LASTEST NEWS

19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.เพชรบุรี เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.เพชรบุรี เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.สมุทรสงคราม - ผลย้ายครู 2567 สพป.สมุทรสงคราม 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.นครราชสีมา เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.นครราชสีมา เขต 2 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.ขอนแก่น - ผลย้ายครู 2567 สพม.ขอนแก่น 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.พิษณุโลก อุตรดิตถ์ - ผลย้ายครู 2567 สพม.พิษณุโลก อุตรดิตถ์ 18 เม.ย. 2567(( ประกาศแล้ว )) รายชื่อผู้สอบผ่าน ภาค ก และ ข การสอบบรรจุรับราชการครูฯ ตำแหน่งบุคลากร 38 ค.(2) สังกัดสพฐ. ปีพ.ศ.2567 เช็กผลสอบ 38 ค. สพฐ. ได้ที่นี่

สมศ.เป็นกระจกส่องคุณภาพตัวเองผู้เสนอให้ยุบคือผู้ขาดประสิทธิภาพ

  • 18 ก.ค. 2557 เวลา 09:26 น.
  • 4,503
สมศ.เป็นกระจกส่องคุณภาพตัวเองผู้เสนอให้ยุบคือผู้ขาดประสิทธิภาพ

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

          ศ.ดร.อุทุมพร จามรมาน นักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิ และอดีต ผู้อำนวยการสำนักทดสอบทางการศึกษา (องค์การมหาชน) ให้ความเห็นแย้งถึงเรื่องการยุบสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือ สมศ. ด้วยเหตุผลของผู้เสนอแนะให้ยุบว่าเป็นการเพิ่มภาระและเป็นอุปสรรคในการจัดการศึกษา ในฐานะนักการศึกษา และอดีต ผู้บริหารองค์กรมหาชนเห็นว่า การบริหารงานขององค์กรทุกประเภทต้องได้รับการตรวจสอบการใช้เงินและคุณภาพของผลงานโดยองค์กรภายนอกที่เป็นอิสระ เพื่อให้เกิดความโปร่งใส ในการปฏิบัติงานของผู้บริหารและ เจ้าหน้าที่ ในกรณีมหาวิทยาลัยของรัฐจะต้องถูกตรวจสอบโดยหน่วยงานภายนอก เช่น สตง. หรือองค์กรอื่นซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็น สมศ. ก็ได้ ว่ามหาวิทยาลัยของรัฐหรือในกำกับรัฐ ใช้เงินภาษีประชาชนอย่างคุ้มค่าหรือไม่และผลผลิตได้คุณภาพตามมาตรฐานสากลหรือไม่
 
          หน้าที่ของมหาวิทยาลัยของรัฐที่ใช้เงินภาษีของประชาชน จึงต้องให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชน เกี่ยวกับ คุณภาพผลงานของตนเพื่อผู้ปกครอง นักเรียน และประชาชนจะได้ทราบและตัดสินใจ เกี่ยวกับหน่วยงานนั้นๆ ว่าควรจะอยู่หรือถูกยุบ ในกรณีของมหาวิทยาลัยเอกชน เจ้าของมหาวิทยาลัยทำหน้าที่ตรวจสอบการใช้เงินอยู่แล้ว แต่ก็ต้องมีหน่วยงานภายนอกที่มาตรวจสอบคุณภาพเพื่อผู้ปกครอง และนักเรียนจะได้ตัดสินใจว่า จะให้บุตรหลานของตนมาศึกษาหรือไม่ ซึ่งความต้องการให้ยุบ สมศ. อาจทำได้ตามที่ผู้เสนอ ต้องการ แต่จะต้องมีการตรวจสอบโดยหน่วยงานภายนอกมาทำหน้าที่แทน ในที่นี้ ตนขอ เสนอให้ใช้ผล World Ranking เป็นตัวชี้คุณภาพว่า แต่ละมหาวิทยาลัยอยู่ลำดับที่เท่าไรของโลก ซึ่งจะต้องให้อธิการบดีมาชี้แจงว่า ผลการบริหารงานของตนมี คุณภาพอะไร มากน้อยเพียงไร
 
          ศ.ดร.อุทุมพร กล่าวถึงในส่วนที่ว่าเป็นการเพิ่มภาระให้กับมหาวิทยาลัยนั้น ขอบอกว่า การประเมินภายนอกของ สมศ. เป็นการทำงานตามปกติ ที่ใช้ระบบมาตรฐานข้อมูลเป็นกลไกขับเคลื่อน ในกรณีที่มหาวิทยาลัยคิดว่าเป็นภาระ เพราะมหาวิทยาลัยมิได้ใช้ระบบฐานข้อมูลในการบริหารจัดการ ดังนั้น เมื่อสมศ. ส่งคณะผู้ประเมินคุณภาพผลงานตามพันธกิจของมหาวิทยาลัย เจ้าหน้าที่สายสนับสนุนที่เกี่ยวข้องจึงต้องไปขอผลงานจากผู้บริหาร อาจารย์ และบุคลากร เพื่อนำมาสร้างหลักฐานให้คณะผู้ประเมินของสมศ.จึงทำให้ดูเสมือนว่า เป็นการไปสร้างภาระให้กับผู้บริหารของมหาวิทยาลัย ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า ผู้บริหารมหาวิทยาลัย มิได้เข้าใจว่า การประเมินคุณภาพของสมศ. ทุก 5 ปี เป็นการช่วยอธิการบดีและคณบดี ในการส่องกระจกดูตัวเองและและถ้าพบว่าจุดใดเป็นจุดอ่อน จะได้แก้ปรับปรุง จุดไตเป็นจุดแข็งจะได้เสริมให้แข็งขึ้นอีก และเมื่ออธิการบดีและคณบดี ไม่เข้าใจ ความสำคัญของผลการประเมินก็จะสั่งการให้เจ้าหน้าที่สายสนับสนุน ไปดำเนินการ ซึ่งเขาเหล่านั้นมิใช่ ผู้บริหาร จึงไม่เข้าใจวิธีทำประกันคุณภาพ
 
