LASTEST NEWS

05 พ.ค. 2567‘เพิ่มพูน’ ยันโรงเรียนห้ามกั๊กการออกใบเกรดหากเด็กค้างค่าเทอม 05 พ.ค. 2567ก.ค.ศ.เดินหน้ารื้อระบบ ศน.ใหม่ ยกเครื่อง ปรับบทบาทหน้าที่ เพิ่มคุณสมบัติ ดึงบุคลากรคุณภาพพัฒนาคุณภาพการศึกษา 04 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 04 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 04 พ.ค. 2567สพม.ชัยภูมิ ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 4 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 04 พ.ค. 2567สพป.ชัยภูมิ เขต 3 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 5 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 04 พ.ค. 2567สพป.ชัยภูมิ เขต 2 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 2 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 04 พ.ค. 2567สพป.ชลบุรี เขต 1 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 14 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 03 พ.ค. 2567โรงเรียนหนองไผ่ รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกคอมพิวเตอร์ เงินเดือน 10,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 10 พฤษภาคม พ.ศ.2567 03 พ.ค. 2567โรงเรียนอนุบาลสกลนคร รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกคณิตศาสตร์ เงินเดือน 9,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 8 พฤษภาคม พ.ศ.2567

ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี หารือการปรับเพิ่มค่าใช้จ่ายรายหัวการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปี 2560

  • 17 ส.ค. 2559 เวลา 09:32 น.
  • 8,730
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี หารือการปรับเพิ่มค่าใช้จ่ายรายหัวการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปี 2560

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 336/2559
หารือการปรับเพิ่มค่าใช้จ่ายรายหัวการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปี 2560

 พล.อ.ดาว์พงษ์  รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ หารือกับผู้บริหาร 5 องค์กรหลัก และหน่วยงานที่มีสถานศึกษาในสังกัด (กศน.,สช.) รวมทั้งคณะวิจัยจากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายรายหัวการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ 2560 ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เมื่อวันอังคารที่ 16 สิงหาคม 2559 ณ ห้องประชุม MOC กระทรวงศึกษาธิการ



รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า สพฐ. และคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้มานำเสนอและหารือเกี่ยวกับรายงานผลการวิจัยค่าใช้จ่ายรายหัวการศึกษาขั้นพื้นฐานใน 2 เรื่องหลัก คือ ด้านความจำเป็นพื้นฐานของผู้เรียน และด้านความจำเป็นเพิ่มเติมของนักเรียนพิการเรียนร่วมและด้อยโอกาส

 1. ด้านความจำเป็นพื้นฐานของผู้เรียน

ปัจจุบันโรงเรียนในสังกัด สพฐ.ได้รับค่าใช้จ่ายรายหัว 7 ด้าน คือ 1) ค่าจัดการเรียนการสอน (รวมค่าไฟฟ้าและสาธารณูปโภค) 2) ค่าหนังสือเรียนเฉลี่ยแต่ละระดับ 3) ค่าเครื่องแบบนักเรียน 4) ค่าอุปกรณ์การเรียน 5) ค่ากิจกรรมการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน 6) Top-up ปัจจัยยากจน 7) Top-up โรงเรียนขนาดเล็ก

สำหรับรายการในส่วนแรก คือ "เงินอุดหนุนค่าจัดการเรียนการสอน" ที่ผ่านมา สพฐ.ได้กำหนดระเบียบให้ใช้ไว้กว้างขวางมาก ทำให้โรงเรียนนำเงินไปใช้จ่ายปะปนกันเป็นค่าสาธารณูปโภคและค่าใช้จ่ายต่างๆ เช่น ค่าไฟฟ้า ค่าเครื่องปรับอากาศ คอมพิวเตอร์ ค่าขยะ ค่าจัดต้นไม้ ฯลฯ จึงขอให้ สพฐ.จัดหมวดหมู่ค่าจัดการเรียนการสอนให้ชัดเจน ไม่ควรนำงบค่าบริหารจัดการโรงเรียนกับงบการเรียนการสอนไปปนกัน โดยแยกเงินส่วนค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา ฯลฯ ออกไปจากส่วนนี้ เพื่อให้ค่าจัดการเรียนการสอนเป็นเงินอุดหนุนรายหัวสำหรับเด็กอย่างแท้จริง ไม่นำไปใช้ผิดประเภท

