LASTEST NEWS

29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567อ.ก.ค.ศ.สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 62 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567สพป.กำแพงเพชร เขต 1 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 14 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพม.นครราชสีมา รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 20 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 6 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 27 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 5 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 32 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 4 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 15 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 3 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 25 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 2 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 19 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567

โพล"องค์กรครู"กว่า 90 % หนุน"รมว.ศธ."ทบทวนแต่ง"เครื่องแบบลูกเสือ"

  • 09 มิ.ย. 2565 เวลา 16:22 น.
  • 1,352
โพล"องค์กรครู"กว่า 90 % หนุน"รมว.ศธ."ทบทวนแต่ง"เครื่องแบบลูกเสือ"

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

โพล"องค์กรครู"กว่า 90 % หนุน"รมว.ศธ."ทบทวนแต่ง"เครื่องแบบลูกเสือ"

"องค์กรครู"ชูผลโพลกว่า 90% หนุ่น"รมว.ศธ."ทบทวนแต่ง"เครื่องแบบลูกเสือ"ให้คงไว้เพียงสัญลักษณ์ ผ้าผูกคอ และ หมวก เหตุราคาแพง ปัจจุบันเหลือแค่พิธีกรรมเด็กเข้าไม่ถึงคำว่าวินัย

เปิดภาคเรียนที่ 1/2565 ไม่ถึงเดือนเกิดกระแสสังคมในมุมลบจากผู้ปกครองว่า “เครื่องแบบลูกเสือ” กลายเป็นภาระค่าใช้จ่ายที่แพงในสภาวะค่าครองชีพสูงขอให้กระทรวงศึกษาธิการ ยุค น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รมว.ศึกษาธิการ สั่งทบทวนในเรื่องนี้ด้วย ล่าสุดมีความเคลื่อนไหวในเรื่องนี้จากครูผ่าน “องค์กรครู” อย่างน่าสนใจยิ่ง
 

โดยเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2565 นายไกรทอง กล้าแข็ง ประธานชมรมครูสังกัดกรุงเทพมหานครออนไลน์ ในฐานะตัวแทน “องค์กรครู” ให้สัมภาษณ์ “คมชัดลึก” ถึงกระแสสังคมไทยต่อการเรียนวิชาลูกเสือ และการแต่งเครื่องแบบลูกเสือ ว่าติดตามความเคลื่อนไหวในเรื่องนี้มาตลอด พบว่ามีการเคลื่อนไหวในแนวต่อต้านการแต่งเครื่องแบบลูกเสือมาต่อเนื่องยาวนานประมาณ 4-5 ปี มีความชัดเจขนมากขึ้น

“การแต่งเครื่องแบบลูกเสือในยุคปัจจุบัน จากที่สัมผัสกับเด็กนักเรียน ครู ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร และนักเรียนและครูในโรงเรียนต่างจังหวัด ส่วนมากพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า การแต่งเครื่องแบบลูกเสือต้องใช้เงินจำนวนมาก อีกทั้งทุกวันพฤหัสบดีที่เรียนวิชาลูกเสือต้องตื่นเช้ามากทั้งครูและนักเรียน เมื่อสะสมนานปีเกิดทัศนคติที่ไม่ดีต่อการเรียนรู้วิชาลูกเสือ”

 

เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน ที่ผ่านมา ชมรมครูสังกัดกรุงเทพมหานครออนไลน์ในฐานะ “องค์กรครู” ได้ดำเนินการสำรวจในกลุ่มเฟซบุ๊กชมรมครูสังกัดกรุงเทพมหานครออนไลน์ และแชร์เข้าไปในกลุ่มเฟซบุ๊กชมรมครูภูธรแห่งประเทศไทย โดยมีประเด็นคำถามว่า “ตามข้อสะท้อนที่มีมาหลายครั้งในสื่อโซเชียล และล่าสุด มีกระแสเรียกร้องให้เปลี่ยนเครื่องแบบลูกเสือ ขอแค่มีผ้าผูกคอกับหมวก ท่านมีความคิดเห็นอย่างไร?” ซึ่งแสดงผลของระดับความคิดเห็น ดังนี้

 

เห็นด้วยมากที่สุด จำนวน 409 ราย คิดเป็น 90.69 เปอร์เซ็นต์

เห็นด้วยมาก จำนวน 14 ราย คิดเป็น 3.10 เปอร์เซ็นต์

เห็นด้วยปานกลาง จำนวน 4 ราย คิดเป็น 0.89 เปอร์เซ็นต์

เห็นด้วยน้อย จำนวน 14 ราย คิดเป็น 3.10 เปอร์เซ็นต์

เห็นด้วยน้อยที่สุด จำนวน 10 ราย คิดเป็น 2.22 เปอร์เซ็นต์

“องค์กรครู” แจกแจงอีกว่า จากข้อมูลผลสำรวจข้างต้น สามารถนำมาประกอบการกำหนดนโยบายด้านการจัดการศึกษาให้ประสบผลสำเร็จได้ จึงเรียนมาเพื่อนำเสนอข้อมูลความคิดเห็น เพื่อประกอบการตัดสินใจกำหนดนโยบายด้านการศึกษาของชาติต่อไป และตนจะนำเรียนข้อมูลความคิดเห็นที่มีต่อ "เครื่องแบบลูกเสือ" ดังกล่าวต่อน.ส.ตรีนุช เทียนทองรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในวันพรุ่งนี้ เพื่อขอให้ทบทวนการ “แต่งเครื่องแบบลูกเสือ” เวลาเรียนวิชาลูกเสือ ให้มีความความสะดวกรวดเร็วคล่องตัวเพียงผูกผ้าพันคอ หรือ หมวก เท่านั้น

“เครื่องแบบลูกเสือค่อนข้างราคาแพงในยุคหลังโควิด-19 ผู้ปกครองเดือดร้อนมาก อีกทั้งการเรียนวิชาลูกเสือที่เริ่มสอนกันตั้งแต่ชั้นประถมศึกษา ส่วนมากเป็นเพียงพิธีกรรม เด็กยังไม่เข้าถึงการปลูกฝังเรื่องวินัย อีกทั้งเวลาเข้าค่ายลูกเสือครูส่วนมากปฏิเสธ บางโรงเรียนถึงขั้นต้องจับสลากว่าครูคนไหนต้องไปเข้าค่ายลูกเสือ กลายเป็นการบังคับ ทั้งที่ควรจะเป็นการสมัครใจหรือสร้างสรรค์ เรื่องนี้ฝากถึงศธ.ปรับปรุงรูปแบบให้นักเรียนและครูสนใจเพราะรร.กทม.ยึดตามศธ.ในทุกๆ เรื่อง”

ขอบคุณเนื้อหาและข้อมูลข่าวจาก :: หนังสือพิมพ์คมชัดลึก วันที่ 7 มิถุนายน 2565 เวลา 19.14 น.

 
  • 09 มิ.ย. 2565 เวลา 16:22 น.
  • 1,352

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^