LASTEST NEWS

01 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 01 พ.ค. 2567สพม.กรุงเทพมหานคร เขต 1 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 49 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 01 พ.ค. 2567สพป.กรุงเทพมหานคร ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 25 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 01 พ.ค. 2567สพป.ตาก เขต 2 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 206 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 01 พ.ค. 2567สพป.จันทบุรี เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.จันทบุรี เขต 2 01 พ.ค. 2567ด่วนที่สุด ! สพฐ. มีคำสั่ง ย้ายและแต่งตั้ง ข้าราชการครูฯ ตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและตำแหน่งรองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 01 พ.ค. 2567ศธ.รณรงค์ไหว้ครูที่ถูกต้องตามประเพณีที่ดีงาม หลังเสนอ “พิธีไหว้ครู”เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ 01 พ.ค. 2567สพม.สระแก้ว ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.สระแก้ว 01 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 30 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ)

ใครเป็นผู้จัดสอบแข่งขันครูผู้ช่วย สพฐ.

  • 18 พ.ค. 2559 เวลา 11:07 น.
  • 31,847
ใครเป็นผู้จัดสอบแข่งขันครูผู้ช่วย สพฐ.

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

บทบาทหน้าที่ใครในการจัดสอบครูผู้ช่วย สพฐ.

ใครเป็นผู้จัดสอบแข่งขันครูผู้ช่วย สพฐ.

 

        ในช่วงนี้... น้อง ๆ ที่เตรียมตัวสอบบรรจุครูผู้ช่วย โดยเฉพาะสนามใหญ่ คือ ครูผู้ช่วย สพฐ. หลายคนคงหงุดหงิด หลายคนอารมณ์บ่จอย หลายคนก็โล่งใจ หลายคนอาจเย้ !!...นั่นหลากหลายอารมณ์ เพราะการประกาศเลื่อนสอบฯ ครูผู้ช่วย สพฐ. ออกไปถึงสองครั้งสองคราว และยังไม่ชัดเจนว่าห่วงเวลาไหนอย่างไรที่จะได้สอบจริง ๆ กันแน่

 

        และก็เชื่อว่า... เกือบทุกคนได้ติดตามข่าวสาร และพอรู้สาเหตุของการเลื่อนสอบแล้วบ้าง เหตุผลหลัก ๆ เกี่ยวข้องกับ คำสั่ง หัวหน้า คสช. ฉบับที่ 10-11 /2559 เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2559 ที่ให้ยุบ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา ซึ่งมีบทบาทหน้าที่ในการจัดการสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย สพฐ. และกำหนดให้คณะกรรมการการศึกษาจังหวัด (กศจ.) มาทำบทบาทหน้าที่ตรงนี้แทน

 

        ซึ่งในความเป็นจริง...นับตั้งแต่วันนั้น จนถึงวันนี้ ในเงื่อนของเวลาก็เดือนเศษ ๆ แล้ว และหากเป็นเงื่อนไขบุคคลในรูปคณะกรรมการ กศจ. บัดนี้ก็มีคำสั่งแต่งตั้งครบทุกจังหวัดแล้ว ...แล้วทำไมถึงยังไม่จัดสอบอีก...นี่อาจเป็นคำถาม

 

เชื่อว่า... เรื่องนี้ผู้เกี่ยวข้อง ไม่ได้นิ่งนอนใจอย่างแน่นอน เพราะถ้าช้าจะมีผลกระทบ โดยเฉพาะเมื่อเปิดเรียนต้องมีครูสอนครบชั้นพร้อมสอน โรงเรียนเอกชนอาจเจอปัญหามากที่ต้องจัดการ เพราะจะมีครูเคลื่อนย้ายระหว่างปีเนื่องจากต้องลาออกไปบรรจุเป็นครู สพฐ. ..นี่ยังไม่รวมผลกระทบด้านอื่นๆ ...ซึ่งเชื่อเถอะ....ไม่ว่า ศธ. สพฐ.หรือ หน่วยสอบอยากจัดสอบเต็มที  

 

แต่เรื่องนี้... เป็นเรื่องการบริหารงานบุคคล มีผู้ได้มีผู้เสีย มีผลกระทบต่อบุคคลกลุ่มสอบ กลุ่มขึ้นบัญชี มีระเบียบขั้นตอนปฏิบัติ หากมีการดำเนินการผิดพลาด ผิดขั้นตอน ไม่เป็นธรรม ไม่เรียบร้อย อาจมีการฟ้องร้องขึ้นโรงขึ้นศาล ดีไม่ดีเรื่องวันเวลาสอบ อาจจะช้าไปกว่านี้...จึงต้องให้รอบคอบ

 

