LASTEST NEWS

25 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 25 เม.ย. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 25 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 25 เม.ย. 2567สพป.เพชรบูรณ์ เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.เพชรบูรณ์ เขต 2 25 เม.ย. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.บุรีรัมย์ เขต 2 25 เม.ย. 2567สพม.สุราษฎร์ธานี ชุมพร ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.สุราษฎร์ธานี ชุมพร 25 เม.ย. 2567สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 1 25 เม.ย. 2567สพป.ยะลา เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ยะลา เขต 1 25 เม.ย. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 7 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.นครราชสีมา เขต 7 25 เม.ย. 2567สพป.นนทบุรี เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.นนทบุรี เขต 1

ชงปรับเงินรายหัว นร.สามัญ-อาชีวะ

  • 15 ม.ค. 2556 เวลา 00:26 น.
  • 2,039
ชงปรับเงินรายหัว นร.สามัญ-อาชีวะ

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

ออกกฎหมายบังคับคุณภาพการศึกษา / "พงศ์เทพ" ยันการศึกษาปลอดการเมือง มอบจุฬาฯ วิจัยสมาธิพัฒนาสมองเด็ก
 
     ที่โรงแรมอิมพีเรียลควีนปาร์ค เมื่อวันที่ 14 ม.ค.56 สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการยุทธศาสตร์การศึกษา พ.ศ.2556-2558 เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาและประสิทธิภาพการจัดการศึกษาของประเทศไทยตามนโยบายรัฐบาล โดยนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รมว.ศึกษาธิการ กล่าวมอบนโยบายการจัดทำยุทธศาสตร์การศึกษาฯ ตอนหนึ่งว่า การศึกษาเป็นเรื่องที่ปลอดการเมือง และการสร้างคน สร้างชาติต้องทำอย่างต่อเนื่อง จะใช้มิติการเมืองในเรื่องการศึกษาไม่ได้ แม้มุมมองทางการเมืองจะแตกต่างกันอย่างไรก็ตาม แต่การศึกษาต้องเป็นหนึ่งเดียว ต้องช่วยกันคิดช่วยกันทำไม่มีการแบ่งแยก ซึ่งตนเห็นด้วยที่ สกศ.จะรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน เพราะแม้แต่มุมมองของเด็กๆ ก็อาจจะมีดีอย่างที่คาดไม่ถึง
 
     "การพัฒนาการศึกษา นั้นผู้เรียนต้องมีความพร้อมทั้งด้านสติปัญญา ร่างกาย และหลักสูตร ซึ่งขณะนี้ได้มอบให้ นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำวิจัยเพื่อยืนยันว่า การทำสมาธิมีส่วนสัมพันธ์กับการพัฒนาคุณภาพสมอง โดยใช้เหตุผลทางวิทยาศาสตร์รองรับ ด้านร่างกาย คือส่งเสริมการกีฬา และการปฏิรูปหลักสูตรให้เรียนรู้เนื้อหาที่เหมาะสม และรู้จักวิธีการหาความรู้ อีกทั้งต้องสอนให้เด็กคิดวิเคราะห์เป็น ซึ่งเชื่อว่าหากครูสอนให้เด็กคิดวิเคราะห์เป็น ครูก็จะได้เรียนรู้สิ่งใหม่พร้อมๆ ไปกับเด็กๆในห้องเรียนด้วย นอกจากนี้จะต้องสอนคุณธรรม จริยธรรม จิตสำนึกประชาธิปไตย รู้จักทำงานเป็นหมู่คณะ รู้จักเสียสละ สิ่งเหล่านี้จะให้สอนในห้องเรียนคงไม่เพียงพอ ต้องเรียนจากของจริง และปฏิบัติทุกวัน" นายพงศ์เทพ กล่าว
 
     ด้าน น.ส.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ เลขาธิการ สกศ. กล่าวว่า สกศ.ได้จัดทำร่างยุทธศาสตร์การศึกษา พ.ศ.2556-2558 เพื่อจัดการศึกษาให้มีคุณภาพสำหรับทุกคนอย่างเสมอภาคและเป็นธรรม พัฒนาคนไทยทุกกลุ่มวัยให้คิดเป็น ทำเป็น พึ่งพาตนเองได้ อยู่ร่วมกันในสังคมไทยอย่างสันติสุข และมีความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 โดยมี 7 ยุทธศาสตร์ ได้แก่

