LASTEST NEWS

16 เม.ย. 2567โรงเรียนบ้านลานช้าง รับสมัครนักการภารโรง วุฒิไม่ต่ำกว่า ม.3 เงินเดือน 9,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 18 - 22 เมษายน 2567 15 เม.ย. 2567เปิดคุณสมบัติ ตำแหน่งนักการภารโรง สพฐ.จัดสรร 13,751 อัตรา วุฒิไม่ต่ำกว่า ม.3 เงินเดือน 9,000 บาท 15 เม.ย. 2567ด่วนที่สุด ที่ ศธ 04009/ว 2416 เรื่อง การจัดสรรอัตราจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ตำแหน่งนักการภารโรง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (เพิ่มเติม) 15 เม.ย. 2567ศาลปกครองนครศรีธรรมราช ห้ามผู้บังคับบัญชา ออกคำสั่งให้ครู-บุคลากร อยู่เวร 15 เม.ย. 2567สพฐ.มีหนังสือ แจ้งเรื่อง การส่งคืนอัตราพนักงานราชการ ตำแหน่งครูผู้สอน ที่ว่างจากการสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ. 2567  14 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 14 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 14 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.สระแก้ว เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.สระแก้ว เขต 1 14 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 2) สพป.เชียงราย เขต 4 - ผลย้ายครู 2567 สพป.เชียงราย เขต 4 14 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.พิจิตร เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.พิจิตร เขต 1

ศธ.ไฟเขียว ด.ช.รองทรง-ด.ญ.ไว้ยาวรวบผม ห้ามบังคับ นร.ไถเกรียน

  • 10 ม.ค. 2556 เวลา 10:52 น.
  • 11,146
ศธ.ไฟเขียว ด.ช.รองทรง-ด.ญ.ไว้ยาวรวบผม ห้ามบังคับ นร.ไถเกรียน

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

ศธ.ไฟเขียว ด.ช.รองทรง-ด.ญ.ไว้ยาวรวบผม ห้ามบังคับ นร.ไถเกรียน
ขอบคุณข้อมูลจาก หนังสือพิมพ์คมชัดลึก
 
ความคืบหน้าในการพิจารณาปรับปรุงกฏหมายเกี่ยวกับแบบทรงผมของนักเรียนและนักศึกษาที่ยืดเยื้อมานาน ล่าสุดนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รมว.ศึกษาธิการ ระบุว่า ได้มอบให้สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการไปดูกฏหมายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งออกตามความในประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 132 ลงวันที่ 22 เมษายน 2515
 
คือ กฏกระทรวง ฉบับที่ 1 พ.ศ 2515 ระบุ ห้ามไม่ให้นักเรียนชายไว้ผมข้างหน้าและกลางศรีษะยาวเกิน 5 เซนติเมาตร และชายผมรอบศรีษะต้องตัดเกรียนชิดผิวหนัง หรือผมเกรียน ข้อ 2.นักเรียนหญิงตัดผม หรือไม้ผมยาวเลยต้นคอ หรือทรงกะลาครอบ หากโรงเรียนหรือสถานศึกษาใบอนุญาตให้ไว้นาวเกินกว่านั้น ให้รวบให้เรียบร้อย
 
          ต่อมามีการแก้ไขกฏกระทรวงดังกล่าวเพิ่มเติมจนเป็น กฏกระทรวง ฉบับที่ 2 ลงวันที่ 6 มกราคม 2518 ระบุว่า 1.นักเรียนชายให้ ตัดผม หรือไว้ผมยาวจนด้านข้างและด้านหลังยาวเลยตีนผม หรือรองทรง และ 2.นักเรียนหญฺง ให้ตัดผมหรือไว้ผมยาวเลยต้นคอ หากโรงเรียนหรือสถานศึกษาใดอนุญาตให้ไว้ยาวเกินกว่านั้นให้รวบให้เรียบร้อย
 
