกวิทยาลัยช่างทองหลวง วิทยาลัยบริหารธุรกิจและการท่องเที่ยว วิทยาลัยศิลปหัตถกรรม วิทยาลัยประมง วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี ฯลฯ
   - เพิ่มแนวทางพัฒนาวิทยาลัยเฉพาะทาง (Professional School) ทั้งการสร้างห้องเรียนเฉพาะทางเพื่อพัฒนาเด็กที่มีความชำนาญเฉพาะด้านในสาขาอาชีพที่มีความจำเป็น รวมทั้งสร้างวิทยาลัยเฉพาะทางในทุกสาขาอาชีพกระจายทุกภูมิภาค
   - พัฒนาสถานศึกษาต้นแบบ ร่วมกับประเทศที่มีศักยภาพสูงด้านอาชีวศึกษา เช่น สิงคโปร์ เยอรมนี ญี่ปุ่น จีน
   - นำร่องจัดการอาชีวศึกษาร่วมในกลุ่มประเทศอาเซียน เช่น ความร่วมมือไทย-มาเลเซีย
   - พัฒนาสถานศึกษาภายใต้โครงการเฉลิมพระเกียรติ 23 แห่ง
   - พัฒนาคุณภาพการจัดอาชีวศึกษาในสถานศึกษาที่เน้นการจัดอาชีวศึกษาทวิภาคี โดยความร่วมมือกับสถานประกอบการ
   - ยกระดับมาตรฐานสถานศึกษาที่เตรียมกำลังคนเข้าสู่การประกอบอาชีพในกลุ่มอาเซียนด้วย English Program และ Mini English Program
 
>> ผลการประชุมพิจารณาแนวทางการออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูอาชีวศึกษา
 
ที่ประชุมรับทราบ ข้อสรุปผลการประชุมพิจารณาแนวทางการออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูอาชีวศึกษา เมื่อวันที่ 15 สิงหาคมที่ผ่านมา ซึ่งสำนักเลขาธิการคุรุสภาได้จัดประชุมเพื่อกำหนดแผนการแก้ไขปัญหาสาขาขาดแคลนสำหรับครูอาชีวศึกษา โดยมี ศ.กิตติคุณ ไพฑูรย์ สินลารัตน์ ประธานกรรมการคุรุสภา เป็นประธานการประชุม ดังนี้
 
แนวทางที่ 1 สาขาวิชาที่ สอศ. แจ้งต่อคุรุสภา หากตรวจสอบกับสาขาวิชาของสถาบันผลิตครู หลักสูตร 5 ปี ที่คุรุสภาให้การรับรองแล้ว ไม่มีการผลิตในสาขานั้น ให้ดำเนินการดังนี้
 
มาตรการเร่งด่วน
 
1) นำเสนอสาขาขาดแคลนที่ สอศ.แจ้งต่อคณะกรรมการคุรุสภา เพื่อให้ความเห็นชอบ และจัดทำเป็นประกาศคณะกรรมการคุรุสภาเป็นคราวๆ ละ 2 ปี หากมีความจำเป็น สอศ.สามารถเสนอสาขาขาดแคลนเพิ่มเติมเป็นวาระเร่งด่วนได้ (สาขาวิชาขาดแคลนที่ สอศ.เสนอ 9 ประเภท คือ ช่างอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว พณิชยกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศ อุตสาหกรรมสิ่งทอ เกษตรศาสตร์ ประมง คหกรรม และศิลปกรรม)
2) คณะกรรมการคุรุสภาอนุมัติเป็นหลักการให้สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ออกหนังสืออนุญาตให้ปฏิบัติการสอนโดยไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ มีระยะเวลา 90 วัน สำหรับผู้มีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีสาขาขาดแคลน โดยสามารถยื่นต่อสำนักงานเลขาธิการคุรุสภาได้ด้วยตนเอง หรือสถานศึกษาเป็นผู้ขอยื่นให้ได้
 
มาตรการระยะยาว
 
1) สอศ.ประสานกับสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา แจ้งสถาบันผลิตเปิดสอนสาขาขาดแคลนตามความต้องการของ สอศ.
2) จัดโครงการความร่วมมือระหว่าง สอศ.กับสถาบันผลิตเพื่อร่วมผลิตบัณฑิต โดย สอศ.ผลิตบัณฑิตหลักสูตร 4 ปี สาขาขาดแคลน และสถาบันผลิตจัดหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู โดยความเห็นชอบของคุรุสภา เพื่อให้ผู้สำเร็จการศึกษาสามารถขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูได้
 
แนวทางที่ 2 สาขาขาดแคลนที่ สอศ. แจ้งต่อคุรุสภา แต่มีสถาบันผลิตในหลักสูตร 5 ปี ที่คุรุสภารับรอง ให้ดำเนินการดังนี้
 
1) สอศ.รับสมัครผู้สำเร็จการศึกษาในหลักสูตร 5 ปี ก่อน หากไม่มีผู้มาสมัครตามเวลาที่กำหนด ให้ขยายเวลารับสมัครผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตร 4 ปี
2) คณะกรรมการคุรุสภาอนุมัติเป็นหลักการให้สำนักงานเลขาธิการคุรุสภาออกหนังสืออนุญาตให้ปฏิบัติการสอนโดยไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตร 4 ปี สาขาที่ สอศ.รับสมัคร มีระยะเวลา 90 วัน โดยให้สามารถยื่นต่อสำนักงานเลขาธิการคุรุสภาได้ด้วยตนเอง
 
การกำหนดให้คุรุสภาออกหนังสืออนุญาตให้ปฏิบัติการสอนโดยไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ มีระยะเวลา 90 วัน สำหรับผู้มีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีสาขาขาดแคลน เพื่อให้สามารถสมัครสอบครูผู้ช่วยตามที่ ก.ค.ศ.กำหนดได้ และเมื่อสอบเสร็จแล้วต้องดำเนินการ ดังนี้
 
- ผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องขออนุญาตให้ครูผู้ช่วยปฏิบัติการสอนโดยไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพจากคุรุสภา ซึ่งคุรุสภาจะอนุญาตให้ 2 ปี
- ครูผู้ช่วยที่ได้รับอนุญาตให้ปฏิบัติการสอนโดยไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ จะต้องพัฒนาตนเองให้มีมาตรฐานวิชาชีพตามที่คุรุสภากำหนด โดยศึกษาต่อประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู หรือการรับรองความรู้ผ่านหลักเกณฑ์ตามที่คุรุสภากำหนด ซึ่งจะได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูจึงจะบรรจุเป็นครูได้
 
อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมขอให้มีการจัดประชุมหารือเพื่อรับฟังความคิดเห็นในเรื่องนี้เพิ่มเติม เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนครูอาชีวศึกษา รวมทั้งเพื่อให้สอดคล้องและตรงกับความต้องการในการผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ
 
 
  • 25 ส.ค. 2557 เวลา 09:08 น.
  • 6,258

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

ความคิดเห็นเกี่ยวกับ : แนวทางการออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูอาชีวศึกษา

เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^