LASTEST NEWS

28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 3 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 25 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 2 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 19 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 1 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 28 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.ตรัง เขต 2 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 16 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.ปัตตานี เขต 3 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 12 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.ตรัง เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ตรัง เขต 2 28 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 28 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.ปัตตานี เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ปัตตานี เขต 3 28 มี.ค. 2567สพป.เพชรบูรณ์ เขต 1 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 18 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567

จาก”ผู้อำนวยการ” สู่ตำแหน่ง “หัวหน้าสถานศึกษา” เปลี่ยนแปลงเพื่ออะไร?

  • 08 เม.ย. 2564 เวลา 15:46 น.
  • 10,201
จาก”ผู้อำนวยการ” สู่ตำแหน่ง “หัวหน้าสถานศึกษา” เปลี่ยนแปลงเพื่ออะไร?

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

จาก”ผู้อำนวยการ” สู่ตำแหน่ง “หัวหน้าสถานศึกษา” เปลี่ยนแปลงเพื่ออะไร?

รองศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ นพรัก
ประธานสภาคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทย
ประธานที่ประชุมคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทย
คณบดีวิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา

ผมขอวิเคราะห์ ร่างฯ ที่ผ่านการตรวจพิจารณาของ คกก. พิเศษ แล้วเมื่อ วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๖๔
บันทึกหลักการและเหตุผล ประกอบร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ....
หลักการ ปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ ดังนี้

มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้
“หัวหน้าสถานศึกษา” หมายความว่า ครูซึ่งเป็นหัวหน้าในสถานศึกษาของ รัฐที่จัดการศึกษาเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามมาตรา ๘ วรรคหนึ่ง (๒) (๓) (๔) (๕) และ (๖) มีหน้าที่และ ความรับผิดชอบหลักในการบริหารสถานศึกษาและเป็นผู้บังคับบัญชาของครูและบุคลากรทางการศึกษาอื่นที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษาในสถานศึกษาดังกล่าว ? (ลองไปเปลี่ยนเป็นผู้อํานวยการ ดูว่า ต้องแก้มากไหม)

ตำแหน่งใหม่คือ ”หัวหน้าสถานศึกษา” แปลงกายมาจาก(ร่าง)พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. .... ฉบับเดิม คือ”ครูใหญ่” โดยครั้งนั้นอ้างเหตุผลที่เปลี่ยนจาก “ผู้อำนวยการ” ว่าเปลี่ยนตำแหน่งเรียก ”ครูใหญ่”เพื่อจะได้มีความหมายที่ใกล้ชิดกับครูยิ่งขึ้น และจะไม่รู้สึกเหินห่างจากครูเหมือนตำแหน่ง”ผู้อำนวยการ”


ผมนึกไม่ออกว่า การเปลี่ยนแปลง(ร่าง)ครั้งใหม่ จะทำให้ ครูและนักเรียนรวมทั้งผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จะรู้สึกใกล้ชิด หรือจะรู้สึกประดักประเดิด? กับการเรียกตำแหน่งใหม่ คือต้องเรียก “หัวหน้า” แทนเรียก “ผอ.(ผู้อำนวยการ)” ตามเดิม

โชคดีที่พระราชบัญญัติการศึกษาฉบับใหม่ นี้ จะประกาศใช้หลังจากผมไม่ได้เป็นนักเรียนและเป็นครูมานานมากกว่าหกสิบปีแล้ว 
สมัยผมเรียนชั้นมัธยมและเป็นครูในโรงเรียนมัธยมมา 20 ปี มีการเรียกตำแหน่งผู้บริหารโรงเรียน ดังต่อไปนี้ครับ
    - พ.ศ.2494 ผมเข้าเรียนชั้นมัธยมปีที่ 1 ที่โรงเรียนสวรรควิทยา ผมมี”ครูใหญ่ (Head Master)”ชื่อ สุด สุวรรณนาคินทร์
    - พ.ศ.2504 ผมเป็นครูครั้งแรก ที่โรงเรียนสวรรควิทยา ผมทำงานกับ”ครูใหญ่ (Head Master)”ชื่อ สุด สุวรรณนาคินทร์
    - พ.ศ.2512 ผมเป็น”ผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่” ทำงานกับ”อาจารย์ใหญ่ (Principal)” ชื่อ ฉลวย บุญครอบ
    - พ.ศ.2519 ผมเป็น”ผู้ช่วยผู้อำนวยการ” ทำงานกับ “ผู้อำนวยการ (Director)” ชื่อ ฉลวย บุญครอบ
    - พ.ศ.2525 ผมโอนไปอยู่ มศว.พิษณุโลก โดยมีตำแหน่งสุดท้าย คือ”ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียน (Assistant Director of School)”

