LASTEST NEWS

19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.นครราชสีมา เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.นครราชสีมา เขต 2 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.ขอนแก่น - ผลย้ายครู 2567 สพม.ขอนแก่น 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.พิษณุโลก อุตรดิตถ์ - ผลย้ายครู 2567 สพม.พิษณุโลก อุตรดิตถ์ 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 18 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 18 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 18 เม.ย. 2567(( ประกาศแล้ว )) รายชื่อผู้สอบผ่าน ภาค ก และ ข การสอบบรรจุรับราชการครูฯ ตำแหน่งบุคลากร 38 ค.(2) สังกัดสพฐ. ปีพ.ศ.2567 เช็กผลสอบ 38 ค. สพฐ. ได้ที่นี่ 18 เม.ย. 2567อย่างเป็นทางการ! กำหนดสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป สังกัดสพฐ. ปี พ.ศ.2567 ประกาศรับสมัครภายใน 1 พ.ค. 2567 - รับสมัคร 8-14 พ.ค.2567 18 เม.ย. 2567กรุงเทพมหานคร เปิดสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ (ทุนเอราวัณ) 84 อัตรา สมัคร 1 พฤษภาคม 2567 - 14 มิถุนายน 2567

ขอความอนุเคราะห์ทบทวนการกำหนดคุณสมบัติผู้มีสิทธิ์สมัครทดสอบเพื่อรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู

  • 04 พ.ค. 2564 เวลา 11:29 น.
  • 2,012
ขอความอนุเคราะห์ทบทวนการกำหนดคุณสมบัติผู้มีสิทธิ์สมัครทดสอบเพื่อรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

เขียนจดหมายสามฉบับนี้เสร็จเมื่อวาน วันนี้ขออนุญาตนำมาเผยแพร่ ว่าได้ทำหน้าที่ประธานสภาคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทย เพื่อลูกศิษย์ครูทุกคน ดังนี้
###จดหมายนำเรียนขอความอนุเคราะห์ทบทวนการกำหนดคุณสมบัติผู้มีสิทธิ์สมัครทดสอบเพื่อรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู จาก 3 ท่าน ดังต่อไปนี้ ครับ
๑.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะควบคุมกำกับและกำหนดนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ
๒.เลขาธิการคุรุสภา ในฐานะผู้ปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการคุรุสภา เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครู พ.ศ. ๒๕๖๓ 
๓.เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ในฐานะผู้กำหนดวิธีการเข้าสู่ตำแหน่งและพัฒนาคุณภาพของวิทยะฐานะครูประจำการ
รองศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ นพรัก
ประธานสภาคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทย
ประธานที่ประชุมคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทย
คณบดีวิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา

เรื่อง ขอความอนุเคราะห์ทบทวนการกำหนดคุณสมบัติผู้มีสิทธิ์สมัครทดสอบเพื่อรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู

###เรื่อง ขอความอนุเคราะห์ทบทวนการกำหนดคุณสมบัติผู้มีสิทธิ์สมัครทดสอบเพื่อรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู

###เรียน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ/เลขาธิการคุรุสภา/เลขาธิการ ก.ค.ศ.


          เนื่องด้วย นิสิตนักศึกษา หลักสูตรปริญญาตรี (๔ ปี) ที่เข้าศึกษาในปีการศึกษา ๒๕๖๒ จะต้องทดสอบเพื่อขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู  ตามประกาศคณะกรรมการคุรุสภา เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครู พ.ศ. ๒๕๖๓ ในส่วนที่ ๒ หลักเกณฑ์และวิธีการทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครู กำหนด ข้อ ๗ สมรรถนะทางวิชาชีพครู ซึ่งประกอบด้วย

(ก) ความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ ตามมาตรฐานวิชาชีพครู ได้แก่
(๑) วิชาภาษาและเทคโนโลยีดิจิทัล ประกอบด้วย ๑) การใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร
๒) การใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ๓) การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา
รวมทั้ง (๒) วิชาชีพครู และ (๓) วิชาเอก ตามที่คณะอนุกรรมการกำหนด