1.พัฒนาคุณภาพการศึกษาทุกระดับ ทุกประเภท,

2.สร้างโอกาสทางการศึกษาแก่ประชากรทุกกลุ่มอย่างเสมอภาค และเป็นธรรม โดยมีเป้าหมายให้ปีการศึกษาเฉลี่ย ของคนไทยอายุ 15-59 ปีเพิ่มขึ้นจาก 9.1 ปี ในปี 2555 เป็น 11 ปี ในปี 2558,

3.ปฏิรูปครู เพื่อยกฐานะครูให้เป็นวิชาชีพชั้นสูง อาทิ มีระบบสรรหาครูผู้แนะนำสำหรับช่วยสอนในสาขาที่ขาดแคลน ภายในปี 2558 
 
     4.การจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา อาชีวศึกษา และการฝึกอาชีพให้สอดคล้องกับตลาดแรงงานทั้งในเชิงปริมาณ และคุณภาพ อาทิ สัดส่วนผู้เรียนระหว่างสายอาชีวศึกษา กับสายสามัญศึกษา เป็น 55:45 ภายในปี 2558, 5.พัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา ให้ทัดเทียมกับนานาชาติ อาทิ มีระบบการเรียนแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ ภายในปี 2558 หาแท็บเล็ตให้แก่นักเรียนระดับประถมศึกษา 100%,
 
     6.สนับสนุนการวิจัยและพัฒนา เพื่อสร้างทุนปัญญาของชาติ และ

     7.เพิ่มขีดความสามารถของทรัพยากรมนุษย์ เพื่อรองรับการเเปิดเสรีประชาคมอาเซียน โดย สกศ.ได้นำร่างดังกล่าวออกรับฟังความคิดเห็นใน 4 ภูมิภาค และภายในเดือน พ.ค.56 จะสรุปข้อเสนอเพื่อปรับปรุงร่างยุทธศาสตร์ฯ และนำเสนอรัฐบาลต่อไป
 
     นายสมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ร่างยุทธศาสตร์ฯ ฉบับนี้เป็นการยกร่างแบบสะเปะสะปะ เทกระจาด ไม่มีการบังคับใช้ ซึ่ง สกศ.เป็นเครื่องจักรผลิตนโยบายการศึกษาของประเทศ แต่บ่มีไก๊ ไร้น้ำยา เพราะทำออกมาแล้วไม่มีใครนำไปใช้ อย่างไรก็ตาม หากมองในภาพรวมร่างยุทธศาสตร์ฯ ฉบับนี้ถือว่าสอบผ่าน แต่ยังมีรายละเอียดต้องปรับปรุง เพราะเนื้อหาส่วนใหญ่ยังคงเวียนว่ายตายเกิดอยู่กับสพฐ. ขณะที่แนวโน้มการจัดการศึกษาของโลก ต้องสอนให้เด็กรู้จักเชื่อมโยงกับสิ่งแวดล้อมในโลก และแนวโน้มความต้องการแรงงานระดับกลางที่มีมากขึ้น 
 
     "ผมเชื่อว่าหากไม่มีการปฏิรูปเรื่องค่าใช้จ่ายรายหัวกันใหม่ สัดส่วนผู้เรียนสายอาชีวะ กับสายสามัญศึกษาจะไม่สามารถทำตามเป้าหมายได้อย่างแน่นอน เพราะค่าใช้จ่ายรายหัวจะไปเชื่อมโยงกับตำแหน่งและวิทยฐานะ ดังนั้นการกำหนดเป้าหมายตัวเลขดังกล่าว จึงเป็นตัวเลขเท็จในการปฏิบัติ ทั้งนี้ในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การศึกษาควรจะมีการออกกฎหมายมาบังคับ อาทิ บังคับเรื่องคุณภาพ เรื่องทวิภาคีที่ให้เอกชนมามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา เรื่องการศึกษาตลอดชีวิต เป็นต้น และจะต้องมาดูเรื่องงบประมาณกันใหม่" นายสมพงษ์ กล่าว

ขอบคุณข้ัอมูลจาก --> เว็บไซต์หนังสือพิมพ์สยามรัฐ วันที่ 14 มกราคม 2556
 
  • 15 ม.ค. 2556 เวลา 00:26 น.
  • 2,039

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

ความคิดเห็นเกี่ยวกับ : ชงปรับเงินรายหัว นร.สามัญ-อาชีวะ

เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^