       ล่าสุด... การประชุม ก.ค.ศ. ซึ่งเป็นองค์กรที่ออก กฎ กติกา ในการสอบบรรจุครูผู้ช่วย สพฐ.ได้มีมติให้รวมบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ ของเขตพื้นที่การศึกษา ต่าง ๆ ในจังหวัดเป็นบัญชีรวมของ กศจ. อีกบัญชีหนึ่ง นอกเหนือจากบัญชีเดิมของเขตพื้นที่ฯ นั้นๆ  และสำนักงาน ก.ค.ศ.จะได้หารือกับ สพฐ.ในการจัดทำปฏิทินการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งครูผู้ช่วย สพฐ. ครั้งที่ 1/2559 ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว 

         

        แต่นั้น... คงไม่เกิดขึ้นในช่วงเดือนสองเดือนนี้ เพราะต้องมีกระบวนการก่อนหน้านั้น ได้แก่ การย้าย การคลอดหลักเกณฑ์การรวมบัญชี การใช้ และยืมบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ การเรียกบรรจุ ถึงจะรู้ตำแหน่งว่างเพื่อใช้ในการประกาศสอบฯ นั้นก็คงปาเข้าไปอย่างเร็วสุดปลาย กรกฏาคม หรืออาจต้นสิงหาคม 2559 ถึงจะมีระฆังแห่งการสอบครูผู้ช่วยฯ 

      

        แล้วถึงเวลานั้น...ใครล่ะ จะเป็นผู้ดำเนินการสอบแข่งขั้นเพื่อบรรจุครูผู้ช่วย สพฐ. ...,มาดูข้อกฎหมายกัน..

 
หลักเกณฑ์สอบแข่งขัน ตาม ว 14

       หลักเกณฑ์ตาม ว.14/2558  มีชื่อเต็มๆ ว่า หลักเกณฑ์และวิธีการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามหนังสือ สำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ. 0206.6/ว14 ลงวันที่ 24 กรกฎาคม 2558 (ที่มาของ ว 14/2558) โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้

1) สพฐ. เป็นผู้กำหนด วัน เวลาในการสอบฯ รวมทั้งกำกับ ติดตามการสอบฯให้บริสุทธิ์ ยุติธรรม ให้เป็นไปตามกติกา

2) อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาเป็นผู้ดำเนินการสอบฯ ในการจัดทำข้อสอบนั้นให้รวมกันในเขตตรวจราชการนั้น ๆ แล้วไปพูดคุยขอให้สถาบันอุดมศึกษาเป็นผู้ออกข้อสอบให้

3) อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาเป็นผู้ประกาศสอบแข่งขัน ระบุตำแหน่ง จำแนกคุณวุฒิ เงินเดือน เงื่อนไข ข้อความอื่น ๆ รวมทั้งกำหนดรูปแบบวิธีสมัครสอบฯ การดำเนินการเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมสมัครสอบฯ การให้มีเจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสาร หลักฐาน คุณสมบัติและคุณวุฒิ เป็นต้น

4) อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาเป็นผู้ประกาศสอบแข่งขัน ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบ วัน เวลา สถานที่สอบ ประกาศขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ รวมทั้งยกเลิกหรือแก้ไขหากการดำเนินการสอบแข่งขันครั้งนั้น มีการทุจริต ส่อทุจริต หรือผิดพลาดไม่เป็นธรรม

5) อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาต้องพิจารณาให้รอบคอบ หากจะดำเนินการสอบและประกาศขึ้นบัญชีครั้งใหม่ในวิชาเอกเดิมที่เคยสอบเอาไว้ เพราะจะทำให้บัญชีที่เคยขึ้นไว้มีอันถูกยกเลิก ทั้งที่ควรจะมีอายุไขยืนอยู่ถึงสองปี

6) ก.ค.ศ. เป็นผู้กำหนดหลักสูตรสอบแข่งขัน เกณฑ์การประเมิน หรือ การขอใช้บัญชี รวมทั้งพิจารณากรณีผู้ดำเนินการสอบฯ ได้ปรึกษาหารือ กรณีที่จะต้องดำเนินการแตกต่างไปจากกติกา ที่ ก.ค.ศ. ว่าไว้

       7) ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (ทั้งประถมหรือมัธยม) แต่งตั้งกรรมการ เจ้าหน้าที่รับผิดชอบตามความจำเป็น เหมาะสม ในการสอบฯ ตามที่ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ฯได้มอบหมาย

 

       หากพิจารณาแล้วผู้มีบทบาท อำนาจ หน้าที่หลักในการสอบแข่งขันครูผู้ช่วย สพฐ. คือ อนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาประจำเขตพื้นที่การศึกษา (อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาทั้งประถม มัธยม) โดยมีสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นหน่วยดำเนินงาน

 

คำสั่ง หัวหน้า คสช.และเกี่ยวข้อง

     คำสั่ง หัวหน้า คสช.ที่ 10 และ 11/2559 วันที่ 21 มีนาคม 2559 เกี่ยวกับเกี่ยวกับการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค รวมถึง ประกาศ คำสั่ง หนังสือเวียน หลายฉบับตามมา มีสาระดังนี้