          โดยในการทดสอบความรู้ตามมาตรฐานวิชาชีพครู ตาม (ก) ผู้มีสิทธิ์เข้าทดสอบ ต้องมีคุณสมบัติ ตาม ข้อ ๑๐ คุณสมบัติของผู้เข้ารับการทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพ ตามข้อ ๗ (ก) ผู้ศึกษาในหลักสูตรปริญญาทางการศึกษา หรือเทียบเท่า ที่คุรุสภารับรอง (๒) ผู้อยู่ระหว่างศึกษาในหลักสูตรปริญญาทางการศึกษา หรือเทียบเท่า ที่คุรุสภารับรอง ตามหลักเกณฑ์คุณสมบัติท่ีคณะอนุกรรมการกำหนด นั้น

         จากข้อกำหนดของคณะอนุกรรมการอำนวยการทดสอบเพื่อขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ที่กำหนดให้นิสิตนักศึกษาชั้นปีที่ ๓ มีสิทธิ์สมัครทดสอบ ๔ วิชา ได้แก่ ๑) การใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร ๒) การใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ๓) การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา และ (๔) วิชาเอก นิสิตนักศึกษาชั้นปีที่ ๔ มีสิทธิ์สมัครทดสอบ ๕ รายวิชา ได้แก่ ๑) การใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร ๒) การใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ๓) การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา (๔) วิชาเอก และ (๕) วิชาชีพครู ส่งผลให้นิสิตนักศึกษาที่เข้าศึกษาในปีการศึกษา ๒๕๖๒ มีความวิตกกังวลคือการไม่มีสิทธิ์สมัครทดสอบรายวิชาชีพครู ในชั้นปีที่ ๓ เหมือนกับอีก ๔ รายวิชา เพราะการกำหนดให้นิสิตนักศึกษามีสิทธิ์สมัครทดสอบวิชาชีพครู ในชั้นปีที่ ๔ นั้น ช่วงเวลาการสอบในเดือนตุลาคม ๒๕๖๕ และเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ จะตรงกับการออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูเต็มเวลา ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ และความพร้อมในการเตรียมตัวเข้าทดสอบ อีกด้วย

           ดังนั้น นิสิตนักศึกษาจึงได้เสนอความเห็นผ่านคณบดีสมาชิกของสภาคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทย เพื่อขอให้มีสิทธิ์สมัครทดสอบทั้ง ๕ รายวิชา ในชั้นปีที่ ๓ โดยมีเหตุผลประกอบ ดังนี้

           (๑) จากการวิเคราะห์ มคอ.๒ ของหลักสูตรครู พบว่า วิชาชีพครูเกือบทั้งหมดจะถูกกำหนดให้เรียนตั้งแต่ชั้นปี ๑ ถึงปี ๓ คิดเป็น ๙๐ %+ ของจำนวนรายวิชาทั้งหมด บางหลักสูตรเรียนวิชาชีพครูทั้งหมด (๑๐๐%) ใน ๓ ปีแรก ทั้งนี้มีแนวคิดเพื่อให้การเรียนรายวิชามีความสอดคล้องกับรายวิชา practicum ๑,๒,๓ ซึ่งเป็นการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูระหว่างเรียนของนิสิต ซึ่งนิสิตต้องฝึกต่อเนื่องทุกปี ทั้งนี้เพื่อทำให้การฝึกประสบการณ์ในวิชา practicum นิสิตจะสามารถนำความรู้จากการเรียนในรายวิชาชีพครูไปประยุกต์ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

           (๒) อาจจะมีบางหลักสูตรที่จะเหลือเรียนรายวิชา ๑ รายวิชาให้เรียนในชั้นปี ๔ ภาคเรียนที่ ๑ ซึ่งส่วนใหญ่จะกำหนดให้เรียนรายวิชา การประกันคุณภาพการศึกษา ทั้งนี้เพราะ ต้องการให้นิสิตเข้าใจงานการจัดการศึกษาของโรงเรียนในภาพรวมทั้งหมด ก่อนที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับการประกันคุณภาพ 

