LASTEST NEWS

29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567อ.ก.ค.ศ.สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 62 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567สพป.กำแพงเพชร เขต 1 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 14 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพม.นครราชสีมา รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 20 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 6 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 27 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 5 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 32 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 4 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 15 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 3 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 25 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 2 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 19 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567

เร่งทำความเข้าใจฉีดวัคซีนนักเรียน

  • 21 ก.ย. 2564 เวลา 21:01 น.
  • 1,663
เร่งทำความเข้าใจฉีดวัคซีนนักเรียน

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

เร่งทำความเข้าใจฉีดวัคซีนนักเรียน
ศบค.ศธ.พบสภาผู้ปกครอง และครูแห่งประเทศไทย เพื่อซักซ้อมทำความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อโควิด-19 ให้กับนักเรียนอายุ 12-17 ปี

เมื่อวันที่ 21 ก.ย. ได้มีการจัดเสวนา “ศบค.ศธ.พบสภาผู้ปกครอง และครูแห่งประเทศไทย” เพื่อซักซ้อมทำความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อโควิด-19 ให้กับนักเรียนอายุ 12-17 ปี โดย ดร.อัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวตอนหนึ่งว่า หากเราจะเปิดเรียนแบบ Onsite ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 ได้นั้น มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเร่งฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ในนักเรียนและครูให้มีภูมิป้องกันมากที่สุด กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) จึงหารือกับกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) โดยกรมควบคุมโรค และกรมอนามัย เพื่อวางแผนการฉีดวัคซีนให้กับนักเรียน และครู รวมถึงการจัดทำมาตรการป้องกันต่าง ๆ ซึ่งในส่วนของกลุ่มนักเรียนนั้นได้กำหนดที่จะฉีดวัคซีนไฟเซอร์ให้กับนักเรียน ประมาณ 4.5 ล้านคน อายุตั้งแต่ 12-17 ปี ขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้แบ่งการทำงานออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ 1.การเตรียมการฉีดวัคซีน ซึ่งจะต้องมีการสร้างความเข้าใจกับนักเรียน และผู้ปกครอง จากนั้นจะให้ผู้ปกครองยื่นความประสงค์เพื่อให้ลูกเข้าฉีดวัคซีน ก่อนจะมีการยื่นข้อมูลและตัวเลขให้สาธารณสุขจังหวัดเพื่อขอรับการจัดสรรวัคซีนจากส่วนกลางต่อไป 2.การฉีดวัคซีน กำหนดจัดฉีดที่โรงเรียน และ 3.หลังการฉีดวัคซีน จะต้องดูแลว่าเด็กมีอาการที่ไม่พึงประสงค์ โดยสรุปก็คือการดำเนินงานครั้งนี้เราจะดูแลนักเรียน ตั้งแต่ก่อนฉีดจนกระทั่งหลังฉีด และหากเป็นไปตามแผนที่วางไว้เราจะสามารถเปิดเรียนภาคเรียนที่ 2 แบบ Onsite ได้ทันในเดือน พ.ย.นี้แน่นอน อย่างไรก็ตามในการเปิดภาคเรียนที่ 2 แบบ Onsite นี้ สพฐ.ไม่ได้บังคับว่าผู้ปกครองจะให้ลูกมาเรียนที่โรงเรียนทุกคน หากยังกังวลในเรื่องความปลอดภัยอยู่อยากให้ลูกเรียนรูปแบบ Online ที่บ้านก็ยังสามารถทำได้ 

ด้าน นพ.สราวุฒิ บุญสุข รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า ศธ.และ สธ. ได้ร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดในการกำหนดมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในโรงเรียน ที่เรียกว่า Sandbox Safety Zone in School โดยนำร่องในโรงเรียนประจำ ซึ่งได้ผลดี ครูในโรงเรียนได้รับวัคซีนร้อยละ 80 ขึ้นไป โรงเรียนมีการจัดพื้นที่ปลอดภัย มีจัดกิจกรรมเป็นกลุ่มเล็ก ๆ แยกกัน มีการคัดกรองที่ได้ผล ทำให้พบผู้ติดเชื้อ และแยกกัก ส่งตัวรักษา และควบคุมโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถือเป็นความสำเร็จของ ศธ. และเป็นตัวอย่างให้สถานประกอบการประเภทอื่น ๆ นำไปใช้เป็นตัวอย่าง ส่วนการนำร่องในโรงเรียนไปกลับนั้น โรงเรียนต้องเน้นกิจกรรมที่ลดความเสี่ยงให้มากที่สุด โดยจะมีการประเมินร่วมกันระหว่างคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด กับสถานศึกษาอีกครั้ง เพื่อให้การจัดการศึกษาปลอดภัยที่สุด

