LASTEST NEWS

24 เม.ย. 2567สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดสอบพนักงานราชการ 350 อัตรา วุฒิปริญญาตรี อัตราเงินเดือน 20,540 - 22,750 บาท ตั้งแต่วันที่ 30 เม.ย. - 8 พ.ค. 2567 24 เม.ย. 2567สพป.เลย เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.เลย เขต 2 24 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 24 เม.ย. 2567สพป.ร้อยเอ็ด เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ร้อยเอ็ด เขต 2 24 เม.ย. 2567สพป.สกลนคร เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.สกลนคร เขต 2 24 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 24 เม.ย. 2567สพป.เชียงใหม่ เขต 5 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 27 อัตรา - รายงานตัว 1 พฤษภาคม 2567 24 เม.ย. 2567สพป.ตาก เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ตาก เขต 2 24 เม.ย. 2567สพม.น่าน ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.น่าน 24 เม.ย. 2567สพป.เชียงใหม่ เขต 4 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.เชียงใหม่ เขต 4

จุฬาฯเปิดตัวโปรแกรม สกัด ลอกผลงานวิชาการ

  • 27 ส.ค. 2556 เวลา 00:26 น.
  • 13,078
จุฬาฯเปิดตัวโปรแกรม สกัด ลอกผลงานวิชาการ

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

จุฬาฯเปิดตัวโปรแกรม สกัด ลอกผลงานวิชาการ

จุฬาฯ เปิดตัวโปรแกรม "อักขราวิสุทธิ์" ดัดหลังพวกลอกผลงานวิชาการ ประเดิมวิทยานิพนธ์ ป.โท-เอก ส่วนประกอบ.ตรี จับได้แน่ พวกลอกวิกิพีเดียส่งรายงาน...
 
วันที่ 26 ส.ค.56 ผศ.ดร.ม.ร.ว.กัลยา ติงศภัทิย์ รองอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ รศ.ดร.อมร เพชรสม คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย และคณะร่วมกันแถลงข่าว "จุฬาฯ กับมาตรการในการป้องกันการลักลอกผลงานวิชาการ" โดย ผศ.ดร.ม.ร.ว.กัลยา เปิดเผยว่า เรื่องการลักลอกผลงานวิชาการเป็นเรื่องที่วงการวิชาการในต่างประเทศให้ความสำคัญมาก และถือว่าเป็นความผิดร้ายแรงมาก จุฬาฯ ก็ให้ความสำคัญ โดยสภามหาวิทยาลัยได้กำหนดให้เป็นนโยบายในการตรวจสอบการลักลอกผลงานวิชาการ โดยเริ่มตรวจสอบในระดับบัณฑิตศึกษา โดยใช้โปรแกรมที่จุฬาฯ พัฒนาขึ้นเอง เรียกว่า โปรแกรมอักขราวิสุทธิ์ ซึ่งได้ผลดีมากสำหรับวิทยานิพนธ์ด้านวิทยาศาสตร์ เนื่องจากเป็นรายวิชาที่ต้องใช้ข้อมูลใหม่ย้อนหลังภายใน 1-2 ปี ในขณะที่วิทยานิพนธ์ ด้านประวัติศาสตร์ซึ่งข้อมูลต่างๆ ไม่ค่อยเปลี่ยนแปลง ทำให้การตรวจสอบยังคงต้องอาศัยอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ มาเป็นผู้ตรวจสอบ ทั้งเชิญชวนให้มหาวิทยาลัยอื่นมาใช้โปรแกรมนี้เพื่อป้องกันการคัดลอกผลงานทางวิชาการด้วย     
 
รศ.ดร.อมร กล่าวว่า ขณะนี้จุฬาฯ ยึดหลัก "จุฬาฯ ร้อยปีต้องไม่มี Plagiarism (การคัดลอกผลงาน)" โดยกำหนดให้นิสิตเขียนวิทยานิพนธ์ด้วยโปรแกรม ซียู อี-ธีสิส (CU e-Thesis) ซึ่งอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ จะสามารถติดตามวิทยานิพนธ์ได้ตลอดเวลา หากพบว่านิสิตคนใดเขียนดีขึ้นอย่างผิดปกติก็จะทราบได้ทันที  ขณะเดียวกันก็จะใช้โปรแกรมอักขราวิสุทธิ์ ตรวจสอบข้อความที่เหมือนหรือคล้ายกัน แต่ในอนาคตจะพัฒนาโปรแกรมให้รองรับการตัดต่อหรือสลับข้อความ รวมถึงการคัดลอกข้อความโดยหลีกเลี่ยงใช้คำภาษาไทยอื่นๆ ที่มีความคล้ายคลึงกันได้ด้วย โดยจะเริ่มใช้ทันทีในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 ซึ่งคาดว่าจะมีวิทยานิพนธ์ประมาณ 700-800 เล่มที่จะเข้ารับการตรวจสอบ จากนั้นจะทำการตรวจสอบวิทยานิพนธ์ 15,000 เล่ม ซึ่งย้อนหลังตั้งแต่ปีการศึกษา 2548 เพื่อบรรจุเข้าเป็นข้อมูลพื้นฐานของจุฬาฯ ทั้งนี้ หากตรวจพบว่ามีการคัดลอกผลงาน ก็จะถอดถอนปริญญาบัตร จากนั้นในปีการศึกษา 2557 จะพัฒนาโปรแกรมเพื่อตรวจสอบระดับปริญญาตรี อาทิ การทำรายงาน ซึ่งส่วนนิสิตมักนำข้อมูลมาจากวิกิพีเดีย     
 
คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย กล่าวต่อว่า คณะผู้พัฒนาโปรแกรมอักขราวิสุทธิ์ ได้แก่ รศ.ดร.วิวัฒน์ วัฒนาวุฒิ, ผศ.ดร.โชติรัตน์ รัตนามหัทธนะ, ดร.วิชญ์ เนียรนาทตระกูล และนายไพโรจน์ ลีลาภัทรกิจ จากภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯและ รศ.ดร.วิโรจน์ อรุณมานะกุล จากศูนย์วิจัยการประมวลผลภาษาและวัจนะ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ
 



จุฬาฯเปิดตัวระบบตรวจ"ลอกผลงาน" ลูกศิษย์วิกิพีเดีย-อาจารย์กูเกิลหนาวแน่/เอกซเรย์ย้อนหลัง1.5หมื่นชิ้น
 
     จุฬาฯ เปิดตัวโปรแกรม "อักขราวิสุทธิ์" ระบบตรวจสอบการลอกผลงานวิชาการ วิทยานิพนธ์ เทียบเคียงประโยคต่อประโยค ก๊อบปี้วิกิพีเดีย-กูเกิลหรือไม่ โดยจะตรวจย้อนหลัง 15,000 ผลงาน ถ้าเจอมีการลอกจริง ถอนใบปริญญาแน่ ส่วนพวกใช้บริการมือปืนรับจ้างทำผลงานต้องให้อาจารย์ที่ปรึกษาช่วยกวดขัน เริ่มใช้ปริญญาโท-ปริญญาเอกปีการศึกษานี้ ส่วนปริญญาตรีเริ่มปีการศึกษาหน้า และยังเปิด CU E-THESIS ทำวิทยานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์ ไม่ต้องทำเป็นเล่ม ลดค่าใช้จ่าย
 
    ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แถลงข่าวเรื่อง “จุฬาฯ กับมาตรการในการป้องกันการลักลอกผลงานวิชาการ” โดยได้พัฒนาระบบการเขียนวิทยานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์ (CU E-THESIS) และโปรแกรมอักขราวิสุทธิ์ โดย ผศ.ม.ร.ว.กัลยา ติงศภัทิย์ รองอธิการบดีจุฬาฯ เปิดเผยว่า ปัจจุบันเทคโนโลยีก้าวหน้าไปมาก ทำให้การลอกผลงานง่ายขึ้นเพียงแค่คลิก COPY-PASTE ถือว่าง่ายกว่าแต่ก่อนมาก ขณะที่จุฬาฯ ก็พัฒนาเครื่องมือมาตรวจสอบ เพื่อป้องกันการลอกผลงานวิชาการ ทั้งนี้ การลอกผลงานวิชาการปัจจุบันส่วนใหญ่อยู่หลังระดับปริญญาตรี ขณะที่ปริญญาตรีขณะนี้ก็มีปัญหานี้ไม่น้อย ส่วนใหญ่มีปัญหาไปคัดลอกข้อมูลมาจาก Wikipedia ฉะนั้นในอนาคตจุฬาฯ ก็จะพัฒนาเครื่องมือมาตรวจสอบสารนิพนธ์ด้วย ตั้งเป้าจะเริ่มตั้งแต่ปีการศึกษา 2557 อย่างไรก็ตาม ระบบดังกล่าวได้เริ่มดำเนินการในปีการศึกษา 2556 นี้ มีผลทันทีกับนิสิตปัจจุบัน รวมถึงการย้อนไปตรวจสอบวิทยานิพนธ์เก่าๆ ตั้งแต่ปี 2548 ที่เป็นรูปแบบไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 15,000 ผลงานด้วย ซึ่งหากตรวจย้อนหลังแล้วพบว่ามีการคัดลอกมา ทางมหาวิทยาลัยก็จะขอเรียกคืนใบปริญญา
 
