LASTEST NEWS

19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.ราชบุรี เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ราชบุรี เขต 2 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 2) สพป.ขอนแก่น เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ขอนแก่น เขต 3 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.เชียงใหม่ เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.เชียงใหม่ เขต 2 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.นครสวรรค์ เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.นครสวรรค์ เขต 1 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.เพชรบุรี เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.เพชรบุรี เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.สมุทรสงคราม - ผลย้ายครู 2567 สพป.สมุทรสงคราม

สพฐ.จัดระเบียบรับนักเรียนขจัดแป๊ะเจี๊ยะ

  • 07 ส.ค. 2557 เวลา 12:12 น.
  • 1,592
สพฐ.จัดระเบียบรับนักเรียนขจัดแป๊ะเจี๊ยะ

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

สพฐ.ขานรับเครือข่ายผู้ปกครองผลักดันให้การเรียนฟรีเกิดขึ้นจริงให้ได้ เตรียมชงข้อมูลเสนอคสช.ยกเลิกเก็บค่าใช้จ่ายอื่น พร้อมทำแผนรับนักเรียนปี58 บังคับโรงเรียนต้องรับให้เต็มตามจำนวนที่ประกาศรับตั้งแต่รอบแรก ห้ามกั๊กเก้าอี้ว่างไว้ใช้เป็นข้ออ้างในการขยายห้องเรียนเพื่อหวังเรียกแป๊ะเจี๊ยะในรอบหลัง
 
เรื่องของความพยายามที่จะลบล้างภาพของคำว่า “เรียนฟรีไม่จริง” เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม ดร.กมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(กพฐ.) เปิดเผยว่า ตามที่กลุ่มเครือข่ายผู้ปกครองได้ยื่นเรื่องถึงคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) เพื่อเรียกร้องให้ยกเลิกการเก็บค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน เนื่องจากมีโครงการเรียนฟรี 15 ปีอยู่แล้ว แต่กระทรวงศึกษาธิการกลับอนุญาตให้โรงเรียนเรียกเก็บเพิ่มได้ในหลายรายการ ซึ่งน่าจะยกเลิกการเก็บในค่าใช้จ่ายส่วนนี้ไปด้วยนั้น เรื่องนี้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.)ได้หารือร่วมกับกลุ่มเครือข่ายดังกล่าว 2 ครั้งแล้ว และได้ข้อตกลงร่วมกันว่า สพฐ.จะทดลองทำข้อเสนอไปยัง คสช.เนื่องจากได้ทดลองคำนวณค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษา หากไม่เก็บเงินเพิ่มจากผู้ปกครองเลยทุกรายการจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นอีกเท่าไหร่ ซึ่งเบื้องต้นพบว่า รัฐบาลจะต้องหาเงินสมทบอีกกว่า 6 หมื่นล้านบาท ซึ่งจะได้สรุปตัวเลข พร้อมเสนอทางออกในกรณีที่คสช.ไม่สามารถสนับสนุนได้ตามตัวเลขที่เสนอด้วย 
 
ดร.กมล กล่าวต่อไปว่า ขณะนี้สำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน สพฐ. กำลังรวบรวมข้อมูลค่าใช้จ่ายทั้งหมดจากโรงเรียนอยู่ แต่เมื่อถึงที่สุดหาก คสช.ไม่สามารถสนับสนุนได้ สพฐ.ก็จะมาพิจารณาใหม่ว่า ในรายการที่อนุญาตให้โรงเรียนเรียกเก็บเพิ่มเติมได้นั้น จะมีรายการใดบ้างที่จำเป็นต้องอนุญาตให้เก็บต่อไป หรือรายการใดต้องยกเลิก รวมถึงจะมีวิธีใดที่จะสนับสนุนเด็กที่มีปัญหาด้านการเงินได้บ้าง ซึ่งเรื่องนี้ได้มีการพูดคุยกับตัวแทนผู้ปกครองและองค์กรต่าง ๆ แล้ว 
 
