LASTEST NEWS

23 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 23 เม.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.เพชรบุรี เขต 2 23 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 23 เม.ย. 2567สพม.หนองคาย ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.หนองคาย 23 เม.ย. 2567สพป.ร้อยเอ็ด เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ร้อยเอ็ด เขต 1 23 เม.ย. 2567สพม.นครราชสีมา ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครราชสีมา 23 เม.ย. 2567สพป.เชียงใหม่ เขต 5 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.เชียงใหม่ เขต 5 23 เม.ย. 2567สพป.พระนครศรีอยุธยา เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.พระนครศรีอยุธยา เขต 1 23 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 23 เม.ย. 2567สพป.สงขลา เขต 3 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.สงขลา เขต 3

หากการอ่านคือรากฐานชีวิต คุณภาพการอ่านไทยพัฒนาถึงไหนแล้ว?

  • 14 พ.ค. 2557 เวลา 00:37 น.
  • 2,157
หากการอ่านคือรากฐานชีวิต คุณภาพการอ่านไทยพัฒนาถึงไหนแล้ว?

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ เราคงได้ยินคำกล่าวที่สร้างความฉงนและเป็นข้อกังขาสำหรับเด็กไทยและคนไทย ที่ว่ากันว่า "คนไทยอ่านหนังสือเพียงปีละ 8 บรรทัดเท่านั้น" ล่าสุดสำนักงานสถิติแห่งชาติ เปิดเผยผลการสำรวจในงานเสวนาผลการอ่านของประชาชน พ.ศ.2556 เมื่อวันที่ 22 เม.ย. 57 พบว่าจากกลุ่มตัวอย่าง 55,090 ครัวเรือนทั่วประเทศไทย พบว่า คนไทยอ่านหนังสือ 37 นาทีต่อวัน และมีประชากรไทยอ่านหนังสือมากถึง 80.87% 
 
ไทยรัฐออนไลน์ได้นำค่าสถิติ 37 นาทีของการอ่านหนังสือของไทยนี้ไปทดลองใช้งานจริงพบว่า
 
37 นาที อ่านหนังสือขนาดพ็อกเกตบุ๊กได้ประมาณ 15-20 หน้า ความเร็ววัดคนทั่วไป (คนอ่านหนังสือไล่สายตาเร็วจะได้หน้าเพิ่มก็ไม่ว่ากัน)
 
37 นาทีนี้อ่านเนื้อหาในเว็บไซต์ออนไลน์ได้จำนวน (เทียบมาตรฐาน 1 หน้าเอสี่เท่ากับ 1 หน้าคอลัมน์) ได้ประมาณ 22-35 คอลัมน์เรื่อง
 
37 นาทีอ่านข้อความข่าวสารในทวิตเตอร์ (twitter) ได้ประมาณ 150-240 ข้อความ (ขึ้นอยู่กับความเร็วของการอ่านแต่ละบุุคคลประกอบด้วย)
 
ยังไม่นับรวมการนำ 37 นาทีอันมีค่านี้สู่การอ่านรูปแบบอื่นๆ สุดจะสร้างสรรค์ต่อยอดกันไป 
 
แม้แต่อ่านข้อความที่เป็นข่าวสาร สาระประโยชน์ที่เพื่อนๆ ของคุณส่งต่อกันมาทางโปรแกรมแชตอย่างไลน์ (Line) ก็อ่านได้ยาวไม่รู้ตั้งเท่าไร (เคยได้เห็นคนส่งบทสวดชินบัญชรให้กันมาแล้ว)

