LASTEST NEWS

24 เม.ย. 2567สพม.ราชบุรี ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.เพชรบุรี 24 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 24 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 23 เม.ย. 2567เช็กเลย! สพป.บึงกาฬ เตรียมเปิดสอบครูผู้ช่วย 10 สาขาวิชาเอก 65 อัตรา ประกาศรับสมัคร 1 พ.ค.2567 23 เม.ย. 2567เล็งจัดงบฯ อาหารเช้าให้นักเรียน 23 เม.ย. 2567สอบครูผู้ช่วย ต้องอ่าน! นโยบายและจุดเน้น สพฐ. ปีงบประมาณ 2567-2568 และนโยบายระยะเร่งด่วน (Quick Win) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 23 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 23 เม.ย. 2567สพป.สระบุรี เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.สระบุรี เขต 2 23 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 23 เม.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.เพชรบุรี เขต 2

ฝังกลบแท็บเล็ตประชานิยมยุติโครงการใช้งบชาติไม่คุ้มค่า

  • 24 มิ.ย. 2557 เวลา 13:41 น.
  • 1,321
ฝังกลบแท็บเล็ตประชานิยมยุติโครงการใช้งบชาติไม่คุ้มค่า

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

ฝังกลบแท็บเล็ตประชานิยมยุติโครงการใช้งบชาติไม่คุ้มค่า : สุพินดา ณ มหาไชย รายงาน
 
                2 สัปดาห์ ที่ฝ่ายสังคมจิตวิทยา คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ใช้ไปกับการพินิจพิเคราะห์อนาคตของนโยบายประชานิยมตัวแม่ โครงการแจกแท็บเล็ตให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ทั่วประเทศ ที่สุดฝ่ายสังคมจิตวิทยา คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ตัดสินใจปิดฉากมหกรรมโกยคะแนนนิยมดังกล่าว แม้จะใช้ถ้อยแถลงอย่างอ้อมค้อมว่า เปลี่ยนแปลงงบประมาณโครงการ 1 คอมพิวเตอร์พกพา (แท็บเล็ต )ต่อ 1 นักเรียน ไปใช้พัฒนาการใช้ไอซีทีเพื่อการเรียนการสอนในรูปแบบอื่นๆ ที่คุ้มค่ากว่า แต่ก็รู้ๆ กันว่า นี่เป็นส่วนหนึ่งของการตัดตอนการมอมเมาด้วยประชานิยม ซึ่งแลกมาด้วยการใช้งบประมาณอย่างไร้สติ
 
                โครงการแจกแท็บเล็ต หรือโครงการ 1 คอมพิวเตอร์พกพา (แท็บเล็ต) ต่อ 1 นักเรียน เปิดตัวครั้งแรกในปี 2555 ภายใต้การดำเนินการจัดซื้อของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) งบประมาณกว่า 2,000 ล้านบาท     ก่อนจะโอนมาให้กระทรวงศึกษาธิการจัดซื้อแทนในปีที่ 2 ของโครงการ (ปี 2556) โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้รับมอบหมายเป็นนายหน้า เคาะราคา แทน 10 หน่วยงานที่มีงบประมาณการจัดซื้อแท็บเล็ตแจกสถานศึกษาในสังกัด พร้อมขยายขนาดโครงการเป็นสองเท่าเพื่อจัดซื้อให้นักเรียน ม.1 ด้วย งบประมาณจึงเพิ่มสูงเป็น 4,600 ล้านบาท รวม 2 ปีที่ผ่านมา หมดเงินกับโครงการนี้ไปเกือบ 7,000 ล้านบาท แจกไปแล้วกว่า 2.4 ล้านเครื่อง
 
