LASTEST NEWS

06 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการสอบคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 05 พ.ค. 2567‘เพิ่มพูน’ ยันโรงเรียนห้ามกั๊กการออกใบเกรดหากเด็กค้างค่าเทอม 05 พ.ค. 2567ก.ค.ศ.เดินหน้ารื้อระบบ ศน.ใหม่ ยกเครื่อง ปรับบทบาทหน้าที่ เพิ่มคุณสมบัติ ดึงบุคลากรคุณภาพพัฒนาคุณภาพการศึกษา 04 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 04 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 04 พ.ค. 2567สพม.ชัยภูมิ ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 4 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 04 พ.ค. 2567สพป.ชัยภูมิ เขต 3 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 5 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 04 พ.ค. 2567สพป.ชัยภูมิ เขต 2 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 2 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 04 พ.ค. 2567สพป.ชลบุรี เขต 1 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 14 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 03 พ.ค. 2567โรงเรียนหนองไผ่ รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกคอมพิวเตอร์ เงินเดือน 10,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 10 พฤษภาคม พ.ศ.2567

รู้ไว้จะได้ไม่พลาด! ไขข้อข้องใจ 'มนุษย์เงินเดือน' กรอก "ภาษี"

  • 02 มี.ค. 2558 เวลา 14:40 น.
  • 5,140
รู้ไว้จะได้ไม่พลาด! ไขข้อข้องใจ 'มนุษย์เงินเดือน' กรอก "ภาษี"

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

รู้ไว้จะได้ไม่พลาด! ไขข้อข้องใจ 'มนุษย์เงินเดือน' กรอก "ภาษี"
 
      ช่วงเดือนมกราคมถึงมีนาคมของทุกปี เป็นฤดูกาลที่คนทำงานมีเงินได้ต่างต้องรวบรวมข้อมูลและเอกสารต่างๆ มายื่นเสียภาษี สำหรับใครที่ต้องกรอกภาษีเอง โดยเฉพาะมนุษย์เงินเดือนมือใหม่ อาจสับสนหรือไม่แน่ใจว่าต้องเตรียมตัวอย่างไร ทาง K-Expert จึงได้แนะนำ “5 ร. ให้รู้ก่อนยื่นภาษี” ในงานสัมมนา K-Expert Workshop ตอน “ไขข้อข้องใจ มนุษย์เงินเดือนกรอกภาษี” 
       
       ร.ที่ 1 รู้จักตนเอง
       
       เงินได้ในทางภาษีมีด้วยกัน 8 ประเภท ก่อนกรอกภาษีจึงต้องทำความเข้าใจก่อนว่ารายได้ของเรามีอะไรบ้าง ซึ่งเงินได้ที่มนุษย์เงินเดือนพบบ่อย เช่น เงินเดือนและโบนัส ค่านายหน้า ดอกเบี้ยหรือเงินปันผลจากหุ้น ค่าเช่า รวมถึงค่าขายกองทุน LTF/RMF/เงินปันผลจากกองทุน การรู้จักเงินได้ของตัวเอง ทำให้เราเลือกยื่นแบบ ภ.ง.ด. ที่ถูกต้อง นอกจากนี้ คนที่จดทะเบียนสมรสแล้ว สามารถเลือกวิธียื่นได้หลายวิธี เช่น ต่างคนต่างยื่นของตัวเอง รวมยื่นที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง และแยกยื่นเฉพาะเงินเดือน การเลือกสถานะในการยื่นแบบที่เหมาะกับคู่ของตนเอง ก็จะช่วยให้ประหยัดภาษีได้ 

 
        ร.ที่ 2 รวบรวมเอกสาร
       
       เพื่อให้การกรอกภาษีถูกต้องและรวดเร็ว ควรรวบรวมเอกสารที่ใช้ประกอบการยื่นให้ครบถ้วน บ่อยครั้งที่ยื่นแบบ ภ.ง.ด. ไปแล้ว ทางสรรพากรเรียกขอเอกสารเพิ่ม เนื่องจากเอกสารไม่ครบ ทำให้การขอคืนหรือชำระภาษีเกิดความล่าช้า สำหรับเอกสารสรุปเงินได้ที่ต้องเตรียม เช่น สลิปเงินเดือน หนังสือรับรองดอกเบี้ย หนังสือรับรองการจ่ายเงินปันผล หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย เป็นต้น ส่วนเอกสารสรุปค่าลดหย่อนต่างๆ เช่น หนังสือรับรองการจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ การหักค่าหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา/ผู้ทุพพลภาพ/การชำระดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อบ้าน ใบเสร็จรับเงินค่าเบี้ยประกันชีวิตตนเองหรือประกันสุขภาพของบิดามารดา ค่าซื้อหน่วยลงทุนกองทุน LTF/RMF เป็นต้น
       