          ทั้งนี้ หากตีความกฏกระทรวง พ.ศ. 2515 นักเรียนชายจะต้องไว้ผมด้านข้างและด้านหลังเกรียน แต่กฏกระทรวง พ.ศ.2518 เปลี่ยนแปลงให้นักเรียนชายไว้ผมรองทรงไว้ ไม่ต้องเกรียนผมด้านข้าง หรือด้านหลัง แต่ในทางปฏิบัติ โรงเรียนยังคงยึดติดกับทรงผมเกรียนตาม กฏกระทรวง พ.ศ.2515 ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องเพราะกฏกระทรวงฉบับใหม่เปิดโอกาสให้เด็กไว้ผมแบบรองทรงได้ ส่วนทรงผมของนักเรียนหญิงกฏกระทรวงทั้ง 2 ฉบับ กำหนดให้นักเรียนหญิงไว้ผมสั้นหรือยาวได้ แต่ให้ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของโรงเรียน
 
          "ผมเห็นว่า เป็นเรื่องไม่มีเหตุผลเช่นกันที่จะให้ทรงผมนักเรียนหญิงของแต่ละโรงเรียนมีความแตกต่างกันไปตามดุลพินิจของทางโรงเรียนเมื่อกฏกระทรวงกำหนดให้นักเรียนหญิงเลือกไว้ผมยาวได้ นักเรียนหญิงของทุกโรงเรียนก็ควรอยู่บนแนวปฏิบัติเดียวกัน เพราะฉะนั้นจะให้กระทรวงศึกษาธิการทำข้อแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับการไว้ผมยาวของนักเรียนหญิง.เช่น ถ้าไว้ผมยาวต้องรวบผมให้เรียบร้อย จากนั้น ทุกโรงเรียนจะต้องปฏิบัติให้เหมือนกัน อนุญาตให้นักเรียนหญิงไว้ผมสั้น  หรือยาวเลยต้นคอได้แต่ต้องรวบผมให้ เรียบร้อย ไม่มีการให้โรงเรียนใช้ดุลพินิจอีก เพื่อแก้ปัญหาให้ สป.ศธ.ไปจัดทำหนังสือเวียนเพื่อแจ้งไปยังสถานศึกษาในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการทุกแห่ง เพื่อกำชับว่าในเรื่องของทรงผมนักเรียนนั้น ต้องยึดกฏกระทรวง ฉบับที่ 2 พ.ศ.2518 ซึ่งระบุไว้ชัดเจน ให้นักเรียนชายไว้ผมยาวแบบรองทรงได้ และให้นักเรียนหญฺงเลือกไว้ผมสั้นหรือยาวได้ " นายพงศ์เทพกล่าว
 
          นายเชิดศักดิ์ ศุภโสภณ ผู้อำนวยการโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย กล่าวว่า ถ้ากระทรวงการศึกษามีนโยบายให้นักเรียนไว้ผมรองทรง เด็กๆคงมีความสุข สมัยก่อน ที่กำหนดให้นักเรียนไว้ผมสั้น เป็นส่วนหนึ่งของการฝึกเรื่องระเบียบวินัย ความรับผิดชอบ ต้องการให้นักเรียนตั้งเรียนเป็นสำคัญ แต่ถึงจะผ่อนผันให้นักเรียนไว้ผมยาวได้ แต่นักเรียนชายส่วนใหญ่จะสมัครเรียนนักศึกษาวิชาทหาร ตามระเบียบของทหารจะต้องตัดผมสั้น หรือตัดเกรียน
 
          "ในส่วนของ ร.ร.สวนกุหลาบ จะให้นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นไว้ผมสั้น ระดับมัธยมปลายไว้รองทรงสูง ตรงนี้เป็นวัฒนธรรมของโรงเรียนไปแล้ว นักเรียน ผู้ปกครอง ต่างก็ยอมรับกฏระเบียบในเรื่องนี้ " นายเชิดศักดิ์กล่าว
 
          นายโสภี ฉวีวรรณ ผู้ปกครอง อายุ 41 ปี มองว่า การเปลี่ยนกฏเรื่องทรงผมนักเรียนถือเป็นเรื่องที่ดี นักเรียนพอเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นจะรู้สึกเขินอายที่ต้องตัดผมสั้นเกรียน หรือสั้นเลยต้นคอสำหรับนักเรียนหญิง รวมทั้งจะได้เป็นมาตรฐานเดียวกันในทุกโรงเรียน
 
