LASTEST NEWS

20 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 20 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครสวรรค์ - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครสวรรค์ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 2 (รอบที่ 1) สพป.นราธิวาส เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.นราธิวาส เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.น่าน เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.น่าน เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครพนม - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครพนม 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.ราชบุรี เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ราชบุรี เขต 2 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 2) สพป.ขอนแก่น เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ขอนแก่น เขต 3

'ทรงผมนั้นสำคัญไฉน'

  • 18 ม.ค. 2556 เวลา 08:00 น.
  • 4,248
'ทรงผมนั้นสำคัญไฉน'

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

สวัสดีค่ะคุณผู้อ่านไทยรัฐออนไลน์ที่รัก
 
ผ่านพ้นวันเด็กแห่งชาติไปไม่นานเท่าไร วันนี้คุณครูลิลลี่มีเรื่องเกี่ยวกับเด็กๆ นักเรียนมาฝากกันอีกแล้วค่ะ แต่จะว่าไปเรื่องนี้เกิดก่อนวันเด็กแห่งชาติที่ผ่านมาเสียอีกนะคะ เพียงแต่ว่าคุณครูลิลลี่เพิ่งได้โอกาสเอามาเล่าสู่กันฟัง ช่วงนั้นก็เห็นเจ้าบรรดาลูกศิษย์ตัวดีทั้งหลายยิ้มน้อยยิ้มใหญ่ เพราะมีข่าวว่านักเรียนชายสามารถไว้ผมยาวได้ ไม่ต้องไถเกรียนเป็นทรงนักเรียนอีกแล้ว ส่วนนักเรียนหญิงก็ให้อิสระเสรีเลือกไว้ทรงผมได้ตามใจชอบ ไม่ต้องตัดสั้นเหนือติ่งหูให้ผมกระดกงอกันอีกต่อไป เล่นเอาบรรดาน้องๆ หนูๆ ลูกศิษย์ยิ้มน้อยยิ้มใหญ่จะได้สวยหล่อกันอย่างเต็มที่ ได้ฟังดังนี้คุณครูลิลลี่ก็ต้องขอไปค้นข้อมูลตามข่าวกันสักหน่อยว่า เรื่องราวความเป็นมาของ ปัญหาทรงผม นี่มีที่มาที่ไปอย่างไร แล้วพวกลูกศิษย์ทั้งหลายจะดีใจเก้อ หรือตีความข่าวคราวกันผิดๆ จนทำให้ไว้ทรงผมผิดระเบียบกันหรือเปล่า แล้วก็ได้เรื่องมาเล่าสู่กันฟังในวันนี้ค่ะ
 
เรื่องของทรงผมของนักเรียนเริ่มจากการที่ท่าน พงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (แถมความรู้ให้นิดนึงนะคะ คำย่อเราจะใช้คำว่า รมต. ไม่ใช่ ร.ม.ต.นะคะ ส่วนถ้าเป็น รมช. จะเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงค่ะ) ท่านพงศ์เทพได้พิจารณาปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับแบบทรงผมของนักเรียน โดยได้พิจารณาย้อนกลับไปที่กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งพบว่ามีกฎกระทรวงอยู่ 2 ฉบับ ซึ่งออกตามความในประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 132 ลงวันที่ 22 เม.ย.2515 คือ ฉบับที่ 1 พ.ศ.2515  ระบุห้ามไม่ให้นักเรียนชายไว้ผมข้างหน้าและกลางศีรษะยาวเกิน 5 ซม. และชาย ผมรอบศีรษะต้องตัดเกรียนชิดผิวหนัง และ 2. นักเรียนหญิงตัดผมหรือไว้ผมยาวเลยต้นคอ หากโรงเรียนหรือสถานศึกษาใดอนุญาตให้ไว้ยาวเกินกว่านั้นก็ให้รวบให้เรียบร้อย ต่อมามีการแก้ไขกฎกระทรวงดังกล่าวเพิ่มเติมจนเป็นกฎกระทรวงฉบับที่ 2 ลงวันที่ 6 ม.ค.พ.ศ.2518 ระบุว่า 1. นักเรียนชายให้ตัดผมหรือไว้ผมยาวจนด้านข้าง และด้านหลังยาวเลยตีนผม 2. นักเรียนหญิงให้ตัดผมหรือไว้ผมยาวเลยต้นคอ หากโรงเรียนหรือสถานศึกษาใดอนุญาตให้ไว้ยาวเกินก็ให้รวบให้เรียบร้อย
 