    รศ.อมร เพชรสม คณบดีบัณฑิตวิทยาลัยจุฬาฯ กล่าวถึงระบบ CU E-THESIS และโปรแกรมอักขราวิสุทธิ์ ว่า ระบบ CU E-THESIS ถือเป็นการทำวิทยานิพนธ์รูปแบบใหม่ จากเดิมที่ทำเป็นเล่มให้เปลี่ยนทำเป็นรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะมีข้อดีหลายเรื่องกว่าการทำเป็นเล่ม เช่น ระบบมีรูปแบบการทำวิทยานิพนธ์ที่ถูกต้อง นิสิตและอาจารย์จะไม่ต้องกังวลเรื่องรูปแบบการทำวิทยานิพนธ์เหมือนที่ผ่านมา ขณะที่อาจารย์ที่ปรึกษาสามารถดูร่างวิทยานิพนธ์ได้ตลอดผ่านระบบ ทำให้สามารถติดตามงานเขียนนิสิต ส่งงานเขียน และให้ปรับปรุงได้อย่างใกล้ชิดตลอดเวลา ขณะเดียวนิสิตก็จะทราบผ่านระบบว่าอาจารย์ที่ปรึกษาเข้ามาตรวจเช็กร่างวิทยานิพนธ์บ้างหรือไม่ เวลาใด กี่ครั้ง
 
    คณบดีฯ กล่าวอีกว่า ส่วนโปรแกรมอักขราวิสุทธิ์ก็ทำงานควบคู่กันไป ทำหน้าที่ตรวจสอบการลักลอกผลงาน ตรวจสอบจากฐานข้อมูลที่มีอยู่ เช่น ฐานข้อมูลของจุฬาฯ สารนิพนธ์จุฬาฯ CU e-Book Wikipedia โดยเวอร์ชั่นนี้ยังเป็นการตรวจสอบตรงแบบประโยคต่อประโยคอยู่ จากนั้นจะแจ้งผลประโยคที่เหมือนกันเป็นเปอร์เซ็นต์ แล้วแจ้งว่านำประโยคดังกล่าวมาจากแหล่งข้อมูลใด ซึ่งเป็นการป้องกันการลอกผลงานทางวิชาการกัน ทั้งนี้ ปัจจุบันมีโปรแกรม Turnitin ของต่างประเทศทำหน้าที่ตรวจสอบการคัดลอกวิทยานิพนธ์ที่เป็นภาษาอังกฤษอยู่แล้ว แต่เนื่องจากใช้ไม่ดีกับภาษาไทย จุฬาฯ จึงพัฒนาโปรแกรมอักขราวิสุทธิ์ขึ้นมา ซึ่งในเวอร์ชั่นต่อไปจะพัฒนาให้สามารถตรวจสอบประโยคที่มีความคล้ายคลึงของเนื้อหากันด้วย ซึ่งตั้งเป้าจะเริ่มในปีการศึกษาหน้าต่อไป
 
    “ถึงแม้โปรแกรมและระบบจะไม่สามารถตรวจสอบการลักลอบผลงานวิชาการได้ 100% แต่อย่างน้อยก็ทำให้รู้ว่าเรามีนวัตกรรมการทำวิทยานิพนธ์รูปแบบใหม่ และมีการป้องกันการลักลอกระดับหนึ่ง ทั้งนี้ จุฬาฯ ก็ยินดีหากมหาวิทยาลัยอื่นๆ อยากมาใช้ระบบและโปรแกรมร่วมกัน ซึ่งก็จะเป็นเรื่องดีที่จะทำให้ฐานข้อมูลกว้างขึ้น เราไม่คิดค่าใช้จ่าย โดยสามารถติดต่อมาได้ที่บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ อย่างไรก็ตาม คิดว่าหากจะทำให้ไม่เกิดการลอกผลงานและการรับจ้างทำผลงานวิชาการที่สมบูรณ์ ทั้งนิสิต/นักศึกษาและอาจารย์ที่ปรึกษาจะเป็นส่วนสำคัญ อย่างอาจารย์ต้องคอยหมั่นตรวจเช็กร่างวิทยานิพนธ์อยู่ตลอด ดูพัฒนาการของลูกศิษย์ ซึ่งหากทำไม่เคยผิดเลยก็ถือว่าน่าสงสัย” รศ.อมรกล่าว. 
 
 
  • 27 ส.ค. 2556 เวลา 00:26 น.
  • 13,078

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

ความคิดเห็นเกี่ยวกับ : จุฬาฯเปิดตัวโปรแกรม สกัด ลอกผลงานวิชาการ

เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^