          ด้าน นางเพ็ญศรี อุ่นวิเศษ อายุ 35 ปี ครูโรงเรียนบ้านลึมบอง จ.สกลนคร ย้ำว่า การเรียนไม่ได้ขึ้นอยู่กับทรงผม หรือการแต่งกาย อยู่ที่ตัวเด็กว่าตั้งใจเรียนหรือไม่ ปัจจุบันนักเรียนชายส่วนใหญ่ไว้ผมยาวเกือบจะเป็นรองทรง จะเห็นนักเรียนต่างจังหวัดไว้ผมเกรียน แต่ในกรุงเทพฯ มักจะตัดรองทรง แต่ไม่ใช่เรื่องแปลก
 
          ขณะที่นายปอนด์ อายุ 17 ชั้น ม.6 โรงเรียน ถาวรานุกูล จ.สมุทรสงคราม กล่าวว่า เห็นด้วยหากมีการอนุญาตให้ไว้ผมรองทรง การเรียนไม่ได้ขึ้นอยู่กับทรงผม ขึ้นอยู่กับสมอง ความตั้งใจเรียน ทุกวันนี้นักเรียนต่างจังหวัดส่วนใหญ่ไว้ผม เกรียน ขณะที่โรงเรียนในกรุงเทพฯ กว่า 70% ไว้ผมรองทรงยาว
 
          ก่อนหน้านี้ สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ได้รับการร้องเรียนจากนักเรียนและผู้ปกครองว่า การบังคับให้นักเรียนชายต้องตัดผมสั้นทรงหัวเกรียน และนักเรียนหญิงต้องตัดผมสั้นเห็นติ่งหูเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน และกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพส่วนบุคคล ขณะที่บางโรงเรียนกลับอนุโลมให้นักเรียนที่เรียนนาฏศิลป์สามารถไว้ผมยาวได้ ถือเป็นการเลือกปฏิบัติ ซึ่งคณะกรรมการสิทธิฯ ได้ส่งเรื่องนี้ไปยังกระทรวงศึกษาธิการ จนกระทั่งมีการตั้งคณะทำงานพิจารณาข้อเสนอในการปรับปรุงกฏหมายเกี่ยวกับแบบทรงผมของนักเรียนนักศึกษา ขึ้นมาพิจารณาเรื่องนี้โดย เฉพาะเมื่อช่วงปลายปี 2555
 
          ขณะเดียวกัน ความเคลื่อนไหวในโซเซียล มีเดีย มีกลุ่มที่เปิดหน้าเพจในเฟซบุ๊กชื่อ "องค์กร ต่อต้านทรงผมนักเรียนไทยแห่งประเทศไทย "มีผู้มากดไลค์ร่วม 2 พันครั้ง โพสต์ข้อความว่า สิทธิเสรีภาพที่เรามี แต่ก็ยังไม่มีใครลุกขึ้นมารักษาสิทธิของตัวเอง...
 
          โดยขยายรายละเอียดว่า สิทธิเสรีภาพที่ เรามี แต่ก็ยังไม่มีใครลุกขึ้น มารักษาสิทธิของตัวเอง คนที่เห็นด้วยมักจะบอกว่ามันเป็นกฏที่เราต้องเคารพ เพื่อจะอยู่ศึกษาในโรงเรียนนั้นๆ ได้ แล้วทำไมต้องตั้งกฏมา... เพื่อสร้างภาพว่าโรงเรียนตัวเอง มีแต่เด็กเรียนหน้าเอ๋อๆ ที่คอย สร้างชื่อเสียงให้หรือ โรงเรียนที่เด็กเรียนดี มักจะห่วงภาพลักษณ์ตัวเองเสมอ "มันเป็นค่านิยมที่ผิดมาตลอด
 
          "องค์กรต่อต้านทรงผมนักเรียนไทยแห่งประเทศไทย "ย้ำว่า ชื่อเสียงของโรงเรียนเป็นสิ่งจอมปลอมและมองข้ามชื่อเสียงที่แท้จริงไป คือคุณภาพของนักเรียนที่ไม่ได้อยู่ที่ทรงผม แต่อยู่ที่คุณภาพของการศึกษาเรียนรู และคุณภาพจิตใจ
 
 
  • 10 ม.ค. 2556 เวลา 10:52 น.
  • 11,146

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

ความคิดเห็นเกี่ยวกับ : ศธ.ไฟเขียว ด.ช.รองทรง-ด.ญ.ไว้ยาวรวบผม ห้ามบังคับ นร.ไถเกรียน

เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^