ซึ่งจากข้อมูลที่ได้มานี้ ท่านพงศ์เทพชี้ให้เห็นว่าถ้าตีความตามกฎกระทรวง พ.ศ.2515 นักเรียนชายจะต้องไว้ผมด้านข้างและด้านหลังเกรียน แต่กฎกระทรวง พ.ศ.2518 เปลี่ยนแปลงให้นักเรียนชายไว้ผมรองทรงได้ ไม่ต้องตัดผมด้านข้างหรือด้านหลังจนเกรียน แต่ในทางปฏิบัติทุกวันนี้เกือบทุกๆ โรงเรียนยังคงยึดติดกับทรงผมเกรียนตามกฎกระทรวง พ.ศ.2515 ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง เพราะกฎกระทรวงฉบับใหม่ เปิดโอกาสให้เด็กไว้ทรงยามแบบรองทรงได้ ส่วนทรงผมของนักเรียนหญิงนั้น ทั้ง 2 ฉบับ กำหนดให้นักเรียนหญิงไว้ผมสั้นหรือยาวได้ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของโรงเรียน ซึ่งจุดนี้ทางรัฐมนตรีว่า การกระทรวงศึกษาธิการ ก็จะจัดทำข้อแนะนำเกี่ยวกับการไว้ผมยาวของนักเรียนหญิง เช่น ถ้าไว้ผมยาวต้องรวบผมให้เรียบร้อย และทุกโรงเรียนจะต้องปฏิบัติให้เหมือนกัน อนุญาตให้นักเรียนหญิงไว้ผมสั้นหรือยาวเลยต้นคอได้ แต่ต้องรวบให้เรียบร้อย
 
เมื่อรู้เรื่องของความเป็นมาเป็นไปตามเรื่องของกฎกระทรวงเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็มาถึงหน้าที่ของครูภาษาไทยอย่างคุณครูลิลลี่ ที่ต้องมาทำหน้าที่ตีความให้กระจ่างว่า ระหว่างผมนักเรียนที่ไถเกรียนจนเกือบคล้ายทรงสกินเฮด กับทรงรองทรง มีความแตกต่างกันอย่างไร และแค่ไหนถึงจะเรียกว่าเป็นรองทรง คำว่า “รองทรง” ถ้าดูตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตมีความหมายว่า ทรงผมผู้ชายที่ตัดข้างล่างสั้น ข้างบนยาว แต่ถึงกระนั้นก็ตามสมัยคุณครูลิลลี่ยังเป็นนักเรียนก็จะมีแยกย่อยลงไปอีกเป็น รองทรงต่ำ รองทรงสูง ซึ่งอันนี้ได้ไปลองสืบถามผู้รู้ทางด้านการตัดผมก็ได้ความมาคร่าวๆ ว่า จะรองทรงสูง หรือต่ำ อยู่ที่รอยไถของปัตตาเลี่ยนค่ะ ถ้ารองทรงสูงก็จะไถผมให้สั้น ตั้งแต่ท้ายทอยสูงกว่ารองทรงธรรมดา เรียกง่ายๆ ว่าดูกันที่ท้ายทอยนั่นเองค่ะ
 
เล่ามาทั้งหมดก็เพื่อบอกเล่าความคืบหน้าความเป็นมาเป็นไปในแวดวงการศึกษา และในความสนใจของบรรดานักเรียนที่รักของครู และสุดท้ายไม่ว่าบทสรุปจะเป็นอย่างไร ไม่ว่าโรงเรียนไหนจะให้ไว้ยาวได้แค่ไหน คุณครูลิลลี่เชื่อว่า ทรงผมไม่ใช่สิ่งสำคัญ หัวใจของการเป็นนักเรียนก็คือการเรียนหนังสือ และสิ่งสำคัญที่สุดอีกอย่างคือ กฎระเบียบของโรงเรียนและวินัยที่เราจะยึดถือปฏิบัติเพื่อให้สรุปสุดท้ายแล้วเราได้ชื่อว่า “นักเรียน (ที่ดี)” สวัสดีค่ะ.


 
คุณครูลิลลี่
 
 
  • 18 ม.ค. 2556 เวลา 08:00 น.
  • 4,248

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

ความคิดเห็นเกี่ยวกับ : 'ทรงผมนั้นสำคัญไฉน'

เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^