          ในส่วนของคณะผู้ประเมินจะได้รับการคัดเลือกมาจาก ผู้บริหาร และอาจารย์จากสถาบันอื่นมาเป็น ผู้ประเมิน อธิการบดีและคณบดีจึงกลัวจะได้คะแนนต่ำ ต่างพยายามทุกวิถีทางที่จะให้ได้คะแนนสูง ทั้งที่มิใช่สภาพที่แท้จริงของตน ดังนั้น การ "ยุบ สมศ." จึงมิใช่คำตอบที่แท้จริงอย่างที่ผู้นำเสนอให้มีการยุบ เพราะผลจากการประเมินคุณภาพตามสภาพที่แท้จริงของแต่ละมหาวิทยาลัย จะทำให้เกิดประโยชน์ในหลายๆ ด้าน อาทิ หากแต้ม มหาวิทยาลัยสูง ก็จะเป็นการยืนยันให้สังคมรับรู้ถึงคุณภาพของสถาบันนั้นๆ บัณฑิตที่จบไปก็มีคุณภาพ ทำงานได้เลยและเป็นคนดี และภาพลักษณ์ของอาจารย์ที่สอนจะเป็นที่ยอมรับ มีทักษะทางคุรุศึกษา และมีผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารโลก หรือมีงานสร้างสรรค์ ที่เผยแพร่ และผลงานเหล่านี้ได้ถูกนำมาใช้ประโยชน์เพื่อการพัฒนาประเทศไทย นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่สายสนับสนุนก็จะได้รับการพัฒนาวิธีปฏิบัติงาน เพื่อช่วยให้อาจารย์ทำงานได้เต็มที่
 
          ดังนั้น หากอธิการบดี และคณบดีมีการบริหารจัดการที่ใช้ฐานข้อมูลและหลักธรรมาภิบาล โปร่งใส ตรวจสอบได้ ตลอดจน ใส่ใจงานของตนตามที่เสนอตัวมาดำรงตำแหน่ง ก็จะต้องเข้าใจเหตุผลว่า ทำไมต้องประกันคุณภาพผลผลิตของตน และปรับปรุงผลผลิตให้มีคุณภาพสูงขึ้นเรื่อยๆ ทัดเทียมกับประเทศอื่นๆ หรือ มากกว่า แต่ถ้าไม่เข้าใจว่า ทำการประกันคุณภาพการศึกษาไปทำไม ก็น่าจะให้บุคคลอื่นมาบริหารงานแทนจะเป็นประโยชน์แก่ชาติบ้านเมืองมากกว่า
 
          ศ.ดร.อุทุมพร จามรมาน กล่าวทิ้งท้ายว่า ดังนั้น การยุบ สมศ.จึงมิใช่คำตอบ แต่ถ้าเสนอให้ สมศ. ปรับปรุงวิธีทำงานให้ดีขึ้น น่าจะเป็นทางออกที่ดี หรือถ้ายุบสมศ. ก็น่าจะใช้ World Ranking เป็นตัวประกันคุณภาพแทน ซึ่งจากการตรวจสอบลำดับของมหาวิทยาลัยไทย เทียบกับมหาวิทยาลัยในโลกพบว่า อยู่ในระดับไม่สูง และไม่เคยสูง บางแห่งติดลำดับ 3,000 ของโลก แพ้มหาวิทยาลัยในประเทศด้อยพัฒนาบางประเทศเสียอีก จึงเสนอว่า ถ้าอธิการบดีและคณบดียอมรับความจริงเรื่องคุณภาพ แล้วหันมาช่วยกันพัฒนาคุณภาพผลผลิต 4 อย่าง ตามพันธกิจของมหาวิทยาลัยของตน ก็จะเป็นการปฏิรูปการศึกษาที่แท้จริง นั่นคือตัวเองประเมินตัวเองก่อน แต่ถ้าทำไม่ได้ก็ใช้เกณฑ์ว่า ถ้ามหาวิทยาลัยใดไม่ติดลำดับ 500 ลำดับแรกของโลกก็ ยุบมหาวิทยาลัยนั้นเสีย
 
 
  • 18 ก.ค. 2557 เวลา 09:26 น.
  • 4,503

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

ความคิดเห็นเกี่ยวกับ : สมศ.เป็นกระจกส่องคุณภาพตัวเองผู้เสนอให้ยุบคือผู้ขาดประสิทธิภาพ

เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^