                อย่างไรก็ตาม ด้วยค่าตัวของเครื่องที่กำหนดราคากลางไว้แค่ 82 ดอลลาร์ หรือประมาณ 2,700 บาท จึงไม่สามารถคาดหวังแท็บเล็ตในฝันได้ เกินครึ่งของแท็บเล็ตที่ผลิตป้อนโครงการนี้ ล้วนแต่เป็นแท็บเล็ตสเปกต่ำที่สั่งตัดจากโรงงานในจีน แหล่งผลิตสินค้าราคาถูก ไม่เน้นคุณภาพสูง สุดท้ายแท็บเล็ตในมือนักเรียนจึงเป็นอุปกรณ์ที่มีข้อจำกัดในการใช้งาน ไม่ต่างจากของเล่นราคาถูก และประเด็นเรื่องคุณภาพของเครื่องนี้เอง เป็น 1 ใน 2 เหตุผลหลักในการยุติโครงการนี้ของฝ่ายสังคมจิตวิทยา
 
                ในทีโออาร์ของการจัดซื้อแท็บเล็ต กำหนดอายุรับประกันตัวเครื่องที่ 3 ปี รับประกันแบตเตอรี่ 1 ปี และต้องมี life cycle หรือชาร์จไฟได้ 400 ครั้ง ขณะที่แท็บเล็ตมาตรฐานทั่วไปจะมี life cycle ที่ 800 ครั้ง แต่ก็เป็นที่หวั่นใจกันทั่วว่า อายุของแท็บเล็ตราคาถูกนี้จะใช้งานได้ถึง 3 ปีจริงหรือไม่ เพราะเพียงไม่ทันไหร่ก็เริ่มออกอาการให้เห็นแล้วในส่วนของแบตเตอรี่ 
 
                กมล รอดคล้าย รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) บอกว่า โครงการนี้เน้นซื้อเครื่องในราคาถูก ก็ได้คุณภาพตามราคาและมีปัญหาการใช้งานตามมา โดยเฉพาะตัวแบตเตอรี่ ซึ่งเริ่มเสื่อมสภาพ เก็บไฟได้ไม่นาน กลายเป็นปัญหาในการใช้งานมาก เพราะการนำเครื่องมาเสียบไฟตรงใช้งานนั้น นักเรียนเสี่ยงอันตรายจากไฟฟ้าดูดและยังทำให้แบตเตอรี่ร้อนมาก เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ 
 
                ผลการตรวจติดตามโครงการนี้ของผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ ก็ฟ้องในเรื่องของคุณภาพเช่นกัน และฟ้องถึงการดำเนินโครงการทั้งๆ ที่ขาดความพร้อมรองรับเพียงพอ
 
                “แท็บเล็ตมีปัญหามากคือเรื่องแบตเตอรี่ไม่สามารถเก็บไฟได้ ขณะที่โครงสร้างพื้นฐานของโรงเรียนจำนวนมากไม่มีความพร้อมรองรับเพียงพอ ไม่มีเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเข้าถึง จึงทำให้ประสิทธิภาพการใช้งานแท็บเล็ตได้ไม่เต็มที่ ยิ่งกว่านั้นโรงเรียนบางส่วน เช่น โรงเรียน ตชด.ยังไม่มีไฟฟ้าใช้ ใช้โซลาร์เซลล์แทน ซึ่งไม่เสถียร ทำให้มีปัญหาในการใช้งาน โดยเฉพาะเมื่อแบตเตอรี่เก็บไฟไม่ได้“ วัชรินทร์ จำปี ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาประจำเขตตรวจราชการ 17-18 ในพื้นที่จังหวัดภาคเหนือ ให้ข้อมูลส่วนหนึ่งจากผลการตรวจติดตามโครงการแท็บเล็ตปี 2555
 
