LASTEST NEWS

29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.สระบุรี - ผลย้ายครู 2567 สพม.สระบุรี 29 มี.ค. 2567(( ลิงก์เว็บไซต์ )) ประกาศผลสอบรับใบประกอบวิชาชีพครู ครั้งที่ 1/2567 ประกาศผลสอบวันที่ 29 มีนาคม 2567 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 3 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 26 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.ชลบุรี เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ชลบุรี เขต 3 29 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.สงขลา เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.สงขลา เขต 1 29 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.พิจิตร เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.พิจิตร เขต 2

พงศ์เทพดื้อยุบรร.เล็ก กสม.วอนรัฐจัดพิจารณ์

  • 16 พ.ค. 2556 เวลา 06:10 น.
  • 2,189
พงศ์เทพดื้อยุบรร.เล็ก กสม.วอนรัฐจัดพิจารณ์

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

สภาการศึกษาทางเลือกเข้าพบ "พงศ์เทพ" แนะแก้ปัญหาโรงเรียนขนาดเล็กตรงจุด โดยควรเปิดให้หลายภาคมีส่วนร่วมจัดการศึกษา ชี้การยุบไม่ใช่ทางออกที่ดี เพราะ 20 ปีที่แล้ว ศธ.ก็เคยสั่งยุบ 3,000 โรง แต่วันนี้กลับเพิ่มเป็น 14,000 โรง ขณะที่ รมว.ศธ.ยันเดินหน้ายุบ แต่รับฟังเสียงชุมชนด้วย ด้าน กสม.จี้ ศธ.ยุบ รร.ต้องคำนึงสิทธิเด็ก วอนรัฐบาลจัดเวทีประชาพิจารณ์รับฟังความเห็นประชาชน
 
    ที่กระทรวงศึกษาธิการ สมาคมสภาการศึกษาทางเลือก พร้อมด้วยตัวแทนครู ผู้ปกครอง จากโรงเรียนขนาดเล็กทั้ง 4 ภาค นำโดยนายชัชวาลย์ ทองดีเลิศ เลขาธิการสมาคมฯ เข้าพบและยื่นข้อเสนอกรณีการยุบรวม ยุบเลิกโรงเรียนขนาดเล็กทั่วประเทศ ต่อนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี และรมว.ศึกษาธิการ โดยนายชัชวาลกล่าวว่า โรงเรียนขนาดเล็กไม่ได้เล็กที่ตัวมันเอง หากย้อนไปเมื่อ 20 ปีที่แล้วเราก็ยุบไป 3,000 โรง มาถึงวันนี้ก็ยังเกิดอยู่อีก 14,000 โรง ซึ่งหากยุบอีกต่อไปก็เกิดอีก ฉะนั้นหากเรามาร่วมกันพิจารณาสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นระบบบริหารจัดการทั้งหมด ก็น่าจะเป็นวิธีที่ดีกว่า ซึ่งประเด็นหลักที่สมาคมฯ เสนอคือ การกระจายอำนาจ โดยหากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ดูแลโรงเรียนไม่ไหว ฉะนั้นจะทำอย่างไรให้ทุกภาคส่วนช่วยดูแล
 
UploadImage
ขอบคุณภาพประกอบจาก eduzones.com
 
    นายชัชวาลกล่าวอีกว่า ในรายละเอียดของ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 มาตรา 12 ที่ให้สิทธิ์กับบุคคล ผู้ปกครอง ภาคเอกชนมาช่วยจัดการศึกษาระบบศูนย์การเรียน โดยรัฐจะช่วยจัดสรรงบประมาณ มาตรการการลดหย่อยภาษีให้ แต่ที่ผ่านมาเนื่องจากไม่มีระบบการเอื้อและสนับสนุนไม่เพียงพอ ทำให้เวลาไปยื่นขอกับเขตพื้นที่ ซึ่งอาจมีความเข้าใจไม่ตรงกัน ทำให้การสนับสนุนไม่ชัดเจน จึงเสนอให้มีการจัดตั้งพัฒนาจัดการศึกษาตามมาตรา 12 ดังกล่าว อย่างไรก็ดี คิดว่าทางออกของปัญหาโรงเรียนขนาดเล็ก คือ เราต้องปรับหลักคิดแก้ปัญหาใหม่ พึ่งการบริหารแบบมีส่วนร่วม อย่างการทำแผนบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กที่ให้เขตพื้นที่ จัดทำอย่างเดียว ขาดการมีส่วนร่วมตามระบบราชการ ก็กังวลว่าข้อเสนอจากชุมชนจะหายไป ฉะนั้นจะทำอย่างไรให้มีกลไกให้ชุมชน หรือองค์กรท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมแก้ปัญหานี้ ส่วนพื้นที่ไหนที่ท้องถิ่นไม่มีส่วนร่วมเลย ก็ต้องรับสภาพไป นอกจากนี้อยากให้ รมว.ศธ.พิจารณาตั้งหน่วยงานหรือคณะทำงานทำหน้าที่ คอยประสานความช่วยเหลือจากภาคเอกชน หรือองค์กรที่จะช่วยเหลือจัดการศึกษา เพื่อเป็นกลไกให้องค์กรเหล่านี้เข้ามาช่วยทำงานจัดการศึกษาร่วมกัน
 