เลขาธิการ กพฐ.กล่าวอีกว่า จริง ๆ แล้วเท่าที่ประเมินคิดว่ารัฐคงไม่สามารถสนับสนุนได้ทั้ง 100% น่าจะสนับสนุนได้เพียงบางส่วนเท่านั้น เช่น ค่าบัตรห้องสมุด หรือค่าใช้จ่ายเล็กๆน้อยๆที่โรงเรียนจะสามารถสนับสนุนได้ ก็อาจจะยกเลิกได้ ส่วนที่เป็นเรื่องใหญ่หรือรายการที่เป็นทางเลือกที่ผู้ปกครองสามารถตัดสินใจได้ เช่น การเรียนเสริมบางอย่างที่นอกเหนือจากการเรียนการสอนตามหลักสูตรปกติทั่วไป ก็ให้เป็นการตัดสินใจของผู้ปกครอง ซึ่งรัฐไม่สามารถสนับสนุนรายการใดได้จริง ๆ ก็น่าจะต้องให้คงอยู่ แต่การที่จะให้เรียนเสริมหรือไม่ต้องอยู่ที่ความพอใจของผู้ปกครองด้วย อย่างไรก็ตามเรื่องนี้คงต้องทำค่อยเป็นค่อยไป เพราะหากเราทุ่มเงินมหาศาลโดยไม่มีความจำเป็นมากนักขณะที่ผู้ปกครองบางส่วนก็สามารถสนับสนุนได้ก็อาจจะกลายเป็นโครงการประชานิยมเกินไปได้ซึ่งไม่เหมาะสม
 
" ส่วนการเรียกเงินกินเปล่าหรือแป๊ะเจี๊ยะก็เป็นอีกประเด็นที่ทุกฝ่ายเห็นตรงกันรวมถึงสพฐ.ด้วยที่อยากให้ยกเลิก  เพราะทุกวันนี้ถ้าเรามีระบบการจัดการที่ดี เช่น ปกตินักเรียนที่เต็มอัตราจะรับได้ห้องละ 50 คน แต่บางโรงเรียนก็มักจะประกาศรับรอบแรกแค่ 40 คน  เป็นการใช้เทคนิคการรับไม่เต็มจำนวน ส่วนที่เหลือจะเก็บไว้รับด้วยวิธีพิเศษอื่น ๆ ซึ่งจะเป็นช่องทางให้เรียกเงินบำรุงการศึกษาได้ ซึ่งที่ผ่านมา  สพฐ.ก็พยายามบอกว่าไม่ให้ใช้วิธีการนี้ เพราะถ้าผู้ปกครองจะบริจาคก็ควรจะให้หลังจากที่ลูกหลานได้เข้าไปเรียนในโรงเรียนแล้ว ซึ่งเรื่องนี้ผมได้ให้กำหนดไว้ในการทำแผนการรับนักเรียนปีการศึกษา 2558 ด้วยว่า โรงเรียนจะต้องรับนักเรียนเต็มตั้งแต่รอบแรก ประกาศเท่าไหร่ต้องรับเท่านั้น ซึ่งถ้าทำได้ก็จะไม่มีปัญหาแป๊ะเจี้ยะแน่นอน"ดร.กมลกล่าว
 
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตามหลักเกณฑ์เงินบำรุงการศึกษาของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดว่า สถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนนอกเหนือหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานให้นักเรียนเกินมาตรฐานที่รัฐจัดให้ สามารถขอรับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายได้ตามความสมัครใจของผู้ปกครองและนักเรียน แต่ทางเครือข่ายผู้ปกครองต้องการให้ยกเลิกการเรียกเก็บทั้งหมด โดยยกเหตุผลเรื่องสิทธิที่นักเรียนทุกคนควรได้รับอย่างเท่าเทียมกัน และเป็นหน้าที่ของรัฐที่จะต้องจัดให้บริการ อาทิ ห้องเรียนพิเศษ EP(English Program) ระดับก่อนประถมถึงมัธยมต้น ไม่เกิน 35,000 บาท ต่อคนต่อภาคเรียน ส่วนระดับมัธยมปลาย ไม่เกิน 40,000 บาท ต่อคนต่อภาคเรียน , ห้องเรียนพิเศษ MEP(Mini English Program) ระดับก่อนประถมถึงมัธยมต้น ไม่เกิน 17,500 บาท ส่วนระดับมัธยมปลาย ไม่เกิน 20,000 บาท , ค่าจ้างครูชาวต่างประเทศ, ค่าเรียนปรับพื้นฐานความรู้ , ค่าจ้างครูที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาเฉพาะ, ค่าห้องเรียนปรับอากาศ, ค่าสอนคอมพิวเตอร์ กรณีโรงเรียนจัดคอมพิวเตอร์ให้นักเรียนเกินมาตรฐาน 1 เครื่องต่อนักเรียน 20 คน , ค่าประกันชีวิตนักเรียน, ค่าตรวจสุขภาพกรณีพิเศษ, ค่าอาหาร,ค่าหอพัก ,ค่าซักรีด เป็นต้น. 
 
 
  • 07 ส.ค. 2557 เวลา 12:12 น.
  • 1,592

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

ความคิดเห็นเกี่ยวกับ : สพฐ.จัดระเบียบรับนักเรียนขจัดแป๊ะเจี๊ยะ

เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^