LASTEST NEWS

02 พ.ค. 2567สพฐ. ห่วงใยแนะแนวทางการป้องกัน ดูแล ครูและนักเรียน ในสภาพอากาศร้อนจัด 02 พ.ค. 2567สพป.เชียงใหม่ เขต 6 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 13 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 02 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 02 พ.ค. 2567สพป.เชียงใหม่ เขต 5 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 42 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 02 พ.ค. 2567สพม.เพชรบุรี ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 12 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 02 พ.ค. 2567สพป.กาฬสินธุ์ เขต 2 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 6 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 02 พ.ค. 2567สพม.กาญจนบุรี ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 20 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 02 พ.ค. 2567สพป.กาญจนบุรี เขต 4 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 21 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 02 พ.ค. 2567สพป.กาญจนบุรี เขต 3 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 50 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 02 พ.ค. 2567สพป.กาญจนบุรี เขต 2 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 17 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567

นักวิชาการแนะ การศึกษาไทย’ 57 ต้องเลิกตามก้นนักการเมือง

  • 02 ม.ค. 2557 เวลา 11:04 น.
  • 2,131
นักวิชาการแนะ การศึกษาไทย’ 57 ต้องเลิกตามก้นนักการเมือง

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

นักวิชาการแนะ การศึกษาไทย’ 57 ต้องเลิกตามก้นนักการเมือง
 
กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ไทยแหล่งรวมคลังสมองของชาติ คือ ความหวังใหญ่ในการบ่มเพาะ เพื่อสร้างคนดี คนเก่ง มีคุณภาพเพื่อสร้างคุณประโยชน์ในการพัฒนาประเทศ แต่ในปี 2556 ที่ผ่านมาจะพบว่าการศึกษาไทย ประสบเจอวิกฤตปัญหาและความวุ่นวายเหมือนตกหลุมอากาศ ขณะที่บางห้วงเวลาก็เหมือนเจอภาวะสุญญากาศ เลื่อนลอย ไร้ที่ยึดเหนี่ยว ทำให้ผลงานขาดความโดดเด่น แม้ตลอดปีจะจัดอีเว้นท์ใหญ่ ๆ เป็นระยะ อาทิ การประกาศให้การศึกษาเป็นวาระแห่งชาติ ให้ปี 2556 เป็นปีแห่ง “การรวมพลังยกระดับคุณภาพการศึกษา” , ประกาศความพร้อมของ ศธ. และสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลในการนำพาประเทศไทยก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 ฯลฯ แต่การทำงานยังคงก้าวไปอย่างเชื่องช้า
       
       ก้าวสู่ศักราชใหม่ 2557 กับปีมะเมีย หรือ “ม.-ม้า คึกคัก” โอกาสนี้ทาง ASTVผู้จัดการออนไลน์ อยากร่วมเป็นส่วนหนึ่งที่สนับสนุนให้การศึกษาไทยมีแต่ความตื่นตัว ว่องไว กระฉับกระเฉง จึงได้สอบถามความเห็นจากนักวิชาการด้านการศึกษา 3 ท่านเพื่อขอให้ร่วมสะท้อนมุมมองจุดอ่อนที่ผ่านมา รวมถึงคำแนะนำถึงทิศทางของการศึกษาไทยตลอดปี 2557 ควรจะเร่งเดินหน้าเรื่องใดเป็นสำคัญ หวังเป็นเข็มทิศนำทางให้ผู้ที่อยู่ในแวดวงการศึกษาทุกคนรวมถึงผู้ปกครองและคนที่สนใจ
       
       เริ่มกันที่ รศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ความเห็นว่า ปีที่ผ่านมา กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้มีการวางนโยบายการศึกษาทั้งการปฏิรูปการเรียนรู้ การวัดผลประเมินผล การปรับระบบการรับตรงในมหาวิทยาลัย หรือแม้แต่การกำหนดแนวทางการเพิ่มสัดส่วนนักเรียนสามัญต่อสายอาชีพ ให้ได้ 51:49 ภายในปีการศึกษา 2558 เป็นต้น แต่เนื่องจากขาดการขับเคลื่อนทำให้ไม่เห็นผลชัดเจนในทางปฏิบัติ ดังนั้น ในปี 2557 ศธ.จะต้องก้าวออกจากห้องประชุมที่เปิดรับฟังความเห็น แล้วมาทำงานขับเคลื่อนและผลักดันนโยบายเหล่านี้ไปสู่การปฏิบัติให้เห็นผลเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนเป็นอันดับแรก อันดับต่อมา ต้องให้ความสำคัญกับการสอนเรื่องหน้าที่พลเมืองในระบอบประชาธิปไตยที่ถูกต้องให้แก่นักเรียน สอนให้รู้จักคิดวิเคราะห์ เรียนรู้ที่จะยอมรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่าง เข้าใจในสิทธิหน้าที่ จากนั้นต้องเร่งแก้ไขปัญหาความไม่เสมอภาคทางการศึกษาโดยเฉพาะระหว่างสังคมเมืองและชนบท ต้องทำให้โอกาสทางการศึกษาเข้าถึงเด็กทุกคนได้มากขึ้นเพราะเป็นพื้นฐานสำคัญในการส่งเสริมให้ทุกคนเข้าได้เข้าถึงความรู้ ความเข้าใจคิดไตร่ตรองอย่างเป็นระบบ ซึ่งแนวทางนี้ต่อให้ได้ถูกใส่ข้อมูลข่าวสาร หรือข้อมูลทางความคิดแบบสุดขั้วจะไม่มีทางเกิดผลสำเร็จ เพราะเด็กได้รับการปลูกฝังและวางรากฐานทางความคิดอย่างเป็นระบบแต่ต้น รวมไปถึงต้องเร่งส่งเสริมการสอนคุณธรรม จริยธรรมให้แก่เด็ก การปลูกฝังค่านิยมโตไปไม่โกง เพราะเป็นพื้นฐานสำคัญเป็นเทรนด์ใหญ่ของสังคมในยุคนี้


รศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ
 
       
       “สำคัญที่สุดที่ต้องทำในปี 2557 ศธ.ต้องเตรียมตั้งคณะกรรมการปฏิรูปการศึกษา ปี 2557 เน้นเพื่อปฏิรูปการศึกษาอย่างแท้จริงโดยไม่แตะเกี่ยวข้องกับโครงสร้าง เพราะการปฏิรูปการศึกษา ทศวรรษที่ 2 ที่ผ่านมาเป็นการปฏิรูปผ่านตัวอักษรแต่ไม่ลงมือทำ เมื่อเราจะมีการปฏิรูปการเมือง เราก็ต้องปฏิรูปการศึกษาด้วย โดยเราต้องไม่ทำให้การศึกษากลายเป็นอนุของระบบเศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรม ตรงกันข้ามเราต้องทำให้การศึกษาเป็นตัวชี้นำ เป็นร่มใหญ่ บุกเบิกการเปลี่ยนแปลงปฏิรูปทางการเมือง และสังคมในเวลานี้ ต้องทำให้การศึกษาแตกต่างจากอดีตไม่มัวเดินตามนักการเมือง แต่ระบบราชการของ ศธ.ต้องหันมาปฏิรูปตนเองต้องใช้โอกาสนี้เปลี่ยนแปลงและปลดล็อคตัวเอง คณะกรรมการของแต่ละองค์กรหลักของ ศธ.ควรใช้โอกาสนี้ในการศึกษาทบทวนบทบาท พร้อมทั้งวางเป้าหมายที่จะเดินหน้าพัฒนาการศึกษาต่อเนื่อง ข้าราชการ ศธ.ต้องเดินนำนักการเมืองในเรื่องที่เป็นหลักงานเนื้อแท้เพื่อตัวเราเองและเพื่อนักเรียน ต้องไม่ตามการเมืองจนเสียศูนย์ความเป็นตัวของตนเอง”รศ.ดร.สมพงษ์ กล่าว
       
       ขณะที่ รศ.ดร.ประวิต เอราวรรณ์ คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (มมส.) ในฐานะประธานสภาคณบดีครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทย กลุ่ม 16 สถาบัน ระบุว่า ที่ผ่านมาการศึกษาไทยยังคงต่างคิดต่างทำอีกทั้งยังมีการเปลี่ยนแปลง รมว.ศึกษาธิการ บ่อยจนเกิดผลกระทบต่อการทำงานของราชการ ดังนั้น ในปี 2557 ศธ.ควรต้องมาตั้งต้นวางเป้าหมาย ทิศทางที่จะขับเคลื่อนการศึกษาที่ชัดเจนโดยต้องเชื่อมโยงปัญหาทางสังคม และปัญหาการเมืองที่สลับซับซ้อนเข้ามาและใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือในการแก้ไขและลดช่องว่างที่เกิดขึ้นเพื่อให้ทุกภาคส่วนมีการเชื่อมโยงสอดประสานกัน นอกจากนี้ ศธ.จะต้องปรับลดบทบาทตัวเองเลิกกำหนดโจทย์ให้เขตพื้นที่การศึกษา และโรงเรียนเดินตามแต่ให้อิสรภาพทางวิชาการและอิสรภาพการตัดสินใจแก่เขตพื้นที่ฯ และโรงเรียนไปวางแผนพัฒนาคุณภาพครู คุณภาพนักเรียน รวมทั้งพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนที่เหมาะสมแก่เด็ก โดยกำหนดให้คุณภาพของโรงเรียนคือตัวชี้วัดผลงานของผู้บริหารโรงเรียน ส่วน ศธ.ทำหน้าที่ให้การสนับสนุนงบประมาณที่จะช่วยโรงเรียนพัฒนาได้ตามศักยภาพตนเอง
       