    เลขาธิการสมาคมสภาฯ กล่าวอีกว่า สำหรับข้อเสนออย่างเป็นทางการของสภาฯ มีข้อเสนอ 4 ประการ ได้แก่ การจัดตั้งสถาบันพัฒนาจัดการศึกษา จัดทำพระราชบัญญัติการศึกษาทางเลือก ส่งเสริมและสนับสนุนการปรับใช้หลักสูตรแกนกลางให้สอดคล้องกับการเรียนรู้ของแต่ละชุมชน และปรับหลักเกณฑ์การประเมินมาตรฐานของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและอัตลักษณ์ของแต่ละชุมชน โดยผ่านควรร่วมมือจากทุกภาคส่วน
 
    ขณะที่นายพงศ์เทพกล่าวว่า ได้รับฟังสภาพปัญหาการศึกษาที่สมาคมสภาฯ สะท้อน ทั้งการขาดแคลนผู้บริหาร ครู และคุณภาพการศึกษาที่ยังไม่ผ่านมาตรฐาน ขณะเดียวกันได้รับฟังการเสนอตัวอย่าง การพัฒนาคุณภาพการศึกษาจากโรงเรียนการศึกษาทางเลือกที่ประสบความสำเร็จ รวมถึงแนวทางการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน ในการทำประโยชน์เพื่อโรงเรียน ทั้งนี้ ยืนยันว่าการยุบรวมโรงเรียนยังคงดำเนินการต่อ แต่ต้องเป็นการรับฟังความคิดเห็นของชุมชนเป็นหลัก เบื้องต้นก็รอให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาทั้ง 182 เขตทั่วประเทศ จัดทำแผนบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก มาเสนอต่อส่วนกลางในวันที่ 24 พ.ค.นี้ก่อน
 
    ด้านนางวิสา เบ็ญจะมโน ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) กล่าวว่า กสม.เคยได้รับเรื่องร้องเรียนกรณีคัดค้านการยุบควบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก ศธ. 2 เรื่อง จากนั้น กสม.ได้ให้คณะอนุกรรมการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านสิทธิเด็ก สตรี และความเสมอภาคของบุคคลไปดูแลเรื่องดังกล่าว จนได้มีหนังสือถึง รมว.ศึกษาธิการ ไปเมื่อวันที่ 12 ก.ย.2554 ขอความร่วมมือสั่งการชะลอการยุบควบรวมโรงเรียนขนาดเล็กไว้ก่อน จนกว่าจะมีแนวทางที่เหมาะสม ซึ่ง รมว.ศึกษาธิการ ได้แจ้งให้ กสม.ทราบว่า ได้ส่งเรื่องนี้ให้ทาง สพฐ.รับเรื่องดังกล่าวไปพิจารณา
 
    ทั้งนี้ ระหว่างยังให้คณะอนุกรรมการฯ ไปตรวจสอบและจัดทำรายงาน เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนั้น กสม.ก็อยากให้ ศธ.คำนึงสิทธิและโอกาสของเด็กตามที่ปรากฏในรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 ที่ว่า “บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษา ไม่น้อยกว่า 12 ปี ที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย” และ “การจัดการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพหรือเอกชน การศึกษาทางเลือกของประชาชน การเรียนรู้ด้วยตนเอง และการเรียนรู้ตลอดชีวิต ย่อมได้รับความคุ้มครองและส่งเสริมที่เหมาะสมจากรัฐ” ประการสำคัญการใช้อำนาจโดยองค์กรของรัฐทุกองค์กรต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิและเสรีภาพตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญก็ได้ระบุไว้ในมาตรา 26 ด้วย
 
    “รัฐบาลควรต้องรับฟังข้อเสนอแนะที่มาจากการจัดเวทีของภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน ซึ่งได้ระดมความคิดเห็น ได้ข้อเสนอแนะที่ล้วนคำนึงถึงผลประโยชน์อันสูงสุดของเด็กเป็นสำคัญ อันเป็นไปตามหลักการของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กที่ประเทศไทยต้องถือเป็นปฏิบัติ” นางวิชากล่าว.
 
 
  • 16 พ.ค. 2556 เวลา 06:10 น.
  • 2,189

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

ความคิดเห็นเกี่ยวกับ : พงศ์เทพดื้อยุบรร.เล็ก กสม.วอนรัฐจัดพิจารณ์

เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^