       ร.ที่ 3 เรียนรู้เงื่อนไขและสิทธิที่มี
       
       เพื่อให้สามารถนำสิทธิมายื่นลดหย่อนได้อย่างเต็มที่ ควรศึกษาเงื่อนไขของค่าลดหย่อนนั้นให้ครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นค่าลดหย่อนที่เกี่ยวกับเงินได้ ค่าลดหย่อนที่มาพร้อมสถานะ หรือค่าลดหย่อนที่เกี่ยวกับการออมและลงทุน นอกจากนี้ เงินได้บางประเภทที่หักภาษี ณ ที่จ่ายไว้แล้ว เปิดโอกาสให้เลือกได้ว่าจะนำเงินได้นั้นมารวมคำนวณเป็นเงินได้ในแบบ ภ.ง.ด. อีกหรือไม่ก็ได้ เช่น เงินได้ประเภทดอกเบี้ย หรือเงินปันผล เป็นต้น โดยเราควรนำเงินได้นั้นมารวมคำนวณในแบบ ภ.ง.ด. เพื่อขอคืน หากอัตราภาษีที่บุคคลธรรมดาของเราที่ต้องเสีย น้อยกว่าอัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย
       
       ร.ที่ 4 เริ่มกรอก ภ.ง.ด.
       
       ทุกครั้งที่กรอก ภ.ง.ด. ควรตรวจสอบข้อมูลให้ถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นที่อยู่ที่สะดวกในการติดต่อหรือสถานภาพของตัวเอง ทางสรรพากรเปิดให้กรอก ภ.ง.ด. ในช่วงมกราคมถึงมีนาคมของทุกปี โดยเลือกได้ว่าจะยื่นด้วยตนเองหรือยื่นทางอินเตอร์เน็ต แต่ต้องยื่นให้เสร็จเรียบร้อยภายใน 31 มีนาคม การกรอก ภ.ง.ด. หรือการยื่นแบบทางอินเตอร์เน็ต ถึงแม้จะมีความสะดวกและรวดเร็ว แต่หากข้อมูลไม่พร้อมหรือขาดความเข้าใจในเงื่อนไขค่าลดหย่อนบางรายการ ก็อาจกลายเป็นอุปสรรคทำให้เราไม่สามารถยื่นแบบผ่านอินเตอร์เน็ตไปได้ง่ายๆ ก็เป็นได้ ดังนั้น ก่อนเข้า ร.ที่ 4 นี้ ผู้เสียภาษีทุกคนจึงควรปฏิบัติตาม ร.ที่ 2 และเข้าใจ ร.ที่ 3 ให้ดีเสียก่อน 
 
        ร.ที่ 5 รับคืน / ชำระเพิ่ม
       
       เมื่อกรอกข้อมูลครบถ้วนแล้ว พบว่า ภาษีที่คำนวณได้ น้อยกว่าภาษีที่หักไว้แล้ว เราสามารถขอรับคืนเงินภาษีได้ ในทางตรงกันข้าม หากภาษีที่คำนวณได้ มากกว่าภาษีที่หักไว้ เรามีหน้าที่ต้องชำระเพิ่ม โดยถ้ามีภาระภาษีที่ต้องชำระเพิ่ม 3,000 บาทขึ้นไป และไม่สามารถชำระเต็มจำนวนได้ ผู้เสียภาษีสามารถขอผ่อนชำระได้สูงสุด 3 งวดโดยไม่เสียดอกเบี้ย

       
       ปัจจุบัน กรมสรรพากรได้พัฒนาระบบการยื่นผ่านอินเตอร์เน็ตให้ใช้งานง่ายมากขึ้น ช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้มีเงินได้ทุกคน ดังนั้น หากเราเตรียมความพร้อม กรอกแบบ ภ.ง.ด. ได้ถูกต้อง รวมถึงเตรียมเอกสารไว้อย่างครบถ้วน ก็ช่วยให้การยื่นภาษีและขอคืนภาษีทำได้อย่างรวดเร็ว
       
       สำหรับใครที่ต้องการทดลองคำนวณภาษีก่อนยื่นจริง ทาง K-Expert ได้เตรียมโปรแกรม Tax Buddy ไว้เป็นเครื่องมือช่วย โดยสามารถดาวน์โหลดได้จาก www.askkbank.com/k-expert
 
 
  • 02 มี.ค. 2558 เวลา 14:40 น.
  • 5,140

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

ความคิดเห็นเกี่ยวกับ : รู้ไว้จะได้ไม่พลาด! ไขข้อข้องใจ 'มนุษย์เงินเดือน' กรอก "ภาษี"

เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^