       “อยากให้ ศธ.ทำเรื่องหลัก ๆ ที่เป็นปัญหาและโจทย์ใหญ่ของประเทศ คือ ปัญหานักเรียนล้นห้อง ที่ เพราะมีข้อมูลทางระบุว่าจำนวนนักเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาที่เหมาะสมไม่ควรเกิน 35 คนต่อห้อง แต่ในประเทศไทยเกินกว่านั้นดังนั้น ควรต้องเร่งแก้ไขจริงจังต้องเฉลี่ยจำนวนนักเรียนไปเรียนสายอาชีพมากขึ้น แม้จะมีนโยบายเพิ่มสัดส่วนผู้เรียนสายสามัญต่อสายอาชีพ 51:49 และนำวิธีการแนะแนวมาใช้แต่ผมเชื่อว่าช่วยได้เพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น แต่ที่สุดผมเสนอว่า ศธ.ต้องออกเป็นกฎระเบียบบังคับเรื่องการกำหนดจำนวนนักเรียนต่อห้อง จะเป็นการบังคับโรงเรียนในตัว แต่ผลที่ได้รับครูจะมีเวลาดูแลเด็กและพัฒนาเด็กได้มีคุณภาพมากขึ้น ส่วนอื่น ๆ ก็ต้องวางแผนบริหารจัดการศึกษาให้ดีมีคุณภาพให้ได้ และอีกเรื่องที่ควรทำให้เกิดผลสำเร็จ คือ การลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาทำให้โรงเรียนมีความแตกต่างทางคุณภาพลดลง กระจายโอกาส ทรัพยากรให้โรงเรียนอย่างทั่วถึงและเสมอ”รศ.ดร.ประวิต กล่าว


รศ.ดร.ประวิต เอราวรรณ์
       
       เช่นเดียวกับ ผศ.ดร.สุรวาท ทองบุ คณบดีคณะครุศาสตร์ ม.ราชภัฏมหาสารคาม อดีตประธานสภาคณบดีคณะครุศาสตร์และศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทย (ส.ค.ศ.ท.) กล่าวว่า ในปี 2557 ศธ.โดยเฉพาะผู้บริหารแต่ละองค์กรหลักควรจะต้องมีทิศทางการทำงาน หลักยุทธศาสตร์ทำงานที่เป็นของตนเอง ต้องยืนหยัดชัดเจนโดยเฉพาะในงานที่ทำแล้วพบว่าถูกต้องเหมาะสม ไม่มัวรอแต่ตามนโยบายของ รมว.ศึกษาธิการ จนเสียสูญความเป็นตนเอง จะเห็นได้ว่าช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมาแม้แต่จะประกาศปฏิรูปการศึกษา ทศวรรษที่ 2 แต่ในทางปฏิบัติก็เหมือนกับซอยเท้าอยู่กับที่ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง หรือแม้แต่การประกาศนโยบายก็เหมือนการจุพลุที่เกิดไฟสว่างอยู่เพียงจุดเดียวไม่สะเทือนลงไปสู่ผู้เรียน ผู้สอนเพราะไม่รู้จะต้องปฏิบัติอย่างไร
       
       “ถึงเวลาที่ผู้บริหาร ข้าราชการกระทรวง รวมทั้งระดับเขตพื้นที่ต้องกำหนดทิศทางการทำงานของตนเองโดยเฉพาะวางแผนการปฏิรูปการเรียนรู้ ไม่หวังหรือนำตัวไปผูกพันกับนโยบายเกินไป ต้องมีการประสานเชื่อมโยงกันแต่ละหน่วยงานเพราะที่ผ่านมายังต่างคนต่างทำ ไม่มีเอกภาพแต่ในหลายเรื่องสามารถทำงานแบบบูรณาการร่วมกันได้ การศึกษาไทยควรมีพิมพ์เขียวทางการศึกษาที่ชัดเจน เพื่อที่เมื่อพูดถึงการศึกษาก็พูดและเข้าใจตรงกันตั้งแต่ระดับผู้บริหารสูงสุด ผอ.โรงเรียน หรือครูผู้สอน รวมทั้งต้องจัดทำระบบฐานข้อมูลใหม่โดยเฉพาะจำนวนความต้องการครู อัตราเกษียณ ฯลฯ เพราะทุกวันนี้ยังบริหารจัดการภายใต้ข้อมูลที่สับสนและต้องสำรวจใหม่ทุกครั้ง และฝากถึงนักการเมืองทุกคน ทุกพรรคควรจะตั้งวอรูมการศึกษาโดยเฉพาะเพื่อจะได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงและเข้าใจปัญหา เมื่อเดินเข้ามาทำงานจะได้มาพร้อมกับแผนงานและยุทธศาสตร์ภายใต้ความรู้และเข้าใจที่จะพัฒนาการศึกษาให้ก้าวไปข้างหน้า ไม่เสียเวลาไปกับการศึกษาระดมสมองหรือมาลองถูกลองผิด ยิ่งหากเกิดกระแสต้านหนักเข้าก็ลังเลยกเลิกจนไม่สามารเดินหน้าทำงานได้”ผศ.ดร.สุรวาท กล่าว


ผศ.ดร.สุรวาท ทองบุ 
 
 
  • 02 ม.ค. 2557 เวลา 11:04 น.
  • 2,131

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

ความคิดเห็นเกี่ยวกับ : นักวิชาการแนะ การศึกษาไทย’ 57 ต้องเลิกตามก้นนักการเมือง

เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^