LASTEST NEWS

19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครสวรรค์ - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครสวรรค์ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 2 (รอบที่ 1) สพป.นราธิวาส เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.นราธิวาส เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.น่าน เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.น่าน เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครพนม - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครพนม 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.ราชบุรี เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ราชบุรี เขต 2 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 2) สพป.ขอนแก่น เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ขอนแก่น เขต 3 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.เชียงใหม่ เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.เชียงใหม่ เขต 2 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.นครสวรรค์ เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.นครสวรรค์ เขต 1

ก.ค.ศ. ยืนยัน PA ลดเอกสารจริง ให้ครูโฟกัสที่ชั้นเรียน  กมธ.แนะให้เร่งทำความเข้าใจ ทำคลิปตัวอย่าง

  • 04 ธ.ค. 2564 เวลา 10:08 น.
  • 2,978
ก.ค.ศ. ยืนยัน PA ลดเอกสารจริง ให้ครูโฟกัสที่ชั้นเรียน  กมธ.แนะให้เร่งทำความเข้าใจ ทำคลิปตัวอย่าง

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

[ผลการหารือ ครูงานล้น และปัญหาการประเมิน PA ใน กมธ.การศึกษา]
ก.ค.ศ. ยืนยัน PA ลดเอกสารจริง ให้ครูโฟกัสที่ชั้นเรียน  กมธ.แนะให้เร่งทำความเข้าใจ ทำคลิปตัวอย่าง    


        ตามที่ รศ.ดร.สุรวาท ทองบุ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล  ได้ยื่นหนังสือต่อคณะกรรมาธิการการศึกษา สภาผู้แทนราษฎรเพื่อหารือ หาทางช่วยเหลือ แก้ปัญหา บรรเทาความเดือดร้อนของครู จากการรับคำสั่งหน่วยงานต้นสังกัดและหน่วยงานภายนอกอื่น ให้ปฏิบัติงานล้นกำลังที่จะปฏิบัติการได้ เบียดบังเวลาในการจัดการเรียนการสอน ขาดขวัญกำลังใจ โดยขอให้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาหารือเป็นวาระเร่งด่วน

         การประชุม กมธ.กรรมาธิการการศึกษา สภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2564 ได้เชิญตัวแทน สพฐ. และ ก.ค.ศ.  รวมทั้งตัวแทนครู มาร่วมประชุมเพื่อหารือหาทางช่วยเหลือตามหนังสือที่ยื่น โดย รศ.ดร. สุรวาท ทองบุ ได้ตั้งข้อสังเกตและข้อเสนอประเด็นหารือเพื่อแก้ปัญหาภาระงานครูล้นและปัญหาการประเมินวิทยฐานะแบบ PA กับ สพฐ. และ ก.ค.ศ. ดังนี้ 

         ข้อสังเกตและข้อเสนอประเด็นหารือกับ สพฐ.    
    1. สพฐ. ควรยกเลิกหรืองดโครงการ กิจกรรมที่ทำให้โรงเรียนได้รับคำสั่งให้ดำเนินการซึ่งเป็นการเบียดบังเวลาในการจัดการเรียนการสอนของครู เช่น  การสำรวจ  การประชุมชี้แจง  การอบรม  การสัมมนา  การรับนิเทศติดตาม  การรายงาน  การรับประเมิน  การประกวด  การแข่งขัน  จัดแสดงผลงาน เป็นต้น
    2. หากยังจำเป็นต้องดำเนินโครงการหรือกิจกรรม ควรปรับกิจกรรมหรือโครงการไม่ต้องให้ดำเนินการตามข้อ 1 หรือทำเท่าที่จำเป็น
    3. ควรลดงบประมาณค่าดำเนินงาน ในโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ ของ สพฐ. จาก 1.5 หมื่นล้านบาท เหลือ 500 ล้านบาท แล้วนำไปจัดสรรให้กับโรงเรียน 
    4. ลดบุคลากร ของ สพฐ. และเขตพื้นที่ให้เหลือน้อยที่สุด แล้วโอนบุคลากรไปที่โรงเรียนและโอนงบประมาณไปตั้งไว้ที่โรงเรียนให้มากที่สุด
    5. ควรมีการบรรจุแต่งตั้งผู้อำนวยการสถานศึกษา ธุรการ ภารโรง และบุคลากรอื่นให้ครบโรงเรียน บรรจุแต่งตั้งครูให้ครบชั้น ครบวิชา เป็นไปตามหลักเกณฑ์อัตรากำลังของโรงเรียน (ว23)  
        จากข้อหารือในประเด็นที่เสนอ ดร.เกศทิพย์ ศุภวานิช รองเลขาธิการ กพฐ. ตัวแทน สพฐ. รับไปพิจารณา  

