LASTEST NEWS

24 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 24 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 23 เม.ย. 2567เช็กเลย! สพป.บึงกาฬ เตรียมเปิดสอบครูผู้ช่วย 10 สาขาวิชาเอก 65 อัตรา ประกาศรับสมัคร 1 พ.ค.2567 23 เม.ย. 2567เล็งจัดงบฯ อาหารเช้าให้นักเรียน 23 เม.ย. 2567สอบครูผู้ช่วย ต้องอ่าน! นโยบายและจุดเน้น สพฐ. ปีงบประมาณ 2567-2568 และนโยบายระยะเร่งด่วน (Quick Win) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 23 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 23 เม.ย. 2567สพป.สระบุรี เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.สระบุรี เขต 2 23 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 23 เม.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.เพชรบุรี เขต 2 23 เม.ย. 2567สพม.หนองคาย ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.หนองคาย

ทำไมทักษะภาษาอังกฤษไทย ย่ำแย่ต่อเนื่องเป็นปีที่ 8?

  • 15 พ.ย. 2561 เวลา 05:52 น.
  • 3,145
ทำไมทักษะภาษาอังกฤษไทย ย่ำแย่ต่อเนื่องเป็นปีที่ 8?

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

ทำไมทักษะภาษาอังกฤษไทย ย่ำแย่ต่อเนื่องเป็นปีที่ 8?

พาดหัวข่าวบอกว่าการสำรวจระดับสากลล่าสุดบอกว่า คะแนนทักษะภาษาอังกฤษเฉลี่ยของคนไทยยังแย่ต่อเนื่องกันมาเป็นปีที่ 8 แล้ว เป็นข่าวที่คนไทยควรต้อง "ตระหนก" กันทั่วประเทศ แต่ส่วนใหญ่คงจะแค่ "ตระหนัก" เท่านั้น
    ความตระหนักไม่ช่วยแก้ปัญหาเพราะนานๆ เข้าก็กลายเป็นเรื่อง "ก็เป็นที่รู้ๆ กัน" แต่ไม่มีใครลงมือทำให้ปัญหานั้นหายไปได้ ข่าวบอกว่าดัชนีทักษะการใช้ภาษาอังกฤษนานาชาติชี้ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษของคนไทยยังคง "ย่ำแย่" และอยู่ในระดับเดิมเป็นเวลาถึง 8 ปีซ้อน 
    สื่อไปถามผู้เชี่ยวชาญก็จะได้รับคำตอบเดิมๆ ว่าเพราะการเรียนการสอนของเราล้าหลัง เน้นแต่ท่องจำและสอนแต่ไวยากรณ์เป็นหลัก
    เราได้ยินได้ฟังข้อเสนอให้ปรับปรุงแก้ไขเรื่องการเรียนการสอนภาษาอังกฤษมาหลายสิบปีแล้ว  ทำไมปัญหายังแก้ไม่ได้?
    งานวิจัยหัวข้อนี้มีมากมาย ข้อสรุปและข้อเสนอก็มีเป็นปึกๆ แต่ไฉนจึงยังวนเวียนอยู่เช่นนี้
    นั่นคือคำถามที่ต้องหาคำตอบให้ได้
    หาไม่แล้วเราก็จะวกวนอยู่กับปัญหา และข้อเสนอทางออกเดิมๆ แต่ท้ายที่สุดเราก็ยังย่ำอยู่กับที่ คำถามต่อมาก็คือว่า ทำไมประเทศเพื่อนบ้านเราจึงสามารถยกระดับคะแนนทักษะภาษาอังกฤษได้ แต่เราทำไม่ได้



    รายงานประจำปี 2561 ของสำนักงานจัดอันดับทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ หรือ Education First  (EF) ที่มีสำนักงานใหญ่ในสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งออกมาเมื่อวันที่ 30 ตุลาคมที่ผ่านมา ระบุว่าไทยอยู่ในอันดับ 64 จาก 88 ประเทศทั่วโลกที่ไม่ได้ใช้อังกฤษเป็นภาษาหลัก และได้คะแนนเพียง 48.54 จาก 100 คะแนน
    เมื่อเทียบกับประเทศในอาเซียน ไทยได้คะแนนในอันดับ 6 จาก 8 ประเทศอาเซียนที่ทำการสำรวจ เรียงตามลำดับ คือ สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย เวียดนาม อินโดนีเซีย ไทย เมียนมา และกัมพูชา 
    รายงานเดียวกันนี้บอกว่า สวีเดนมีคะแนนสูงสุดในบรรดาประเทศที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลัก ประเทศที่คะแนนต่ำสุดก็คือ ลิเบีย
    ผลจากคะแนนสอบนำมาจัดหมวดหมู่เป็น 5 ระดับ คือ สูงมาก สูง ปานกลาง ต่ำ ต่ำมาก 
    คะแนนของไทยถูกจัดอยู่ในระดับ "ต่ำ" และโปรดทราบด้วยว่าไทยเราอยู่ในระดับนี้ตั้งแต่ EF  ออกรายงานฉบับแรกในปี 2554 หรือ 8 ปีแล้ว
    นอกจากนี้ EF ยังให้ข้อมูลเปรียบเทียบทักษะการใช้ภาษาอังกฤษของผู้หญิงว่า คะแนนของผู้หญิงสูงกว่าผู้ชาย โดยผู้หญิงมีเฉลี่ย 54.57 และผู้ชาย 52.63 จากผู้ทดสอบทั้งสิ้น 1.3 ล้านคนทั่วโลก คะแนนระหว่างผู้หญิงกับผู้ชายในไทยก็เป็นไปในทิศทางเดียวกัน


