LASTEST NEWS

18 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 18 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 18 เม.ย. 2567(( ประกาศแล้ว )) รายชื่อผู้สอบผ่าน ภาค ก และ ข การสอบบรรจุรับราชการครูฯ ตำแหน่งบุคลากร 38 ค.(2) สังกัดสพฐ. ปีพ.ศ.2567 เช็กผลสอบ 38 ค. สพฐ. ได้ที่นี่ 18 เม.ย. 2567อย่างเป็นทางการ! กำหนดสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป สังกัดสพฐ. ปี พ.ศ.2567 ประกาศรับสมัครภายใน 1 พ.ค. 2567 - รับสมัคร 8-14 พ.ค.2567 18 เม.ย. 2567กรุงเทพมหานคร เปิดสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ (ทุนเอราวัณ) 84 อัตรา สมัคร 1 พฤษภาคม 2567 - 14 มิถุนายน 2567 18 เม.ย. 2567อย่างเป็นทางการ !! กทม.เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 592 อัตรา (สำรอง 125 อัตรา) - รายงานตัว 29-30 เม.ย.2567 18 เม.ย. 2567สพป.ยโสธร เขต 1 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 18 เม.ย. 2567สพป.อุดรธานี เขต 2 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 18 เม.ย. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 4 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567  18 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 2) สพป.ขอนแก่น เขต 5 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ขอนแก่น เขต 5

“อัษฎางค์” แจงยิบกฎ-กติกาเข้มข้นจัดสอบ ขรก.ท้องถิ่น

  • 16 ก.ค. 2562 เวลา 22:38 น.
  • 11,395
“อัษฎางค์” แจงยิบกฎ-กติกาเข้มข้นจัดสอบ ขรก.ท้องถิ่น

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

“อัษฎางค์” แจงยิบกฎ-กติกาเข้มข้นจัดสอบ ขรก.ท้องถิ่น

ประธานฯจัดสอบ ขรก.ท้องถิ่น แจงยิบกฎ-กติกาเข้มข้นจัดสอบแข่งขัน ยันดำเนินการด้วยความบริสุทธิ์ ยุติธรรม โปร่งใสตรวจสอบได้ มั่นใจได้คนดี มีความรู้ ความสามารถและมีคุณธรรมอย่างแท้จริง
นายอัษฎางค์ ปาณิกบุตร ประธานกรรมการกลางการสอบแข่งขันพนักงานส่วนท้องถิ่น (กสถ.) เปิดเผยว่า ตามที่คณะกรรมการกลางการสอบแข่งขันพนักงานส่วนท้องถิ่น (กสถ.) ได้ดำเนินการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเป็นข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น ปี 2562 เมื่อวันอาทิตย์ที่ 14 กรกฎาคม 2562 ที่ผ่านมาซึ่งจากการติดตามการสอบดังกล่าวยังไม่ปรากฏว่ามีการทุจริตหรือมีข้อสอบรั่วแต่อย่างไร แต่มีปรากฏข่าวเกี่ยวกับข้อผิดพลาดและคลาดเคลื่อนในบางประเด็น ดังนั้น เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องและผดุงไว้ซึ่งความสุจริต และเที่ยงธรรม ตลอดจนเกียรติภูมิของผู้เข้าสอบและผู้ที่สอบผ่านในการสอบครั้งนี้ จึงขอชี้แจงเกี่ยวกับข้อผิดพลาดและคลาดเคลื่อนในบางประเด็นที่ปรากฏว่า