สำหรับวัคซีนที่จะให้กับเด็กอายุ 12 ปีขึ้นไปนั้น ขณะนี้ทั่วโลกอนุมัติให้ใช้วัคซีนชนิด mRNA และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ของไทย อนุมัติให้ฉีดได้ จะเป็นวัคซีนไฟเซอร์ ซึ่งจะเข้ามาในประเทศไทยและเริ่มฉีดต้นเดือน ต.ค.ซึ่งยืนยันว่ามีเพียงพอที่จะฉีดให้กับเด็ก โดยเริ่มมีการฉีดวัคซีนไฟเซอร์ให้กับเด็กอายุ 12 ปีขึ้นไปในกลุ่มเด็กที่มีโรคประจำตัว เพราะเด็กกลุ่มนี้หากติดเชื้อโควิดจะมีความรุนแรงมากกว่าเด็กปกติ โดยพบว่า กลุ่มเด็กอายุ 12-19 ปี มีอัตราการติดเชื้อร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับกลุ่มผู้ใหญ่ และเสียชีวิต ร้อยละ 0.03 แม้จะเป็นจำนวนน้อย แต่ส่วนใหญ่เด็กที่เสียชีวิต จะมีโรคประจำตัวด้วย จึงจำเป็นต้องเร่งฉีดวัคซีนให้กับเด็กที่มีโรคประจำตัวให้ได้มากที่สุด 

ส่วนเรื่องความปลอดภัยของวัคซีนนั้นคณะผู้เชี่ยวชาญของ สธ. อย. และราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ เห็นตรงกันว่า มีความจำเป็นที่จะต้องฉีดวัคซีนให้กับเด็กอายุ 12 ปีขึ้นไป โดยในส่วนของวัคซีนไฟเซอร์นั้น ทั่วโลกมีข้อมูลพบอาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ในเด็กผู้ชาย และพบในโด๊ส ที่ 2 มากกว่าโด๊สที่ 1 สำหรับประเทศไทยพบเพียง 1 คน เท่านั้นและมีอาการไม่มาก ขณะนี้รักษาหายเป็นปกติแล้ว ส่วนวัคซีนเชื้อตาย ได้แก่ วัคซีนซิโนฟาร์ม ที่ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ นำมาฉีดให้กับเด็กนักเรียนนั้น เป็นขั้นตอนการศึกษาวิจัย ส่วนการนำไปฉีดในเด็กทั่วไปนั้น ขณะนี้ อย. ไทย ยังไม่อนุมัติ

นายนิวัตร นาคะเวช นายกสภาผู้ปกครองและครูแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ขอบคุณ ศธ. และ สธ.ที่ให้ความสำคัญกับการฉีดวัคซีนให้เด็กนักเรียน และครู เพราะจากสำนักงานสถิติแห่งชาติที่ได้รายงานคณะรัฐมนตรี (ครม.) ครั้งที่ผ่านมา ระบุว่าการเรียนแบบ Online มีปัญหาค่อนข้างมาก โดยเฉพาะเรื่องที่นักเรียนเรียนไม่เข้าใจ เพราะเด็กไม่มีสมาธิ ขณะที่อินเทอร์เน็ตก็ไม่เสถียร รวมไปถึงเรื่องค่าใช้จ่ายก็เพิ่มขึ้น ที่สำคัญที่สุดที่สำนักงานสถิติแห่งชาติได้รายงานก็คือการอยู่โรงเรียนเด็กมีความปลอดภัยกว่าอยู่ที่บ้าน ดังนั้นหาก ศธ.เร่งฉีดวัคซีนให้นักเรียนและครูจนทำให้เปิดสอนแบบ Onsite ได้ก็จะเป็นเรื่องที่ดีมาก ๆ

ขอบคุณเนื้อหาและข้อมูลข่าวจาก :: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 21 กันยายน 2564 เวลา 16:17 น.
 
  • 21 ก.ย. 2564 เวลา 21:01 น.
  • 1,663

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^