LASTEST NEWS

28 พ.ค. 2566เช็ก 50 เขตพื้นที่ รับสมัครสอบครูผู้ช่วย สังกัดสพฐ. ปีพ.ศ. 2566 โดยใช้ระบบออนไลน์ 28 พ.ค. 2566(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย ปี พ.ศ.2566 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 28 พ.ค. 2566สพป.แม่ฮ่องสอน เขต 2 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2566 สมัคร 31 พ.ค. - 6 มิ.ย.2566 28 พ.ค. 2566สพป.แม่ฮ่องสอน เขต 1 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2566 สมัคร 31 พ.ค. - 6 มิ.ย.2566 28 พ.ค. 2566สพป.มุกดาหาร ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2566 สมัคร 31 พ.ค. - 6 มิ.ย.2566 28 พ.ค. 2566สพป.ภูเก็ต ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2566 สมัคร 31 พ.ค. - 6 มิ.ย.2566 28 พ.ค. 2566สพป.มหาสารคาม เขต 3 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2566 สมัคร 31 พ.ค. - 6 มิ.ย.2566 28 พ.ค. 2566(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย ปี พ.ศ.2566 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 28 พ.ค. 2566สพม.ปราจีนบุรี นครนายก ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2566 สมัคร 31 พ.ค. - 6 มิ.ย.2566 28 พ.ค. 2566สพป.ตรัง เขต 2 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2566 สมัคร 31 พ.ค. - 6 มิ.ย.2566

ยกเครื่อง ผู้ประเมินภายนอก ‘สมศ.’ หวังสร้างความมั่นใจให้สถานศึกษา

  • 22 มี.ค. 2566 เวลา 08:58 น.
  • 631
ยกเครื่อง ผู้ประเมินภายนอก ‘สมศ.’ หวังสร้างความมั่นใจให้สถานศึกษา

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

ยกเครื่อง ผู้ประเมินภายนอก ‘สมศ.’ หวังสร้างความมั่นใจให้สถานศึกษา

ดร.นันทา หงวนตัด สั่งยกเครื่องผู้ประเมินภายนอก ‘สมศ.’ ยึด 3 หน้าที่หลัก ประเมินแม่นยำ-ก้าวทันเทคโนโลยี-ไม่สร้างภาระสถานศึกษา หวังสร้างความเชื่อมั่นใหม่สถานศึกษา


ผู้ประเมินภายนอก จากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา หรือ สมศ. เป็นบุคลากรอีกหลุ่มหนึ่ง ที่สถานศึกษาทั่วประเทศต้องทำงานอย่างใกล้ชิด แต่ที่ผ่านมาสถานศึกษาทั่วประเทศมีคำถามเรื่องความเชื่อมั่น ล่าสุดมีความเคลื่อนไหวในเรื่องนี้

ดร.นันทา หงวนตัด รักษาการผู้อำนวยการ สมศ. ระบุ ว่า สมศ. พร้อมเดินหน้ายกระดับมาตรฐานผู้ประเมินภายนอกเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับสถานศึกษาทั่วประเทศ โดยตอกย้ำการพัฒนาและอบรมผู้ประเมินภายนอกเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของผู้ประเมินภายนอกอย่างต่อเนื่อง ใน 3 บทบาทหน้าที่หลัก ได้แก่

 

1. ด้านวิชาการ ผู้ประเมินภายนอกจะต้องมีความรู้ ความสามารถในเชิงวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการประเมิน สามารถทำการประเมินและสะท้อนผลการดำเนินงานของสถานศึกษาด้วยความถูกต้อง สอดคล้องตามบริบท มีความแม่นยำ ตรงไปตรงมา เป็นไปตามเกณฑ์การประเมินที่ สมศ. กำหนด และสามารถให้ข้อเสนอแนะเป็นรายสถานศึกษา ซึ่งเป็นหัวใจของการประเมิน โดยข้อเสนอแนะที่ให้กับสถานศึกษาต้องนำไปปฏิบัติได้จริง สอดคล้องตามบริบทของสถานศึกษาจึงจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาต่อสถานศึกษาได้จริง

 