ประเด็นที่เกี่ยวกับข้อความที่มีความคลาดเคลื่อน ในส่วนของ "ข้อแนะนำ" ซึ่งอยู่ที่ปกหน้าของแบบทดสอบ นั้น ได้รับคำชี้แจงจากมหาวิทยาลัยซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบการดำเนินการสอบในครั้งนี้ว่า ข้อความดังกล่าว เป็นข้อความที่อยู่ในปกหน้าของแบบทดสอบ โดยเป็นการอธิบายวิธีการทำข้อสอบปรนัยให้ผู้เข้าสอบได้ทราบ ซึ่งข้อแนะนำดังกล่าวไม่ว่าหน่วยงานใดที่มีการจัดสอบแบบปรนัย ก็จะใช้ข้อความในลักษณะเดียวกัน ซึ่งไม่มีผลกระทบกับการทำแบบทดสอบหรือการตรวจให้คะแนนแต่อย่างไร ประกอบกับมหาวิทยาลัยได้มีการแจ้งไปยังสถานที่สอบต่างๆ ให้กรรมการคุมสอบแจ้งให้ผู้เข้าสอบได้ทราบและแก้ไขข้อความดังกล่าวให้ถูกต้องแล้ว โดยทาง กสถ. ขอชี้แจงเพิ่มเติมว่าเหตุที่เกิดความคาดเคลื่อนดังกล่าว เกิดขึ้นมาจากการจำกัดให้เฉพาะผู้เกี่ยวข้องโดยตรงเท่านั้น ที่เข้าถึงข้อสอบได้ (เพื่อป้องกันการทุจริต) และเพื่อป้องกันการรั่วไหลของข้อสอบและคำตอบให้ได้ 100% ดังนั้น การตรวจทานโดยเฉพาะในส่วนที่ไม่ใช่เนื้อหาข้อสอบจึงอาจมีความคลาดเคลื่อนได้ ทั้งนี้ ข้อความที่คลาดเคลื่อนดังกล่าวไม่มีผลกระทบต่อเนื้อหาข้อสอบแต่อย่างใด

ประเด็นของมาตรฐานหรือเนื้อหาของข้อสอบ ที่มีข่าวว่า "มีการใช้หรือคัดลอกจากข้อสอบเก่าของหน่วยงานอื่น" นั้น ขอเรียนว่า ในการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเป็นข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น มีการกำหนดขอบเขตเนื้อหาวิชาเฉพาะเจาะจงที่จะใช้เพื่อการทดสอบให้ได้บุคคลที่เหมาะสมกับการปฏิบัติงานใน อปท. เช่นในภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก) ได้มีการกำหนดให้สอบวิชาความรู้พื้นฐานในการปฏิบัติราชการ ซึ่งเป็นการทดสอบความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวกับกฎหมายในการปฏิบัติราชการของ อปท. จำนวน 11 ฉบับ ซึ่งหน่วยงานอื่นไม่มีการสอบในวิชาดังกล่าว หรือการสอบภาคความรู้ความสามารถเฉพาะสำหรับตำแหน่ง (ภาค ข) ก็จะกำหนดให้สอบในวิชาที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานใน อปท. ในตำแหน่งนั้น เพราะฉะนั้นวิชาต่างๆส่วนใหญ่จึงเป็นระเบียบกระทรวงมหาดไทยที่เกี่ยวข้อง ซึ่งหน่วยงานอื่นก็ไม่มีการสอบในวิชาดังกล่าวเช่นเดียวกัน

ในการออกข้อสอบ ได้มีการกำหนดคุณสมบัติของกรรมการออกข้อสอบ โดยต้องเป็นคณาจารย์ที่มีคุณวุฒิ ประสบการณ์การเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องกับวิชาที่จะออกข้อสอบและไม่เป็นติวเตอร์ (ผู้สอนพิเศษ) หรือผู้จัดทำเอกสารหรือคู่มือเตรียมสอบที่เกี่ยวข้องกับการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเป็นข้าราชการ ซึ่งคณบดีที่รับผิดชอบในศาสตร์สาขานั้นๆ เป็นผู้กลั่นกรองและคัดเลือก โดยต้องแจ้งรายชื่อคณาอาจารย์ที่เป็นกรรมการออกข้อสอบดังกล่าวเพื่อตรวจสอบด้วย และได้กำหนดให้ต้องกระทำ ณ สถานที่กำหนดไว้เท่านั้น โดยแต่ละวิชาต้องให้คณาจารย์ในศาสตร์สาขานั้นอย่างน้อย 3 คน เป็นผู้ออกข้อสอบโดยการเขียนด้วยลายมือของผู้ออกข้อสอบไม่ให้พิมพ์ (เพื่อป้องกันการ copy) และต้องออกข้อสอบจำนวนอย่างน้อย 5 เท่าของจำนวนข้อที่ใช้ในการสอบ