                ขณะที่มีผลการวิจัยของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา บ่งบอกว่า กลุ่มตัวอย่างคือ ครู นักเรียน ผู้ปกครอง ผู้บริหารโรงเรียน ผู้บริหารเขตพื้นที่การศึกษา ตอบแบบสอบถามว่า พฤติกรรมนักเรียนมีความขยันตั้งใจเรียนมากขึ้น แต่ไม่มีหลักฐานวิชาการบ่งชัดว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น แต่ปัญหาที่ตามมาคือ นักเรียนสนใจแต่แท็บเล็ตจนขาดปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น ขณะที่โรงเรียนก็ประสบปัญหาเรื่องการบริหารจัดการ ซ่อมบำรุงเครื่องแท็บเล็ต
 
                ไม่ว่าจะมีปัญหาในการใช้งานหรือไม่ก็ตาม สพฐ.ค่อนข้างมั่นใจว่า แท็บเล็ตที่แจกไปแล้วกว่า 1 ล้านเครื่อง จะใช้งานได้ไม่เกิน 3 ปี นั่นหมายความว่า วงจรการจัดซื้อแท็บเล็ตจะหมุนเวียนไม่มีจบสิ้น สะท้อนให้เห็นถึงการบริหารจัดการงบประมาณที่ไร้ความคุ้มค่า และนั่นเป็นอีกเหตุผลที่โครงการนี้ถูกยุติ
 
                กมล บอกว่า ถ้ายังคงเดินหน้าโครงการแจกแท็บเล็ตในลักษณะเดิมแล้วจะเป็นภาระงบประมาณที่หนักมาก ใช้ปีละ 5,000 ล้านบาท สำหรับซื้อแท็บเล็ตแจกนักเรียน ป.1 และ ม.1 แต่แท็บเล็ตมีอายุใช้งานเกิน 3 ปี นั่นเท่ากับว่า ต้องซื้อแจกอยู่เรื่อยๆ ไม่มีวันจบสิ้น อย่างไรก็ตาม ถ้านำงบประมาณซื้อแจกดังกล่าวมาจัดทำเป็นห้องเรียนอัจฉริยะ หรือ สมาร์ท คลาสรูม แทน จะคุ้มค่ากว่า สพฐ.ทดลองคำนวณบนพื้นฐานว่า ใช้อุปกรณ์ที่มีมาตรฐานดี ใช้แท็บเล็ตมาตรฐานเดียวกับไอแพดแล้ว งบประมาณ 5,800 ล้านบาท จะสร้างห้องเรียนอัจฉริยะได้ประมาณ 15,000 ห้อง เท่ากับว่า ภายใน 3 ปี จะสามารถจัดสร้างห้องเรียนอัจฉริยะได้ครบทุกโรงเรียน และห้องเรียนอัจฉริยะนี้จะหมุนเวียนให้นักเรียนทั้ง 6 ชั้นปี ได้เข้ามาใช้งาน เป็นประโยชน์ต่อนักเรียนทุกคน
 
                ปัจจุบันกระทรวงศึกษาธิการได้รับคำสั่งจาก คสช.ให้ระดมสมองคิดรูปแบบการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอนที่เข้าท่ากว่าการแจกแท็บเล็ตราคาถูกให้เด็กกลับไปนอนกอดที่บ้าน สุดท้ายโครงการนี้ รวมถึงโครงการประชานิยมอีกบางรายการ ย่อมต้องถูกแปลงร่างใหม่ เปลี่ยนทั้งในแง่ของเนื้อหาภายในและภาพลักษณ์ภายนอก ทั้งนี้ เพื่อยุติการบริหารจัดการงบประมาณที่ไม่เกิดประโยชน์ และยุติการเอาเงินภาษีมาถลุงเพื่อประโยชน์ทางการเมือง แท็บเล็ตในมือของเด็กควรเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยเติมเต็มการเรียนรู้ได้จริง ไม่ใช่เป็นแค่สินบน จองคะแนนเสียงในการเลือกตั้ง
 
 
  • 24 มิ.ย. 2557 เวลา 13:41 น.
  • 1,321

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

ความคิดเห็นเกี่ยวกับ : ฝังกลบแท็บเล็ตประชานิยมยุติโครงการใช้งบชาติไม่คุ้มค่า

เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^