     1) ยุบ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาและกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา เกิดคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (ก.ศจ.) โดยโอนอำนาจหน้าที่ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา และคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา มาให้ กศจ. จำนวน 22 คน มีในทุกจังหวัด ยกเว้นกรุงเทพมหานครให้คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค จำนวน 8 คน

     2) เกิด อ.ก.ศ.จ (คณะอนุกรรมการศึกษาธิการจังหวัด) อย่างน้อยสามคณะๆ ละ 9 คน คือ อ.ก.ศ.จ.ด้านวินัยฯ อุทธรณ์ ร้องทุกข์  อ.ก.ศ.จ.ด้านวิทยฐานะ สิทธิประโยชน์ และ อ.ก.ศ.จ.ด้านการ สรรหาบรรจุแต่งตั้งฯ มาช่วยงาน กศจ. เพื่อให้การบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูฯในจังหวัดเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ราบรื่น

      3) ให้มีสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดทุกจังหวัด เพื่อทำหน้าที่งานธุรการและปฏิบัติงานราชการในหน้าที่ของ กศจ.และตามที่ กศจ.มอบหมาย ปฏิบัติตามภารกิจของกระทรวงศึกษาธิการตามที่มอบหมาย รวมทั้งประสานดำเนินงานในระดับจังหวัด โดยมีศึกษาธิการจังหวัดเป็นผู้บังคับบัญชาในสำนักงานฯ โดยมีรองศึกษาธิการจังหวัดหนึ่งคน ในระยะชั่วคราวนี้ให้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (หรือเขต 1 กรณีมีเขตประถมหลายเขตฯ) ทำหน้าที่สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด และผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่นั้นๆปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการจังหวัด ซึ่งปลัดกระทรวงศึกษาธิการแต่งตั้งแล้ว

     4) ศึกษาธิการจังหวัดมีอำนาจหน้าที่แทนผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเฉพาะงานเกี่ยวกับ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา

     5) กฎหมาย ระเบียบ ประกาศ หลักเกณฑ์ที่กล่าวอ้างถึง อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาหรือ กรรมการเขตพื้นที่การศึกษา ให้หมายถึงอ้างถึง กศจ. 

 

       เมื่อ... พิจารณากฎหมายสองกลุ่มที่กล่าวเบื้องต้น จะมีคำตอบที่ชัดเจน ว่า คณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด หรือ กศจ. เป็นผู้มีหน้าที่ในการดำเนินการสอบแข่งขันครูผู้ช่วย สพฐ. และใครจะเป็นผู้รับผิดชอบปฏิบัติ ซึ่งเดิมนั้นเป็นภารกิจของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั้งประถมและมัธยมศึกษา

 

        ประเด็นนี้... หากย้อนไปดูคำสั่ง หัวหน้า คสช. ตามกล่าวอ้าง กำหนดให้มีสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดทุกจังหวัด เพื่อทำหน้าที่งานธุรการและปฏิบัติงานราชการในหน้าที่ของ กศจ. และตามที่ กศจ.มอบหมาย ให้ศึกษาธิการจังหวัดมีอำนาจหน้าที่แทนผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเฉพาะงานเกี่ยวกับ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา นั้นก็แสดงว่า ผู้ที่จะเป็นผู้ปฏิบัติในการสอบครั้งนี้คือ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด โดยมีศึกษาธิการจังหวัดเป็นหัวเรือใหญ่ ย่อมไม่ใช่ให้เขตพื้นที่ต่างๆ แยกไปทำเหมือนเดิม

 

         ดังนั้น... หลังจากที่ กศจ. นั้น ๆ มีมติให้จัดสอบแข่งขั้นครูผู้ช่วย การจัดทำงานธุรการการสอบ ตั้งแต่การประกาศ ทำคำสั่ง การประสานดำเนินการ การรับสมัคร การบริหารจัดการการเงินค่าสมัคร การจัดเตรียมโน้น นี่ นั้น จิปาถะ จนถึงจัดสอบ ประมวลคะแนน ประกาศผลและทำบัญชีผู้สอบแข่งขันได้เหล่านี้ เป็นภารกิจหน้าที่ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดอย่างแน่นอน...

 

        วันนี้อาจยังไม่ชัดเจน....แต่ในเร็ว ๆ วันนี้ ผู้เกี่ยวข้องจะมีแนวทางปฏิบัติในเรื่องนี้ที่ชัดเจน อย่างแน่นอน


ขอบคุณเนื้อหาและข้อมูลข่าวจาก :: สอบได้ไม่ง้อติว  ; Dr.borworn
 
  • 18 พ.ค. 2559 เวลา 11:07 น.
  • 31,847

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^