ตำแหน่งผู้บริหารโรงเรียนในอดีต เรียกชื่อตำแหน่ง ตามขนาดของโรงเรียน โดยมีจำนวนนักเรียนที่ต้องรับผิดชอบ เป็นตัวกำหนดตำแหน่ง 
    - โรงเรียนขนาดเล็ก เรียก”ครูใหญ่ (Head Master)” ผู้บริหารเป็นชั้นโท เทียบ ซี3-4
    - โรงเรียนขนาดกลาง เรียก ”อาจารย์ใหญ่ (Principal)” ผู้บริหารเป็นชั้นเอก เทียบ ซี 5
    - โรงเรียนขนาดใหญ่ เรียก “ผู้อำนวยการ (Director)” ผู้บริหารเป็นชั้นพิเศษ เทียบ ซี 7

ต่อมานักเรียนลดลง ผู้บริหารโรงเรียนไม่สามารถขยับ ซี ได้ เงินเดือนตัน จึงสุดท้ายผู้บริหารโรงเรียนทุกคน ได้เป็น  “ผู้อำนวยการ (Director)”

หลักการที่ระบุไว้ใน (ร่าง) กฎหมาย คือ ปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
ผมมีความเชื่อตามพจนานุกรมมาตลอดว่า คำว่า”ปรับปรุง” คือ แก้ไขให้เรียบร้อยยิ่งขึ้น เปลี่ยนแปลงจากเดิมแล้วจะทำให้ดีขึ้น
ผมจึงมีความสงสัยว่า การปรับปรุง “ร่าง”พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ....ฉบับนี้ ใน มาตรา 4 นิยามคำเรียกตำแหน่งผู้บริหารโรงเรียน จาก”ผู้อำนวยการ” เป็น “หัวหน้าสถานศึกษา” ดีขึ้นตรงไหน?
     1.ถ้าจะว่า “ชื่อเรียกเป็นสากล” ผมก็ไม่เคยได้ยินว่ามีประเทศไหนกำหนดตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา ว่า “หัวหน้าสถานศึกษา (Head of School/Chief of School)” 
     2.ถ้าจะว่า “ เรียกหัวหน้า” แล้วครูจะรู้สึกคุ้นเคยก็คงไม่ใช่ ยิ่งนักเรียน เรียก”หัวหน้า”ด้วย คงจะแปลกๆ ส่วนผู้ปกครองก็คงยิ่งแล้วใหญ่ เป็น”หัวหน้า”ผู้ปกครองตรงไหน?
     3.ถ้าจะว่า “เรียกหัวหน้า” แล้วคุณภาพการบริหารโรงเรียนจะเพิ่มขึ้น ยิ่งแล้วใหญ่ เพราะคุณภาพต้องมาจากการบริหารโรงเรียน ไม่ใช่มาจากการเปลี่ยนชื่อตำแหน่ง

ที่สำคัญต่อไปนี้ เวลานิสิตนักศึกษาทำวิทยานิพนธ์ นักวิชาการทำงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับโรงเรียน ต้องเขียน Abstract (บทคัดย่อ) เป็นภาษาอังกฤษ คนอ่านงานวิจัยโดยเฉพาะชาวต่างชาติคงจะงุนงงมิใช่น้อยว่า เมืองไทยมีตำแหน่ง “หัวหน้าสถานศึกษา (Head of School/Chief of School)” 

      หรือจะเป็นว่า “นี่เป็นนวัตกรรมในการออกกฎหมายการศึกษา?” 

ประเด็นนี้ผมขอสารภาพว่า “ความรู้ผมไปไม่ถึงครับ”
#ผมลองย้อนกลับไปอ่าน(ร่าง) มาตรา 4 ตามที่นำมาอ้างในข้อเขียนข้างต้น 
ตอนท้ายของวรรคนี้เขียนไว้ว่า 
(ลองไปเปลี่ยนเป็นผู้อํานวยการ ดูว่า ต้องแก้มากไหม)

##ถ้าให้ผมตอบคำถามนี้ ผมจะตอบว่า “แก้ไม่มากหรอกครับ แก้เท่ากับแก้ จากคำว่า “ครูใหญ่” เป็น “หัวหน้าสถานศึกษา” ครับ เท่ากันเดี๊ยะเลย”
###เมื่อตอบว่าแก้ไม่มาก ก็ขอเชียร์ให้แก้เถอะครับ “อย่าทำเรื่องไม่เป็นเรื่อง” เลยครับ


อ่านต้นฉบับจาก เฟซบุ๊กรองศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ นพรัก
  • 08 เม.ย. 2564 เวลา 15:46 น.
  • 10,201

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^