            (๓)การทดสอบเพื่อรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู โดยทดสอบในรายวิชาชีพครู ในชั้นปีที่ ๓ ด้วย จึงเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสม ที่นิสิตจะใช้ความรู้จากการเรียนมาใช้ในการสอบได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าการสอบในชั้นปี ๔ ทั้งนี้เพราะการสอบ เป็นการวัดและประเมินผล "ภาคความรู้" เป็นสำคัญ หากนำไปสอบในชั้นปี ๔ จะเป็นช่วงเวลาที่ซ้ำซ้อนกับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ผ(ฝึกสอน) และซ้ำซ้อนกับการประเมินสมรรถนะครูของคุรุสภา อีกด้วย 

           (๔)หากนิสิตประเมินสมรรถนะครูในระหว่างฝึกสอน "ผ่าน" แต่ทดสอบรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู "ไม่ผ่าน" นั่นหมายความว่า การวัดและประเมินผลสมรรถนะครูของคุรุสภา ทั้งภาคความรู้และภาคประสบการณ์ ไม่สอดคล้องกัน สิ่งนี้อาจทำให้เกิดความเคลือบแคลงสงสัยในระบบประเมินของคุรุสภามากขึ้นหรือไม่ คุรุสภาอาจได้รับผลกระทบจากปรากฏการณ์นี้มากกว่า กรณีเด็กเรียนรายวิชาชีพครูไม่ครบถ้วน แต่เด็กสอบผ่าน 

          (๕)ปัจจุบัน การเรียนรายวิชาชีพครูได้ปรับเปลี่ยนให้เป็นการเรียนแบบบูรณาการมากยิ่งขึ้น เช่น เรียนวิชาการจัดการเรียนรู้ ก็ต้องเข้าใจการวัดและประเมินผล ต้องเข้าใจการวิเคราะห์หลักสูตร ต้องเข้าใจการสร้างสื่อการเรียนรู้ และต้องเข้าใจเนื้อหาวิชาในศาสตร์ที่จะสอนด้วย ฯลฯ เพราะถ้าไม่เข้าใจ นิสิตนักศึกษาก็จะออกแบบการเรียนรู้ไม่ได้ การเรียนจึงต้องบูรณาการองค์ความรู้ในหลายวิชาเข้าด้วยกัน ทำการสอนเป็นทีม โดยอาจารย์จากหลายวิชา แล้ววัดประเมินผลแบบบูรณาการจากภาระงานและผลงานที่นิสิตนักศึกษาทำได้ การเรียนรู้จึงเป็นแบบองค์รวม จึงไม่แปลก หากนิสิตนักศึกษาจะสอบผ่านก่อนที่จะเรียนครบทุกวิชา

          (๖) หากนำเอา rubric การประเมินสมรรถนะครูของคุรุสภามาวิเคราะห์ จะพบว่า นิสิตนักศึกษาจะต้องทำงานเชิงรุก ทั้งในชั้นเรียน ในโรงเรียน และในชุมชนอย่างเข้มข้น ซึ่งยากลำบาก มาก ดังนั้น จึงเป็นไปไม่ได้เลยว่า นิสิตจะฝึกประสบการณ์อย่างเต็มศักยภาพ ในขณะที่นิสิตต้องเตรียมตัวทดสอบเพื่อรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูในเวลาเดียวกันด้วย สุดท้ายจะทำให้นิสิตให้ความสนใจกับการสอบมากกว่า จนอาจมีผลต่อการฝึกประสบการณ์ที่ไม่เต็มที่ ซึ่งจะทำให้ "ได้ไม่คุ้มเสีย" หรือไม่???

            จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาให้ความอนุเคราะห์ทบทวนการกำหนดคุณสมบัติผู้มีสิทธิ์สมัครทดสอบเพื่อรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู โดยให้นิสิตนักศึกษาชั้นปีที่ ๓ มีสิทธิ์เข้ารับการทดสอบทั้ง ๕ รายวิชา ได้แก่ ๑) การใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร ๒) การใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ๓) การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา (๔) วิชาเอก และ (๕) วิชาชีพครู จะเป็นพระคุณอย่างยิ่ง
 
ขอแสดงความนับถืออย่างสูง
(รองศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ นพรัก)
ประธานสภาคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทย







คลิกที่นี่ เพื่อ่านอ่านต้นฉบับจากเฟซบุ๊ก สมบัติ นพรัก
  • 04 พ.ค. 2564 เวลา 11:29 น.
  • 2,012

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^