 
37 นาทีกับการอ่านต่อยอดที่มีประโยชน์
นายวิบูลย์ทัต สุทันธนกิตติ์ ผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติ กล่าวว่า การสำรวจการอ่านหนังสือของประชากรเพื่อสำรวจพฤติกรรมการอ่านหนังสือทุกประเภทนอกเวลาเรียน/เวลาทำงาน การอ่านนี้รวมทั้งการอ่านผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ (เช่น อินเทอเน็ต ซีดี อีบุ๊ก สมาร์ทโฟน ฯลฯ) โดยผลสำรวจประชากรอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไปมีอัตราการอ่านหนังสือเพิ่มขึ้นมากจากร้อยละ 68.6 ในปี 2554 เป็นร้อยละ 81.8 ในปี 2556 โดยอัตราการอ่านเพิ่มขึ้นทุกกลุ่มวัย ส่วนประเภทของหนังสือที่มีผู้อ่านมากที่สุด คือ หนังสือพิมพ์ร้อยละ 73.7 รองลงมาคือ วารสาร/เอกสารประเภทที่ออกเป็นประจำ ร้อยละ 55.1
 
อินเทอเน็ต อีบุ๊ก สมาร์ทโฟน เป็นน้องใหม่มาแรงของการอ่านของคนไทย...
ผลสำหรับของสำนักสถิติแห่งชาติยังรายงานอีกว่า ประชากรไทยอ่านหนังสือผ่านช่องทางอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นถึงเท่าตัว (ปี 2554 ร้อยละ 4.7 ในปี 2556 เพิ่มเป็นร้อยละ 10.1) และในส่วนย่อยเพิ่มเติมอย่าง แท็บเล็ต อีบุ๊ก สมาร์ทโฟน พบว่า คนไทยอ่านหนังสือผ่านช่องทางดังกล่าวเพิ่มเป็น 6 เท่า(ปี 2554 อยู่ที่ร้อยละ 0.3 ต่อมาปี 2556 เพิ่มเป็น 1.8) 
 
 
นายวิบูลย์ทัต สุทันธนกิตติ์ ผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติ
 
นโยบายของรัฐ จาก สพฐ.กับการผลักดัน "ทศวรรษการอ่าน"
นางศกุนตลา สุขสมัย นักวิชาการศึกษา หัวหน้ากลุ่มพัฒนาและส่งเสริมวิทยบริการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กล่าวเพิ่มเติมว่า ข้อมูลจากสำนักสถิติแห่งชาติ ยังมีส่วนที่ สพฐ.และภาครัฐยังต้องทำงานเพื่อเพิ่มเวลาการอ่านให้สูงขึ้น เป็นความท้าทายอย่างหนึ่ง 
 
ทาง สพฐ.พยายามหาแนวทางนโยบายล่าสุดคือ ทศวรรษการอ่าน การดำเนินงานส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน พัฒนาห้องสมุดโรงเรียนใช้งบประมาณตั้งแต่ปี 2557-2561 เป็นแผนระยะยาว มีกำหนดเป้าหมายใหญ่รายปี สู่เป้าหมายการอ่าน 60 นาทีต่อวัน รวมทั้งจำนวนหนังสือที่เรากำหนดในขั้นต้นว่า อย่างน้อยใน 1 ปีการศึกษา เด็กน่าจะได้อ่านหนังสืออื่นนอกจากหนังสือเรียนช่วงแรก ป.1-3 ปีละ 5 เล่ม ไม่ว่าจะเล่มเล็กหรือใหญ่ขอให้เป็นหนังสืออื่น นโยบายของ สพฐ. อยากให้ห้องสมุดโรงเรียนเปิดให้กับคนในชุมชน มองไปถึงหนังสือที่ผู้ใหญ่จะอ่านได้ตามสังคมและสิ่งแวดล้อมของคนเหล่านั้นเพิ่มเติมด้วย
 
 
นางศกุนตลา สุขสมัย นักวิชาการศึกษา หัวหน้ากลุ่มพัฒนาและส่งเสริมวิทยบริการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)
 