2. ด้านเทคโนโลยี ผู้ประเมินภายนอกจะต้องมีความสามารถและทักษะการใช้เทคโนโลยีที่ดี เป็นการปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย และสอดรับกับนโยบายของ สมศ. ในการขับเคลื่อนไปสู่การเป็นองค์กรดิจิทัล (Digital Organization) ทั้งนี้ สมศ. ได้พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการประเมินในทุกขั้นตอน เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการประเมินคุณภาพภายนอก (AQA) ระบบจัดเก็บรายงานประเมินตนเอง (e-SAR) การพัฒนาระบบ Mobile Application (ONESQA-V) สำหรับผู้ประเมินภายนอกในการลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมแบบ Onsite สถานศึกษาทุกระดับ เป็นต้น ถือได้ว่าเป็นรูปแบบใหม่ของการประเมิน และนับได้ว่ามีความทันสมัยเท่าเทียมกับระบบการประเมินสถานศึกษาของนานาประเทศ

 

3. ผู้ประเมินภายนอกสะท้อนภาพลักษณ์ของ สมศ. ในระหว่างการปฏิบัติงาน ด้วยการทำหน้าที่เป็นกระจกสะท้อนคุณภาพการจัดการศึกษาและเป็นผู้ให้ข้อเสนอแนะกับสถานศึกษาอย่างถูกต้องตรงประเด็น ภายใต้ “ความเป็นกัลยาณมิตร” และ “ไม่สร้างภาระกับสถานศึกษา

 

”สมศ.ให้ความสำคัญเรื่องคุณลักษณะและบทบาทหน้าที่ของผู้ประเมินภายนอก ในฐานะเป็นตัวแทนของ สมศ.ต้องมีองค์ความรู้ตามที่ สมศ.กำหนด ก้าวทันเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างไม่หยุดนิ่ง เพื่อการประเมินที่มีประสิทธิภาพ และช่วยยกระดับคุณภาพการศึกษาของประเทศ" ดร.นันทา กล่าว

 

ทั้งนี้ สมศ. ได้ให้การรับรอง “หน่วยกำกับการประเมินคุณภาพภายนอก” ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในกฎหมาย ซึ่งเป็นนิติบุคคลที่สำนักงานมอบหมายให้ทำหน้าที่บริหารจัดการและกำกับดูแล ให้ผู้ประเมินภายนอกปฏิบัติงานให้เป็นไปตามกรอบแนวทางตามที่ สมศ. กำหนด ได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม ตามกรอบระยะเวลา 

 

นอกจากนี้ สมศ. ยังมีมาตรการควบคุมการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ประเมินภายนอก ตามข้อบังคับคณะกรรมการ สมศ. โดยผู้ประเมินทุกคนต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ไม่มีส่วนได้เสีย ไม่เรียก ไม่รับทรัพย์สินหรือผลประโยชน์อื่นใด ผู้ประเมินต้องทำการประเมินคุณภาพภายนอกด้วยตนเอง มีความเที่ยงตรง เป็นกลาง โปร่งใส มีความรับผิดชอบและสามารถตรวจสอบได้ ปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ไม่คัดลอกรายงาน รักษาความลับของข้อมูลข่าวสารที่ได้รับจากการประเมินคุณภาพภายนอก ทั้งก่อนการตรวจเยี่ยม ระหว่างการตรวจเยี่ยม และหลังการตรวจเยี่ยม เป็นต้น 

 

รวมทั้ง ตามข้อบังคับได้มีการกำหนด โทษของการกระทำที่ฝ่าฝืนมาตรการควบคุมการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ประเมินข้างต้น ได้แก่ ว่ากล่าวตักเตือนเป็นหนังสือ ภาคทัณฑ์ พักการรับรองการเป็นผู้ประเมินภายนอก และเพิกถอนการรับรองการเป็นผู้ประเมินภายนอก

ขอบคุณเนื้อหาและข้อมูลข่าวจาก :: หนังสือพิมพ์คมชัดลึก วันที่ 21 มี.ค. 2566 เวลา 17:39 น.
 
  • 22 มี.ค. 2566 เวลา 08:58 น.
  • 631

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^ <