    ผมอ่านข่าวนี้แล้วอยากรู้ว่าเขาทดสอบอย่างไร ก็ได้ความว่าเป็นการทดสอบแบบออนไลน์สำหรับคนทั่วไป โดยวัดผลจากทักษะการฟังและการอ่าน 
    EF บอกว่าการสำรวจอย่างนี้อาจส่งผลให้ภาพรวมคะแนนออกมามากกว่าปกติ เพราะไม่ได้เข้าถึงกลุ่มคนยากไร้หรือคนที่ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ผมพูดคุยกับผู้รู้หลายคน เห็นตรงกันว่าการจะแก้ไขปัญหานี้ต้อง "รื้อทั้งระบบ" และต้องกล้าคิดนอกกรอบจริงๆ เช่นยกเลิกการสอบในวัยเด็ก 
    ให้สอนการสนทนาและการสื่อสารก่อน ไวยากรณ์ให้สอนให้วัยโตแล้ว และไม่ให้ความสำคัญมากเกินความจำเป็น มุ่งเน้นใช้งบประมาณสร้างคุณภาพครูและนักเรียน ไม่ทุ่มเงินไปสร้างตึกหรือการบริหารระบบราชการที่คร่ำครึ
    ว่ากันว่าพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ปี 2542 ได้เสนอการปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาอังกฤษให้เป็นไปในทางที่เน้นให้ใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร หรือที่เรียกว่า communicative  language teaching
    แต่เอาเข้าจริงๆ ในทางปฏิบัติไม่ได้เป็นไปตามนั้น เพราะครูยังคุ้นชินกับวิธีการสอนที่เน้นโครงสร้างหลักไวยากรณ์เป็นสำคัญ ซึ่งเป็นวิธีดั้งเดิมที่ใช้มาตลอดไม่ว่าจะครูรุ่นใหม่หรือเก่าก็ตาม
    ผมสังเกตว่าครูและข้าราชการของเราไปดูงานต่างประเทศเรื่องสอนภาษาอังกฤษมากมาย รวมถึงตัวอย่างของการปฏิรูปการศึกษาของหลายประเทศที่ประสบความสำเร็จ ตัวอย่างเช่นฟินแลนด์
    แต่ทำไมเราไม่สามารถนำมาปรับใช้เพื่อยกระดับการศึกษาของเราได้?
    คำตอบคือการดูงานก็คือการดูงาน กลับมาก็ยังทำงานเหมือนเดิมเพราะกฎกติกาแก้ไขไม่ได้  กระบวนคิดหรือ mindset ก็ไม่เปลี่ยน 
    อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เคยพูดไว้น่าฟังว่า
    "ถ้าคุณทำอะไรเหมือนเดิม แล้วคาดหวังว่าผลที่ออกมาจะต่างไปจากเดิม คุณก็บ้าแล้ว"
     ผมจึงเชื่อว่าการปรับเปลี่ยนเรื่องนี้เหมือนกับหลายเรื่องที่ต้องยกเครื่องกันครั้งใหญ่
    นั่นคือ "การทำลายอย่างสร้างสรรค์" หรือ creative destruction
    นักการเมืองที่อาสาประชาชนมาบริหารประเทศในการเลือกตั้งที่กำลังจะมีขึ้น ต้องตอบคำถามประชาชนว่าจะแก้ปัญหานี้อย่างเป็นรูปธรรมจริงๆ อย่างไร.

ขอบคุณเนื้อหาและข้อมูลข่าวจาก :: หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ วันที่ 15 พฤศจิกายน 2561 เวลา 00:01 น.
  • 15 พ.ย. 2561 เวลา 05:52 น.
  • 3,145

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^