LASTEST NEWS

18 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 18 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 18 เม.ย. 2567(( ประกาศแล้ว )) รายชื่อผู้สอบผ่าน ภาค ก และ ข การสอบบรรจุรับราชการครูฯ ตำแหน่งบุคลากร 38 ค.(2) สังกัดสพฐ. ปีพ.ศ.2567 เช็กผลสอบ 38 ค. สพฐ. ได้ที่นี่ 18 เม.ย. 2567อย่างเป็นทางการ! กำหนดสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป สังกัดสพฐ. ปี พ.ศ.2567 ประกาศรับสมัครภายใน 1 พ.ค. 2567 - รับสมัคร 8-14 พ.ค.2567 18 เม.ย. 2567กรุงเทพมหานคร เปิดสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ (ทุนเอราวัณ) 84 อัตรา สมัคร 1 พฤษภาคม 2567 - 14 มิถุนายน 2567 18 เม.ย. 2567อย่างเป็นทางการ !! กทม.เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 592 อัตรา (สำรอง 125 อัตรา) - รายงานตัว 29-30 เม.ย.2567 18 เม.ย. 2567สพป.ยโสธร เขต 1 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 18 เม.ย. 2567สพป.อุดรธานี เขต 2 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 18 เม.ย. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 4 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567  18 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 2) สพป.ขอนแก่น เขต 5 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ขอนแก่น เขต 5

คุรุสภา รับรองสถาบันผลิตครู 8 แห่ง พร้อมทบทวนกระบวนการเข้าสู่อาชีพครู

  • 22 พ.ค. 2557 เวลา 09:39 น.
  • 3,119
คุรุสภา รับรองสถาบันผลิตครู 8 แห่ง พร้อมทบทวนกระบวนการเข้าสู่อาชีพครู

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

คุรุสภา รับรองสถาบันผลิตครู 8 แห่ง พร้อมทบทวนกระบวนการเข้าสู่อาชีพครู
 
นายไพฑูรย์ สินลารัตน์ ประธานคุรุสภา เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการคุรุสภา ว่า นางสุทธิศรี วงษ์สมาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ปลัด ศธ.) ได้หารือถึงข้อเสนอของผู้บริหารองค์กรหลักของศธ. เกี่ยวกับระบบผลิตและพัฒนาครู  ที่ขณะนี้ขาดแคลนครูเฉพาะด้านที่มีคุณสมบัติพิเศษจำนวนมาก ซึ่งเรื่องนี้คุรุภาได้ให้ความสำคัญ และได้ตั้งคณะทำงาน เพื่อทบทวนกระบวนการเข้าสู่วิชาชีพครูทั้งหมด โดยจะดูว่าคนที่เข้าสู่วิชาชีพครูมีกลุ่มใดบ้าง และเข้าสู่วิชาชีพครูโดยวิธีใด  ขณะเดียวกัน ปลัดศธ. ยังรับจะรวบรวมข้อมูล ในเรื่องที่อยากให้คุรุสภาพิจารณาปรับปรุงมีอะไรบ้าง อาทิ สาขาขาดแคลนในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) รวมถึงครูในสาขาขาดแคลนอื่น ๆซึ่งที่ผ่านมานายจาตุรนต์ ฉายแสง รก.รมว.ศธ. ก็เคยหารือกับตนโดยตรง ว่าไม่อยากให้มองข้ามผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในสาขาขาดแคลนเหล่านี้ และอยากให้เปิดช่องให้คนเหล่านี้มาเป็นครูได้ง่ายขึ้น เนื่องจากหลักเกณฑ์ต่าง ๆของคุรุสภา อาจจะยากและซับซ้อนเกินไปทำให้ไม่อยากมาสอบเพื่อขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ แต่โดยส่วนตัวเห็นว่าหลักเกณฑ์การเข้าสู่วิชาชีพครูของคุรุสภาขณะนี้ค่อนข้างเหมาะสมแล้ว ดังนั้น จึงอาจจะทำการศึกษาวิจัยหาเหตุผลที่แท้จริง โดยเฉพาะคนที่เป็นครูอยู่แล้ว แต่ยังไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ว่ามีเหตุผลอะไรที่ไม่เข้าสู่วิชาชีพเต็มตัว เพราะถ้าเขาอยากเป็นครูจริง ๆก็ควรปรับตัวให้เข้าสู่วิชาชีพ
 
ประธานคณะกรรมการคุรุสภา  กล่าวเพิ่มเติมว่า ส่วนที่เสนอให้มีช่องทางพิเศษ เฉพาะสาขาที่ขาดแคลนนั้น ตนเห็นว่าเป็นข้อเสนอที่ผิดกฎหมาย การให้คนกลุ่มหนึ่งได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูโดยอัตโนมัติ เป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว เพราะมีพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา กำกับอยู่ ดังนั้นแนวทางที่ดีที่สุดคือต้องมาหารือกันว่าคนที่อยากเข้าวิชาชีพครูเพราะอะไร และที่ไม่อยากเข้าเพราะอะไร แต่คุรุสภาจะไม่ปรับหลักเกณฑ์ให้วิชาชีพครูอ่อนแอลง เพราะที่ผ่านมาวงการครูถูกวิพากษ์วิจารณ์จากสังคมในทางไม่ดีอยู่แล้ว นอกจากนี้ที่ประชุมได้เห็นชอบให้การรับรองประกาศนียบัตรทางการศึกษา ในสถานที่ตั้ง ปีการศึกษา 2557 ของ 8 สถาบันการผลิตครู 11 หลักสูตร ดังนี้ 1.หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2556) มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี กรุงเทพฯ รับนักศึกษา จำนวน 180 คน 2. หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการศึกษา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2557) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ กรุงเทพฯ รับนักศึกษาจำนวน 30 คน 3.หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2556) มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น จ.เชียงใหม่ รับนักศึกษาจำนวน 100 คน 4.หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2556) มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี กรุงเทพฯ รับนักศึกษา 180 คน 5.หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2556) มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม รับนักศึกษา 180 คน
 
6.หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู (หลักสูตรใหม่ พ.ศ.2557) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ กรุงเทพฯ รับนักศึกษา 120 คน 7.หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2556)มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น จ.เชียงใหม่ รับนักศึกษาจำนวน 180 คน 8.หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2556) มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี รับนักศึกษาจำนวน 120 คน 9.หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2556) มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี จ.อุดรธานี รับนักศึกษาจำนวน 180 คน 10.หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู (หลักสูตรใหม่ พ.ศ.2557) มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.ของแก่น และ 11.หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2556) มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ จ.นนทบุรี โดยมีหลักเกณฑ์ว่าแต่ละปีมหาวิทยาลัยจะรับนักศึกษาได้ไม่เกิน 180 คน และรับห้องละไม่เกิน 30 คน และเก็บค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตรวงเงินไม่เกิน 35,000 บาท ต่อปี โดยคุรุสภาได้มีการรับรองครั้งนี้เป็นครั้งแรก 8 มหาวิทยาลัย และในเดือนมิ.ย.นี้ คุรุสภาจะรับรองสถาบันผลิตครูเพิ่มเติมอีก ประมาณ 30 สถาบันด้วย
 
 
  • 22 พ.ค. 2557 เวลา 09:39 น.
  • 3,119

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

ความคิดเห็นเกี่ยวกับ : คุรุสภา รับรองสถาบันผลิตครู 8 แห่ง พร้อมทบทวนกระบวนการเข้าสู่อาชีพครู

เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^