        ส่วนข้อสังเกตและข้อเสนอประเด็นหารือกับ ก.ค.ศ.    
   1. การดำเนินการตามข้อตกลงจะส่งผลต่อคุณภาพนักเรียนจริงหรือไม่ และครูได้รับการพัฒนาจริงหรือไม่ 
   2. การเตรียมการรับการประเมินตามลักษณะงานที่ปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่ง ระดับการปฏิบัติที่คาดหวัง ริเริ่ม พัฒนา (Originate & Improve) ครูต้องเสียเวลาในการเตรียมหลักฐาน เอกสาร มากเช่นเดิมหรือไม่
   3. รอบการประเมินไม่สอดคล้องกันระหว่างปีงบประมาณกับปีการศึกษา เนื่องจากการทำข้อตกลงในการพัฒนางานจัดทำตามปีงปบประมาณ ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม  – 30 กันยายนของปีถัดไป ในขณะที่การวางแผนการจัดการเรียนการสอนมีการเปิดภาคการศึกษา 16 พฤษภาคม – 30 เมษายน ของปีถัดไป จะพิจารณาอย่างไร
   4. การประเมินใช้กรรมการจำนวนมาก จะมีปัญหาในการบริการจัดการ มีผู้ทรงคุณวุฒิและงบประมาณในการดำเนินงานหรือไม่ 
   5. การจัดทำไฟล์นำเสนอวีดิทัศน์บันทึกการสอน และไฟล์นำเสนอวีดิทัศน์ที่แสดงให้เห็นถึงปัญหา ที่มา หรือแรงบันดาลใจในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กำหนดเงื่อนไขจุกจิกเกินไปหรือไม่
   6. ระยะเวลาในการขอเลื่อนวิทยฐานะ และเกณฑ์การลดเวลา อาจผ่านได้ยาก เพราะต้องได้รับผลการประเมินปฏิบัติงานในระดับดีเด่น 4 รอบ ยากเกินไปหรือไม่  

       รศ.ดร.ประวิต เอราวรรณ์ เลขาธิการ ก.ค.ศ.  ได้ชี้แจงต่อที่ประชุมต่อกรรมาธิการ ดังนี้ 
    1. ก.ค.ศ.ยืนยันในหลักการหากครูดำเนินการตามข้อตกลงจะส่งผลต่อคุณภาพนักเรียนและครูได้รับการพัฒนาจริง
    2. การเตรียมการรับการประเมินตามลักษณะงานที่ปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่ง ระดับการปฏิบัติที่คาดหวัง ริเริ่ม พัฒนา (Originate & Improve) ครูไม่ต้องเสียเวลาในการเตรียมหลักฐาน เอกสาร เพราะการดำเนินการต่าง ๆ ครูต้องทำอยู่แล้ว โดยมีผู้บริหารติดตามรับรู้การปฏิบัติงานตลอดปีเป็นระยะ ครูไม่ต้องเก็บร่องรอย หลักฐานยุ่งยากอีกต่อไป 
    3. การส่งไฟล์นำเสนอการสอนและไฟล์นำเสนอปัญหา ที่มา หรือแรงบันดาลใจในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จะส่งกรณีขอเลื่อนวิทยฐานะสูงขึ้นเท่านั้น 
    4. กรรมการที่ใช้ในการประเมินประจำปีเพื่อเลื่อนเงินเดือนและคงวิทยฐานะ จำนวน 3 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถานศึกษา และอีก 2 คน จากผู้ที่มีคุณสมบัติเป็นศึกษานิเทศก์หรือเคยเป็นศึกษานิเทศก์ (วิทยฐานะไม่ต่ำกว่าชำนาญการพิเศษ) ผู้สอนในสถาบันอุดมศึกษา (ไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์) ครูผู้สอน (ไม่ต่ำกว่าชำนาญการพิเศษ) ผู้ทรงคุณวุฒินอกสถานศึกษา (มีความรู้ความเหมาะสม) ส่วนกรรมการที่ใช้ในการประเมินเพื่อเลื่อนวิทยฐานะ ก.ค.ศ. จะคัดเลือกผู้ประเมินไว้ตามคุณสมบัติและจะมีการสุ่มผู้ประเมินจากระบบของ ก.ค.ศ.

