LASTEST NEWS

12 พ.ค. 2567โรงเรียนบ้านสันทรายมูล รับสมัครครูผู้สอนระดับปฐมวัย เงินเดือน 7,000 บาท  12 พ.ค. 2567ผลตรวจ TCAS67 พบข้อสอบผิดพลาด 6 ข้อ ปรับแก้คะแนนผู้เข้าสอบแล้ว 12 พ.ค. 2567สพฐ.หนุนตั้งศูนย์การเรียนสำหรับเด็กในรพ. 77 จังหวัด 11 พ.ค. 2567โรงเรียนบ้านดอนกรูด ปีการศึกษา 2567 ติดแอร์ทุกห้องเรียน 11 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 11 พ.ค. 2567สพม.นครราชสีมา ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 15 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 11 พ.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 7 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 20 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 11 พ.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 6 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 10 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 11 พ.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 5 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 17 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 11 พ.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 4 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 5 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567

ปฏิรูปรับมือบำนาญชราภาพ "ขยายเกษียณ-เพิ่มอัตรา"

  • 19 ก.ย. 2559 เวลา 17:58 น.
  • 10,388
ปฏิรูปรับมือบำนาญชราภาพ "ขยายเกษียณ-เพิ่มอัตรา"

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

ปฏิรูปรับมือบำนาญชราภาพ "ขยายเกษียณ-เพิ่มอัตรา"

ชง 5 ด้านปฏิรูปกองทุนประกันสังคม ให้เพียงพอและยั่งยืน รับมือคลื่นสึนามิผู้สูงวัย เพิ่มฐานเงินเดือน ขยายเกษียณเป็น 60 ปี ขึ้นอัตราเงินสมทบเป็น 5% ปรับสูตรคำนวณเงินบำนาญ และเพิ่มอิสระหน่วยลงทุน ชี้หากไม่ทำอะไรเลยเงินสะสมหมดเกลี้ยงใน 38 ปี

จากที่มีความวิตกเป็นวงกว้างว่า กองทุนประกันสังคม(สปส.) ที่ตั้งมาตั้งแต่ปี 2533 และยังไม่เคยมีการปรับปรุงหลักเกณฑ์ข้อกำหนดครั้งใหญ่มาเลย ต่อไปจะมีภาระบำนาญชราภาพที่เริ่มจ่ายแล้วตั้งแต่ปี 2557 จำนวน 2 หมื่นคน และจะเพิ่มขึ้นมหาศาล จากจำนวนผู้ครบเกษียณที่ทวีคูณตามโครงสร้างประชากรที่เข้าสู่สังคมผู้สูงวัย จากการคำนวณคาดในอีก 10 ปีข้างหน้า (2569) จะมีผู้รับบำนาญเพิ่มเป็น 1 ล้านคน ยอดเงินขอรับบำนาญ 2.465 แสนล้านบาท ต้องนำเงินสะสมออกมาใช้และจะหมดลงในอีก 28 ปีถัดไป เป็นสถานการณ์ที่สปส.กำลังจะเผชิญคลื่นสึนามิผู้สูงวัยนั้น


นายโกวิท สัจจวิเศษ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม(สปส.) กล่าวว่า อย่างไรก็ตามไม่อยากให้ประชาชนหวั่นวิตกเกินไป เนื่องจากสปส.และภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเล็งเห็นปัญหาดังกล่าว และได้เตรียมการรับมือมาเป็นลำดับ โดยมีการนำเสนอและรับฟังความคิดเห็นมาอย่างต่อเนื่อง สปส.เองได้ร่วมกับองค์การแรงงานระหว่างประเทศ(ไอแอลโอ) ประเมินค่าทางคณิตศาสตร์ประกันภัยของกองทุนชราภาพในสปส.เองด้วย ประมวลเป็นข้อเสนอเพื่อการปฏิรูป 5 ด้าน ประกอบด้วย

1.การขยายอายุเกษียณ จากเดิมกำหนดไว้ที่ 55 ปี ให้เพิ่มขึ้น ให้เป็น 60 ปี โดยอาจให้เริ่มมีผลสำหรับผู้จะครบเกษียณอายุตั้งแต่ปี 2565 เป็นต้นไปเพื่อให้มีเวลาปรับตัว และจะทำให้ผู้ที่เกษียณยังได้รับสิทธิประโยชน์กรณีว่างงานเพิ่มขึ้นด้วย 2.ปรับฐานเงินเดือนที่ใช้คำนวณเงินชราภาพ จากปัจจุบันกำหนดขั้นต่ำที่ 1,650 บาท และสูงสุดที่ 15,000 บาท ปรับเป็นขั้นต่ำที่ 3,600 บาท และเพดานสูงสุดที่ 20,000 บาท เพราะอัตราขั้นต่ำเดิมแทบไม่มีแล้วในการจ้างงานบ้านเรา ส่วนเพดานขั้นสูงถ้ายกขึ้นมากเกินไปก็อาจกระทบฝ่ายนายจ้าง จึงต้องดูให้เหมาะสมและเป็นไปได้