อย่างไรก็ตาม สพฐ.มีกติกาว่าเงินค่าสาธารณูปโภคจะใช้ได้ไม่เกิน 5% ของเงินอุดหนุนค่าจัดการเรียนการสอน แต่ข้อเท็จจริงพบว่าใช้เกิน จึงขอให้ สพฐ. ไปหารือกับผู้บริหารโรงเรียนถึงสัดส่วนในการจัดหมวดหมู่การใช้งบประมาณที่เหมาะสม และนำผลวิจัยมาหาตัวเลขที่เหมาะสมว่าโรงเรียนขนาดต่างๆ ควรมีห้องเรียนอะไรบ้างหรือต้องใช้จ่ายอะไรบ้าง เพราะผลวิจัยพบว่าต้องสนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติมให้เป็นค่าสาธารณูปโภคต่างๆ จำนวนประมาณ 1,000 ล้านบาท แต่กระทรวงศึกษาธิการจะพยายามไม่ของบประมาณเพิ่มเติมจากรัฐบาล แต่จะเน้นไปที่การบริหารจัดการให้เหลืองบประมาณเพียงพอก่อนเป็นลำดับแรก เช่น จะมีการปรับรูปแบบการอบรมสัมมนาในปีงบประมาณ 2560 ให้คณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.) เป็นผู้จัดมากขึ้น ทำให้มีค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาเข้ารับการอบรมที่ส่วนกลางน้อยลง อันจะส่งผลให้งบประมาณเหลือมากขึ้น สามารถนำไปใช้จ่ายเป็นค่าอุดหนุนเพิ่มเติมดังกล่าวได้

2. ด้านความจำเป็นเพิ่มเติมของนักเรียนพิการเรียนร่วมและด้อยโอกาส

ที่ผ่านมารัฐไม่ได้อุดหนุนสำหรับนักเรียนในส่วนนี้เป็นพิเศษมาก่อน แต่กระทรวงศึกษาธิการเห็นว่าควรจะต้องให้การอุดหนุนเงินรายหัวเพิ่มสำหรับนักเรียนพิการเรียนร่วม 337,000 คน แต่ในส่วนของเด็กด้อยโอกาสและเด็กยากจนนั้น จะนำตัวเลขผู้ลงทะเบียนผู้มีรายได้น้อยมาประกอบการพิจารณากับตัวเลขที่กระทรวงศึกษาธิการมีอยู่ประมาณ 203,000 คน เพื่อคัดกรองให้ได้ตัวเลขที่แท้จริง และดูแลเด็กด้อยโอกาสและเด็กยากจนได้รับโอกาสทางการศึกษาให้มากขึ้นเช่นกันด้วย

ทั้งนี้ รายงานวิจัยได้เสนอให้รัฐจัดสรรงบประมาณเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับครูพี่เลี้ยงและค่าวัสดุ/สื่อการเรียนการสอนเด็กสองกลุ่มนี้จำนวน 196 ล้านบาท โดยจะขอนำไปหารือกับกองทุนส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาสำหรับคนพิการ สพฐ. ซึ่งปัจจุบันกองทุนดังกล่าวได้รับเงินจัดสรรจากรัฐปีละ 150 ล้านบาท คาดว่าจะจัดสรรเงินอุดหนุนให้เด็กกลุ่มนี้ได้ทันภายในปีงบประมาณ 2560 เช่นกัน

ขอบคุณเนื้อหาและข้อมูลข่าวจาก :: กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ วันที่ 16 สิงหาคม 2559
  • 17 ส.ค. 2559 เวลา 09:32 น.
  • 8,730

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^