แต่... ปัญหาก็ยังมีอยู่ ต้องร่วมไม้ร่วมมือปรับแนวทางแก้ไขกันต่อไป
ดร.สิริกร มณีรินทร์ ประธานอนุกรรมการสำนักงานอุทยานการเรียนรู้ (ทีเค พาร์ค) กล่าวว่าเรื่องของการอ่านเป็นเรื่องสำคัญประการหนึ่ง ต้องย้อนกลับมาดูว่า 27 นาทีและ 37 นาทีของเด็กเล็กและเด็กโตตามลำดับนั้นเพียงพอหรือไม่ ผลจากทดสอบจากสทศ.เองที่ออกมา ส่วนของทักษะในการอ่าน การคิดคำนวณไม่ค่อยดีนัก จากข้อมูลยังพบว่า เด็กวัยรุ่น อ่านไม่เป็นคิดไม่เป็นเท่าที่ควร ทักษะในการใช้ภาษาไทยลดลงมาก จากการสำรวจเพิ่มของสำนักสถิติแห่งชาติ เรื่องของข้อเสนอแนะวิธีการรณรงค์ให้คนไทยอ่านหนังสือมากขึ้น จากการจัดหารือและระดมความคิดเห็น พบว่า ควรจะมีหน่วยงานที่จัดเพื่อการรณรงค์และส่งเสริมการอ่านอย่างจริงจัง 
 
หากต้องการให้เกิดผลในระดับชาติ อาจต้องมีหน่วยงานระดับชาติที่เข้ามาดูแลให้ครอบคลุมทุกช่วงอายุ หากเราดูประเทศต่างๆ ที่ผ่านวิกฤติของประเทศไปได้ การอ่านเป็นเรื่องที่จะต้องทำเพื่อประคองชาติเจริญก้าวหน้า ต้องผนึกกำลังหลายหน่วยงานช่วยกัน 
 
นอกจากนี้ยังมีข้อแนะนำปิดท้ายจาก ผอ.สำนักงานสถิติฯ ในฐานะ "นักอ่าน" คนหนึ่งว่า สำหรับการปลูกฝังการอ่านในเด็กให้ต่อเนื่อง อย่าไปสอนให้เป็นพิธีการมากนัก ให้เป็นธรรมชาติที่สุด เช่น ตอนเด็กเล็กสมัยก่อน ชอบอ่านเซเลอร์มูน อย่าขัดขวาง ให้เด็กค่อยๆ มีนิสัยค่อยเป็นค่อยไปจากไม่เคยหยิบหนังสือ มองหนังสือ จับหนังสือ อ่านหนังสือ ตัวเราเองเป็นผู้ใหญ่ ต้องจับหนังสืออ่านให้เขาเห็นด้วยว่า ที่สำคัญหากมีหนังสือต้องวางให้เลือกหยิบอ่านได้ง่าย มีทุกที่ในบ้าน อยู่ตรงไหนก็หยิบอ่าน สร้างสิ่งแวดล้อมให้เห็น
 
ทั้งหมดทั้งมวล หากจะปลูกฝังนิสัยรักการอ่านแก่เด็กไทยของเรา ว่ากันว่า สิ่งแรกคงต้องเริ่มกันตั้งแต่ในวัยเด็กเล็กก่อนวัยเรียน และสร้างวัฒนธรรมให้หนังสือเป็นสิ่งแวดล้อมสำคัญของเด็กไทย คนไทยทุกคน จากวันนี้ไปก็จะไม่มีคำว่า คนไทยอ่านหนังสือ 8 บรรทัดต่อปีอีกต่อไป ควรแทนที่ด้วยคำว่า สังคมไทย คือสังคมแห่งการอ่านและปัญญา ถึงเวลาที่ทุกคนต้องพร้อมใจอ่านหนังสือแล้วหรือยัง? สุดท้าย ท้ายที่สุดประโยชน์ของการอ่านจะสะท้อนย้อนกลับสู่ผู้ขวนขวายอ่านหนังสือเองทั้งสิ้น.
 
  • 14 พ.ค. 2557 เวลา 00:37 น.
  • 2,157

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

ความคิดเห็นเกี่ยวกับ : หากการอ่านคือรากฐานชีวิต คุณภาพการอ่านไทยพัฒนาถึงไหนแล้ว?

เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^