3.ปรับสูตรคำนวณการจ่ายเงินบำนาญชราภาพ จากเดิมคำนวณจากเงินเดือน 5 เดือนสุดท้ายที่จ่ายสมทบ ซึ่งมีผู้ร้องว่าไม่เป็นธรรม กรณีผู้ประกันตนมีเงินเดือนต่ำลงในช่วงปีท้าย ๆ ทั้งที่จ่ายสมทบมานาน จะขยายเป็นคำนวณจากฐานเงินเดือน 15-20 ปี “มีผู้เสนอให้ใช้ฐานเงินเดือนทั้งหมดตั้งแต่เริ่มจนถึงเดือนสุดท้ายมาหาค่าเฉลี่ยเพื่อความเป็นธรรม แต่เพื่อให้ผู้ประกันตนได้สิทธิประโยชน์ตอบแทนที่ดีกว่า จึงเห็นว่าใช้เกณฑ์ 15-20 ปีจะดีกว่า เพราะปีแรก ๆ ฐานเงินเดือนยังต่ำอยู่”

เลขาธิการสปส.กล่าวต่อว่า 4.การปรับเพิ่มอัตราเงินสมทบที่จัดเก็บเข้ากองทุนชราภาพ จากปัจจุบันจัดเก็บ 3% ของเงินเดือน เพิ่มเป็นอัตรา 5 % เนื่องจากต้องดูความสามารถในการจ่ายสมทบของฝ่ายนายจ้างประกอบกันด้วย และ 5.การเพิ่มความเป็นอิสระให้หน่วยลงทุนเพื่อให้คล่องตัวในการตัดสินใจลงทุนเพื่อสร้างรายได้ให้กองทุน ทั้งนี้สปส.เป็นกองทุนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดด้วยยอดสะสมถึง 1.46 ล้านล้านบาท แต่ที่ผ่านมาการจะไปลงทุนเพื่อสร้างรายได้มีระเบียบกฎเกณฑ์ควบคุมค่อนข้างเข้มงวด เพื่อป้องกันความเสี่ยง จะเสนอให้หน่วยลงทุนมีอิสระ เปิดทางให้มืออาชีพเข้ามาบริหารจัดการเพิ่มขึ้น ให้สามารถไปลงทุนในต่างประเทศได้

“หากดำเนินการควบคู่กันไปตามข้อเสนอข้างต้น จะทำให้กองทุนมีรายได้เพียงพอรองรับภาระที่จะเกิดขึ้นในอนาคตไปได้อีกอย่างน้อย 30 ปี จากการประชุมวิชาการประกันสังคม ทั้งนายจ้างและลูกจ้างต่างเห็นด้วยกับข้อเสนอเหล่านี้”
นอกจากนี้แล้ว สปส.ยังเสนอให้ปฏิรูปการได้มาซึ่งคณะกรรมการ สปส. เดิมจากการเลือกตั้ง มาเป็นการสรรหาด้วยกลไกและกระบวนการที่โปร่งใส สะท้อนความมีส่วนร่วมของแต่ละฝ่ายไว้เช่นเดิม ซึ่งจากประสบการณ์การทำงานของคณะกรรมการ สปส.ชุดปัจจุบันที่มาจากคำสั่งคสช. สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตอบสนองรวดเร็ว และสะท้อนความเป็นตัวแทนของทุกฝ่ายได้เช่นกัน

ทั้งนี้ รายละเอียดเงื่อนไขการปฏิรูปแต่ละด้านนั้นยังสามารถปรับแก้ให้เหมาะสม โดยสปส.พร้อมรับฟังข้อเสนอแนะต่าง ๆ อยู่ต่อไป ส่วนขั้นตอนหลังจากนี้ สปส.จะสรุปเสนอการปรับแก้พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.)ประกันสังคม พ.ศ.2533 ให้กระทรวงแรงงานได้ภายในเดือนกันยายนนี้ เพื่อเสนอสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.)ต่อไป ควบคู่ไปกับการจัดทำร่างกฎกระทรวงในเรื่องการเพิ่มอัตราการจ่ายเงินสมทบกองทุนชราภาพ การขยายอายุเกษียณ ที่จะกำหนดโดยกฎกระทรวงเพื่อเพิ่มความคล่องตัว รวมถึงการเพิ่มความเป็นอิสระหน่วยลงทุน และปรับแก้ที่มาบอร์ด สปส.โดยใช้การสรรหา แทนการเลือกตั้งที่ต้องใช้งบประมาณถึง 1,000 ล้านบาท แล้วยังทำให้ได้ตัวแทนนายจ้างและลูกจ้างที่ครอบคลุมเป็นธรรมมากกว่า

ขอบคุณเนื้อหาและข้อมูลข่าวจาก :: จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 36 ฉบับที่ 3,193 วันที่ 18 – 21 กันยายน พ.ศ. 2559
  • 19 ก.ย. 2559 เวลา 17:58 น.
  • 10,388

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^