ในการจัดทำแบบทดสอบ กำหนดให้ต้องมีคุณลักษณะที่ดีตามหลักการวัดผล ได้แก่ มีความเที่ยงตรง (Validity) มีความน่าเชื่อถือ (Reliability) มีความยากง่ายพอเหมาะ (Difficulty) มีอำนาจจำแนก (Discrimination) มีความยุติธรรม (Fairness) และมีความเป็นปรนัย (Objectivity) ส่วนการคัดเลือกข้อสอบ ก็ได้กำหนดให้มหาวิทยาลัยฯ ต้องตั้งคณะกรรมการคัดเลือกข้อสอบประกอบด้วยคณาจารย์ที่มีคุณวุฒิ ประสบการณ์การเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องกับวิชาที่จะใช้เป็นข้อสอบและต้องมีความเชี่ยวชาญด้านการวัดผลการศึกษา แต่ต้องไม่ใช่ผู้ออกข้อสอบซึ่งคณบดีที่รับผิดชอบในศาสตร์สาขานั้นๆ เป็นผู้กลั่นกรองและคัดเลือก โดยต้องได้มาตรฐานตามหลักวิชาการเพื่อข้อสอบที่ได้รับการคัดเลือกจากกรรมการคัดเลือกข้อสอบมีคุณภาพตรงตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง

มีการกำหนดให้คณะอนุกรรมการป้องกันการทุจริต และเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นที่ ทำหน้าที่ตรวจสอบด้วยการสังเกตการณ์การปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการคัดเลือกข้อสอบ โดยห้ามเข้าไปเกี่ยวข้องกับกระบวนการและการดำเนินการคัดเลือกข้อสอบโดยเด็ดขาด ซึ่งข้อสอบที่ได้รับการคัดเลือกและการพิมพ์ต้นฉบับข้อสอบต้องกำหนดมาตรการการบริหารจัดการข้อสอบ ซึ่งต้องมีความมิดชิด ปลอดภัย รัดกุม โดยกำหนดให้มีผู้รับผิดชอบชัดเจน และต้องป้องกันการเข้าถึงจากผู้ไม่มีหน้าที่และป้องกันการรั่วไหลของข้อสอบและคำตอบได้ 100% ทั้งยังมีการกำหนดมาตรการรักษาความปลอดภัย สถานที่ บุคคล อย่างรัดกุม เข้มงวด และกำหนดการรักษาความลับแก่กรรมการคัดเลือกข้อสอบ เจ้าหน้าที่พิมพ์ข้อสอบให้เป็นความลับในระดับ "ลับที่สุด" ซึ่งนอกจากกรรมการคัดเลือกข้อสอบ เจ้าหน้าที่พิมพ์ข้อสอบเป็นต้นฉบับแล้ว ห้ามมิให้บุคคลอื่นเข้าถึงข้อสอบโดยเด็ดขาด รวมทั้งกำหนดให้มหาวิทยาลัยต้องกำหนดมาตรการเก็บตัวกรรมการออกข้อสอบ กรรมการคัดเลือกข้อสอบและเจ้าหน้าที่พิมพ์ข้อสอบจนกว่าการสอบแข่งขันจะเสร็จสิ้น

สำหรับประเด็นเกี่ยวกับงบประมาณในการสอบแข่งขัน ขอเรียนว่า งบประมาณที่ใช้ในการสอบแข่งขันในแต่ละครั้ง ใช้จากเงินค่าธรรมเนียมการสมัครสอบในอัตราคนละ 300 บาท (ไม่มีการตั้งงบประมาณจากส่วนราชการสนับสนุนหรืออุดหนุน) ซึ่งเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวจะใช้ตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียมการสอบ ขั้นตอนการดำเนินการสอบภาค ก สอบภาค ข สอบภาค ค จนถึงขั้นตอนการบรรจุผู้สอบแข่งขันได้เป็นข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น โดยการใช้จ่ายงบประมาณที่ได้มาจากค่าธรรมเนียมการสมัครสอบดังกล่าว ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกลางการสอบแข่งขันพนักงานส่วนท้องถิ่น (กสถ.) และการใช้จ่ายต้องเป็นไปตาม พรบ.การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 กฎหมาย ระเบียบและหนังสือสั่งการที่เกี่ยวข้อง และใช้จ่ายได้เฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับการดำเนินการสอบแข่งขันเท่านั้น

ในการตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณนั้น จะถูกตรวจสอบจากหน่วยงานต่างๆ เช่นเดียวกับการใช้จ่ายงบประมาณของหน่วยงานราชการอื่นหรือ อปท. เช่น กรมบัญชีกลาง สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ส่วนงบประมาณที่เหลือจากการใช้จ่ายในการสอบแข่งขันทั้งหมดจะต้องนำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน โดยที่ผ่านมาได้มีการนำส่งเป็นรายได้แผ่นดินไปแล้วไม่ต่ำกว่าห้าสิบล้านบาท

และในประเด็นที่เกี่ยวกับหน่วยดำเนินการสอบแข่งขัน ก็ขอเรียนว่า การดำเนินการสอบแข่งขันในครั้งนี้ ดำเนินการโดยคณะกรรมการกลางการสอบแข่งขันพนักงานส่วนท้องถิ่น (กสถ.) ซึ่งเป็นไปตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 8/2560 ซึ่งมีวัตถุประสงค์และเจตนารมณ์ "แก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วนเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของ อปท. ที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นอันเนื่องมาจากมีการใช้ระบบอุปถัมภ์ในการสอบแข่งขัน …รวมถึงมีการเรียกรับผลประโยชน์ เพื่อมิให้เกิดความไม่เป็นธรรม และเกิดความเสียหายต่อระบบการบริหารงานบุคคลของ อปท. อย่างร้ายแรง โดยกำหนดให้คณะกรรมการกลางข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น (ก.กลาง) ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 เข้ามาทำหน้าที่เกี่ยวกับการสอบแข่งขัน เพื่อให้เป็นไปตามระบบคุณธรรม และเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ" โดยให้คณะกรรมการกลางการสอบแข่งขันพนักงานส่วนท้องถิ่น (กสถ.) ที่ ก.กลาง แต่งตั้งขึ้นเป็นผู้ดำเนินการสอบแข่งขันตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ ก.กลาง กำหนด ซึ่งการจัดการสอบแข่งขัน กสถ. ได้ให้มหาวิทยาลัยที่ได้รับการคัดเลือกเป็นผู้จัดการสอบแข่งขันภายใต้การกำกับดูแลของ กสถ. ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ ก.กลาง กำหนดไว้ ตามประกาศ ก.กลาง เรื่อง มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการสอบแข่งขัน พ.ศ. 2560 โดยได้มีการกำหนดให้มหาวิทยาลัยต้องเป็นผู้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน กรณีไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงการจ้างและเกิดความเสียหายต่อการสอบแข่งขันครั้งนี้

“คณะกรรมการกลางการสอบแข่งขันพนักงานส่วนท้องถิ่น (กสถ.) และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายนั้น ต้องขอเรียนย้ำว่า ได้ใช้ความพยายามและความทุ่มเทอย่างเต็มกำลังความสามารถ เพื่อให้การสอบเป็นไปด้วยความบริสุทธิ์ ยุติธรรม ได้คนดี มีความรู้ ความสามารถ มีคุณธรรม อย่างแท้จริงมาปฏิบัติงานใน อปท. จึงขอความร่วมมือจากทุกท่านและทุกฝ่ายได้เชื่อมั่นในกระบวนการสอบที่ผ่านมา และหากมีเบาะแสหรือพบเห็นพฤติการณ์การทุจริตการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเป็นข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น ขอให้แจ้งคณะกรรมการกลางการสอบแข่งขันพนักงานส่วนท้องถิ่น (กสถ.) หรือสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดได้ทุกจังหวัด” นายอัษฎางค์กล่าว

ขอบคุณเนื้อหาและข้อมูลข่าวจาก :: หนังสือพิมพ์บ้านเมือง วันอังคาร ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 เวลา 17.41 น.
  • 16 ก.ค. 2562 เวลา 22:38 น.
  • 11,395

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^