    ส่วนประเด็นรอบการประเมินไม่สอดคล้องกันระหว่างปีงบประมาณกับปีการศึกษา  และประเด็นเกณฑ์การลดเวลาขอเลื่อนวิทยฐานะ  ก.ค.ศ. รับไปพิจารณา  พร้อมนี้คณะกรรมาธิการการศึกษาและตัวแทนครูได้ร่วมกันอภิปราย แสดงความคิดเห็นกันอย่างหลากหลายเพื่อหารือทำความเข้าใจร่วมกัน    
    
             ทั้งนี้ รศ.ดร.สุรวาท ทองบุ กรรมาธิการการศึกษา ได้ให้ข้อเสนอต่อ ก.ค.ศ. และ สพฐ. เพื่อพิจารณาเพิ่มเติมดังนี้  
    1. ควรเร่งสร้างความเข้าใจระหว่างผู้กำหนดเกณฑ์และผู้ใช้เกณฑ์ให้ตรงกัน
    2. ควรทำไฟล์นำเสนอวีดิทัศน์ตัวอย่าง
    3. ควรปรับเกณฑ์เพื่อใช้สำหรับโรงเรียนที่ขาดแคลนบุคลากรเป็นการเฉพาะโดยให้คะแนนจากการปฏิบัติงานอื่นด้วย 
    4. เกณฑ์การประเมินเน้นที่ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นกับนักเรียนควรให้มีสัดส่วนที่สูงขึ้นและเน้นผลที่เกิดขึ้นเป็นปกติธรรมดา (Normally)
    5. เกณฑ์การประเมินต้องกระตุ้นไม่ให้แช่แข็ง ขึ้นหิ้ง หรือจมปักอยู่ที่ชำนาญการพิเศษเหมือนที่เป็นอยู่ขณะนี้  
     6. ควรปรับหลักเกณฑ์และวิธีการเรื่องอื่น ต้องไม่ส่งเสริมให้  สะสมแฟ้ม โล่ รางวัล ป้ายไวนิล ฟิวเจอร์บอร์ด และการขึ้นป้ายรอบรั้วโรงเรียน   เช่น เกณฑ์การคัดเลือกเพื่อแต่งตั้ง ย้ายของผู้บริหารและครู เป็นต้น
    7. ยกเลิกประเพณีการต้อนรับผู้ประเมินอันเป็นการยุ่งยากสิ้นเปลื้อง เช่น การขึ้นป้ายต้อนรับ การจีบผ้าประดับ จัดเลี้ยง ของที่ระลึกหรือของกำนัลทั้งหลาย และการประเมินในห้องประชุมหรือห้องจัดแสดงผลงานเปลี่ยนเป็นการประเมินในห้องเรียนจริง

ขอบคุณที่มาจาก :: เพจสุรวาท ทองบุ : Surawat Thongbu 
  • 04 ธ.ค. 2564 เวลา 10:08 น.
  • 2,978

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^